การได้ฟังธรรม อินทรีย์เป็นสำคัญ - เรื่องพระพาหิยเถระ

 
dets25226
วันที่  28 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20250
อ่าน  5,134

เนื้อความตอนหนึ่ง เรื่องพระพาหิยเถระ ว่าลำดับนั้น พระศาสดาทรงตรัสห้ามเขาไว้ด้วยเหตุว่ามิใช่เวลาเหมาะ เพราะเป็นเวลาที่พระพุทธองค์จะทรงบิณฑบาต พาหิยะ ก็ได้กราบทูลวิงวอนซ้ำอีก พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสห้ามอีกเป็นครั้งที่สอง ในครั้งที่สามเมื่อท่านพาหิยะทูลวิงวอนอีก พระศาสดาได้มีพระดำริว่า ที่ท่านห้ามท่านพาหิยะถึงสองครั้งก็ด้วยเหตุว่า นับตั้งแต่เวลาที่ท่านพาหิยะเห็นพระพุทธองค์แล้ว เขาก็มีปิติท่วมท้นไปทั้งร่างกาย ในช่วงเวลาที่ปิติมีกำลังมากนี้แม้จะได้ฟังธรรม ก็จักไม่ทำให้ท่านสามารถบรรลุธรรมได้เลย

อีกประการหนึ่ง เป็นเพราะทรงเห็นว่า พาหิยะมีความกระวนกระวายในการฟังธรรมมาก ซึ่งก็เป็นเหตุให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เช่นกัน เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงตรัสห้ามถึง ๒ ครั้ง ครั้นเมื่อเขาทูลขอ ในครั้งที่ ๓ ทรงพิจารณาเห็นความแกร่งกล้าในอินทรีย์ของท่านพาหิยะพร้อมแล้ว จึงทรงประทับยืนอยู่ในระหว่างทางและได้ทรงแสดงธรรมโดยย่อว่า

ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง

ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ฯ

ธรรมสากัจฉา ช่วงเช้าครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า อินทรีย์ ให้เข้าใจถูกต้องก่อนครับ ว่า คืออะไร อินทรีย์ หมายถึงสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ในกิจหน้าที่ของตนๆ และเป็นสภาพธรรมที่ครอบงำสภาพธรรมที่ตรงกันข้าม เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว มีทั้งหมด ๒๒ อินทรีย์ คือเป็นรูป ๗ รูป เป็นนาม ๑๔ (คือ สองเท่าของรูป) และอีก ๑ เป็นทั้งรูปทั้งนามคือชีวิตินทรีย์ (ชีวิตินทริยรูป, ชีวิตินทริยเจตสิก) รวมเป็น ๒๒

แต่เมื่อพูดถึง อินทรีย์ ที่เป็นไปในการบรรลุธรรม เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ต้องไม่ใช่รูปธรรมแน่นอนครับ แต่ต้องเป็นนามธรรมที่เป็นเจตสิก ๕ ประการ นั่นคืออินทรีย์ ๕ ประการ ในอินทรีย์ทั้งหมดที่มี ๒๒ อินทรีย์ ๕ ที่เป็นไปในการตรัสรู้ บรรลุธรรม เป็นดังนี้ครับ

๑. สัทธินทรีย์ ได้แก่ สัทธาเจตสิก เป็นใหญ่ในการมีศรัทธาที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๒. วิริยินทรีย์ ได้แก่ วิริยเจตสิก เป็นใหญ่ ไม่เกียจคร้าน ไม่ท้อถอยที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๓. สตินทรีย์ ได้แก่ สติเจตสิก เป็นใหญ่ในการไม่หลงลืม ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

๔. สมาธินทรีย์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่ปรากฏ

๕. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก เป็นใหญ่ในการไตร่ตรอง พิจารณา สังเกตศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ผู้ใดผู้หนึ่งที่จะตรัสรู้ธรรมไม่ว่าบุคคลใด ต้องอบรมเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องแยกไปเจริญ แต่การเจริญสติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้น ก็มีศรัทธา มีสติ วิริยะ สมาธิ และปัญญาเกิดร่วมด้วย และก็เป็นการค่อยๆ อบรมอินทรีย์ ๕ ประการอยู่จนมีกำลังและทำให้ถึงการบรรลุธรรม ถึงความเป็นโพชฌงค์ คือถึงการตรัสรู้ได้ในที่สุด ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

ความหมายของอินทรีย์ [ปฐมวิภังคสูตร]

อินทรีย์ [ปฏิสัมภิทามรรค]

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ ...

ตอบคำถามเกี่ยวกับอินทรีย์ ๕

จะเป็นไปได้ไหมที่จะรู้อินทรีย์ โดยสติปัฏฐานไม่เกิด

การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ

ซึ่งผู้ที่เริ่มอบรมปัญญามาไม่มาก ก็เรียกว่าอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็คือกุศลธรรมประการต่างๆ มีศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา ยังไม่เพียงพอที่จะตรัสรู้ จึงเรียกว่าอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า คืออินทรีย์ ๕ ยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุธรรม

ส่วนเมื่ออินทรีย์แก่กล้า ความหมายคืออินทรีย์ทั้ง ๕ ได้รับการสะสมอบรมจนควรแก่การตรัสรู้อริยสัจจธรรม ดังนั้น ผู้ที่เกิดมาชาติสุดท้ายพร้อมที่จะตรัสรู้ธรรมเมื่อได้รับฟังพระธรรมของพระพุทธองค์ ชื่อว่าเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนั้น ขณะใดที่พร้อมที่จะตรัสรู้แล้ว ขณะนั้นชื่อว่าอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ดังเช่นในเรื่องของท่านพระพาหิยะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในครั้งที่ ๓ ครั้งแรกและครั้งที่สองยังไม่แสดง เพราะพระองค์รู้ว่ายังเหนื่อยอยู่ เดินทางมาไกล และที่สำคัญที่สุด ขณะนั้นอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา ยังไม่แก่กล้าไม่เพียงพอที่จะตรัสรู้ในครั้งที่ ๑ และ ๒ พระองค์จึงรอให้อินทรีย์แก่กล้าจึงแสดงธรรม และท่านพระพาหิยะจึงได้บรรลุธรรมครับ เมื่ออินทรีย์แก่กล้าคือกุศลธรรมและปัญญาถึงพร้อมแล้ว เมื่อได้รับฟังพระธรรมก็บรรลุธรรมได้ในขณะนั้น ครับ

เปรียบเหมือนการที่ปลูกต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ให้ผล มีต้นมะม่วงเป็นต้น ผลจะออกเมื่อ ๓ ปี แต่ผู้ที่อยากให้ผลออกเร็วๆ ก็เลยรดน้ำใส่ปุ๋ยตามจำนวนของขนาดที่จะต้องให้ ๓ ปี ภายใน ๑ เดือน คือเพียงอายุ ๑ เดือน แต่ก็รดน้ำใส่ปุ๋ยเท่าจำนวน ๓ ปี เพื่อให้ผลมะม่วงออกมา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะต้นมะม่วงยังไม่ถึงเวลาที่จะออกผลตามระยะเวลาที่กำหนด ฉันใด การอบรมปัญญาเป็นการอบรมยาวนาน ไม่ใช่เพียงชาตินี้หรือเพียงล้านๆ ชาติ แต่เป็นกัปๆ เพราะสะสมความไม่รู้มามาก และสะสมอินทรีย์ คือกุศลธรรมและปัญญามาน้อย จึงต้องอบรมยาวนาน ไม่สามารถเร่งด้วยความอยากได้เลย เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้าเพียงพอครับ

ดังนั้น หนทางที่ถูกต้อง คือฟังพระธรรมอบรมปัญญาต่อไป โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการจะทำอินทรีย์ เพราะธรรมทำหน้าที่อยู่แล้ว ไม่ใช่เราที่จะทำ ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้กุศลธรรมและปัญญาเจริญขึ้น จนถึงความเป็นอินทรีย์และถึงความแก่กล้าของอินทรีย์ พร้อมที่จะบรรลุในอนาคตได้ในที่สุดครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่

อินทรีย์ [จริยาปิฎก]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุคคลผู้ที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นนั้น ล้วนเป็นผู้ได้สะสมปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก พร้อมด้วยโสภณธรรมอื่นๆ มี ศรัทธา สติ เป็นต้น ในอดีตมาแล้วอย่างยาวนาน เป็นผู้ได้ฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ มาแล้วทั้งนั้น จนกว่าปัญญาจะถึงความสมบูรณ์พร้อม อินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ทำให้ท่านได้บรรลุ ไม่ใช่ว่าจะได้บรรลุโดยไม่มีเหตุ ต้องมีเหตุ คือได้สะสมปัญญามาแล้วนั่นเอง ชีวิตความเป็นไปของพระอริยสาวกทั้งหลาย ก่อนที่จะได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้ศึกษาพระธรรมทุกยุคทุกสมัยที่จะได้เห็นถึงความอดทน ความจริงใจ ความเพียรในการที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาและความดี บารมีต่างๆ เพื่อขัดเกลาละคลายกิเลสของตนเอง จนกว่าจะสามารถดับได้อย่างหมดสิ้นในที่สุด แม้ว่าจะต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานเพียงใดก็ตาม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

กราบขอบพระคุณในความเอื้อเฟื้อ และอนุโมทนากุศลจิตที่เกิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
dets25226
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
intra
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Boonyavee
วันที่ 28 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 29 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 29 ธ.ค. 2554

อินทรีย์ หมายถึง ความเป็นใหญ่ในขณะนั้น

การที่ใครจะบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ส่วนหนึ่งก็ต้องอยู่ที่เหตุปัจจัยในอดีตที่ได้สะสมมา ถ้าเหตุปัจจัยพร้อมก็สามารถบรรลุอริยสัจจธรรมได้ในขณะนั้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
jaturong
วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
mari
วันที่ 16 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
peem
วันที่ 15 มิ.ย. 2562

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ