หลักการสำคัญของการศึกษาพระไตรปิฎก_พระสูตร
คำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวรเขตต์ ในปกิณกธรรม ตอนที่ ๖๐๘ สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ปี ๒๕๔๕
สำหรับพระสูตรก็มีประโยชน์มากนะค่ะ เพราะว่าแสดงสภาพจิตโดยเป็นบุคคลต่างๆ แสดงให้เห็นความต่างของแต่ละบุคคลที่สะสมมา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านวิสาขาวิคารมารดา หรือว่าภิกษุแต่ละรูป แม้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก็ยังเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงมีพระญาณที่ตรัสรู้สภาพธรรมะ เพียงแต่ไตร่ตรองแล้วก็คิดด้วยเหตุด้วยผล แม้เพียงการไตร่ตรองของพระองค์ก็เป็นประโยชน์ต่อพระภิกษุรูปนั้น นี่คือความเข้าใจของคนในยุคสมัยต่างๆ กันนะคะ ซึ่งถ้าไม่เข้าใจสภาพธรรมะตามความเป็นจริงก็จะคิดตามที่ข้อความในพระสูตรกล่าว แล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องของตัวตนที่มีสติเป็นเรา วิริยะเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา
นี่ก็เป็นเรื่องซึ่งแต่ละคนควรจะผู้ละเอียด แล้วก็ฟัง แล้วก็พิจารณา แล้วสอบถามจนกว่าจะได้ความเข้าใจที่ชัดเจน ตรงตามพระไตรปิฎกด้วย ถ้าการศึกษาเป็นอย่างนี้นะคะก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อพระศาสนาด้วย แต่ว่าเราจะเข้าใจตามความเป็นจริง ใครก็ตามที่อ่านเรื่องในชาดก อ่านเรื่องในพระสูตร จะคิดเอาง่ายๆ ว่าเพียงฟังแล้วจบ หมายความว่าถ้ามิได้มีการรู้ชัดหรือประจักษ์แจ้งด้วยวิปัสสนาญาณลักษณะสภาพธรรมะที่กำลังปรากฏเลย เพราะว่าข้อความนั้นไม่มี ไม่ได้แสดงวิปัสสนาญาณใดๆ เลยทั้งสิ้น
แต่เพียงใช้คำว่า "รู้ชัด" เพราะฉะนั้นบ้างคนเข้าใจว่าฟังอย่างเนี่ย เข้าใจมากขึ้น เข้าใจมากขึ้น ความรู้มากขึ้นนั้นคือชัด แต่เค้าไม่ได้รู้สภาพธรรมะที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นก็เป็นตัวนะคะ ตัวเค้าที่ฟัง กำลังพิจารณา กำลังเข้าใจว่ามีความรู้มากขึ้น แล้วก็เข้าใจว่าสามารถจะบรรลุได้เพียงขั้นฟัง หรือว่าขั้นไตร่ตรอง แต่ไม่รู้ความจริงว่าในขณะนั้น พระอภิธรรมกล่าวไว้ว่าอย่างไร ทางทวารไหน จิตประเภทใดเกิดขึ้น มีอะไรเป็นอารมณ์ แล้วถ้าไม่รู้ว่าขณะเนี่ยค่ะเป็นสภาพธรรมะ ที่กำลังคิดเนี่ยนะคะก็เป็นธรรมะทางมโนทวารเป็นจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น ถ้าไม่เข้าใจตามความจริงอย่างนี้ ก็คิดว่าแค่คิด ก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะว่าไม่มีข้อความในพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องวิปัสสนาญาณต่างๆ กล่าวไว้แต่เพียงว่ารู้ชัด แต่ "รู้ชัด" ที่นั้น เป็นการประจักษ์แจ้งด้วยวิปัสสนาญาณทุกขั้น
กราบเท้าบูชาในเมตตาจิตของท่านอาจารย์สุจินต์ และขออนุโมทนาทุกๆ ท่านด้วยนะครับ