อารัมมณปัจจัย

 
gboy
วันที่  6 ม.ค. 2555
หมายเลข  20322
อ่าน  1,804

จากพระอภิธรรมปิฏก ปัฏฐาน (วิตักกติกะ ปัญหาวาระ อนุโลมนัย)

๕. อวิตักกวิจารมัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกวิจารมัตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย คือ ... เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม และวิตก วิตกย่อมเกิดขึ้น.

เรียนถามว่าทำไมถึงมีวิตกเกิดขึ้น ทั้งที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 86] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

[๑๓๓] ๕. อวิตักกวิจารมัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกวิจารมัตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลออกจากฌาน ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล พิจารณาผล เพราะปรารภฌานเป็นต้นนั้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น

พิจารณาเห็นขันธ์ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม และวิตก โดยความ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ ปรารภขันธ์นั้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม และวิตก วิตกย่อม เกิดขึ้น


ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจคำแปล และ ความหมายให้ถูกต้องในคำนั้นจริงๆ ก็จะไม่เข้าใจสับสน นะครับ

อย่างเช่น จากข้อความที่ยกมาที่ว่า อวิตักกวิจารมัตตธรรม หมายถึง ดังนี้ครับ มัตต แปลว่า มีเพียง จึงแปลว่า ธรรมที่มีเพียงวิจารเกิดขึ้น แต่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ชื่อว่า อวิตตกวิจารมัตตธรรม เราก็ต้องมาเข้าใจครับว่า คือ ธรรมอะไรที่มีแต่วิจาร เจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วย แต่ไม่มีวิตกเจตสิก เกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่เจริญฌาน เป็น ฌานจิตอยู่ ก็ต้องมี จิต เจตสิกอื่นๆ อีกมากมายเกิดร่วมด้วย ฌานที่ ๑ มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา เวทนา สัญญา มนสิการ เจตสิกอีกมากมาย รวมทั้งจิตที่เกิดร่วมด้วยใน ขณะนั้น ดังนั้น อวิตักกวิจารมัตตธรรม คือ สภาพธรรมที่มีแต่เพียงวิจารเกิดร่วมด้วย แต่ไม่วิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็ต้องพิจารณาว่า สภาพธรรมนั้นคืออะไร ยกตัวอย่าง เช่น เวทนาเจตสิกที่เกิดในขณะนั้น ที่เป็นปฐมฌาน เวทนาเจตสิก มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย และมีวิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนั้น จึงไม่ใช่ อวิตกกวิจารมัตตธรรม เพราะ ยังมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ แต่เวทนาเจตสิก ผัสสเจตสิก เป็นต้น ที่เกิดร่วมกับ วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก เรียกว่า สวิตักกสวิจารธรรม ดังนั้น สภาพธรรมอะไรล่ะ ครับ ที่ วิตกเจตสิกไม่เกิดร่วมด้วย มีแต่เพียงวิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย (อวิตักกวิจารมัตตธรรม) วิจารเจตสิก ก็ไม่ใช่ อวิตักกวิจารมัตตธรรม เพราะมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย (ไม่ใช่อวิตก คือ ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย)

แต่ วิตกเจตสิก เป็น อวิตักกวิจารมัตตธรรม เหตุผลคือ ตัววิตกเจตสิกที่เกิดขึ้น ไม่ได้มี วิตกเจตสิกอีกดวงมาเกิดร่วมด้วย จึงเป็นธรรมที่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย และ วิตกเจตสิกในขณะนั้น ก็มี วิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย คือ มีเพียงวิจารเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ดังนั้น ขณะที่เป็นปฐมฌานเป็นต้น มี วิตกวิจารเจตสิก เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น วิตกเจตสิก จึงเป็น อวิตักกวิจารมัตตธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่มีแต่เพียงวิจารเจตสิกเกิด แต่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะวิตกเจตสิกในขณะนั้น ไม่มี วิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยอีกดวง มีแต่วิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ม.ค. 2555

ดังข้อความในพระไตรปิฎก ที่แสดงถึง อวิตักกวิจารมัตตธรรม ว่า คือ สภาพธรรมที่เป็น วิตกเจตสิกนั่นเองครับ ดังข้อความที่ว่า

[เล่มที่ 86] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

๖. วิตักกติกะ อวิตักกวจารมัตตธรรม อาศัยสวิตักกสวิจารธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ วิตก อาศัยขันธ์ที่เป็นสวิตักกสวิจารธรรม เกิดขึ้น. ในปฏิสนธิขณะ วิตก อาศัยขันธ์ที่เป็นสวิตักกสวิจารธรรม เกิดขึ้น


จากข้อความนี้ แสดงคำว่า อวิตักกวิจารมัตตธรรม คือ สภาพธรรมที่มีเพียงวิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็คือ วิตกเจตสิก นั่นเองครับ

ดังนั้น การแปลคำแต่ละคำในภาษาบาลี เราจะต้องอาศัยอรรถ คือ ความหมายของการแปลให้ถูกต้องด้วยว่า มุ่งหมายที่จะอธิบายเรื่องอะไรครับ ถ้าเราเข้าใจเนื้อความว่ากำลังอธิบายอะไร ก็จะเข้าใจในเรื่องนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 8 ม.ค. 2555

ข้อความเต็มๆ จะขออธิบายโดยละเอียดดังนี้ครับ

[เล่มที่ 86] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

๕. อวิตักกวิจารมัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกวิจารมัตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลออกจากฌาน ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล พิจารณาผล เพราะปรารภฌานเป็นต้นนั้น วิตกย่อมเกิดขึ้น.

พิจารณาเห็นขันธ์ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม และวิตก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น. เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม และวิตก วิตกย่อมเกิดขึ้น.


ขณะที่เป็นฌานจิต มีปฐมฌาน วิตกเจตสิกทีเกิดในขณะนั้น วิตกเจตสิก เป็น อวิตก วิจารมัตตธรรม คือ เป็นสภาพธรรมทีมีเพียงวิจารเกิดร่วมด้วย แต่ไม่มีวิตกเกิดร่วมด้วย ก็คือ วิตกเจตสิกนั่นเองครับ (เพราะวิตกเจตสิกไม่เกิด ๒ ดวงพร้อมกัน ให้เกิดร่วมกัน)

ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงต่อไปว่า

พิจารณาฌาน ตัวที่พิจารณา คือ ปัญญา มี วิปัสสนา เป็นต้น ขณะนั้นชื่อว่า ออกจากฌานแล้ว ปัญญาที่เป็นวิปัสสนา พิจารณา ธรรมที่เป็นฌาน ที่เป็น อวิตกวิจารมัตตธรรม คือ พิจารณา วิตกเจตสิก ด้วยปัญญา ที่ เป็นวิปัสสนา

ข้อความต่อไปในพระไตรปิฎกก็กล่าวว่า

พิจารณาเห็นขันธ์ที่เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม และวิตก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น.


นั่นคือ คำว่า พิจารณา คือ ปัญญา หรือ วิปัสสนาญาณ พิจารณา ขันธ์ ที่เป็น อวิตักก วิจารมัตตธรรม คือ วิตกเจตสิก ในองค์ฌาน โดยรู้ลักษณะของวิตกที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง คือ ขณะที่รู้ความจริง ของวิตกเจตสิก (อวิตักกวิจารมัตตธรรม) ขณะที่เป็นปัญญาเกิดขึ้น ย่อมเกิด ปิติ สุข เป็นต้น ในขณะนั้น และขณะที่เป็นปัญญา วิปัสนา ก็ต้องมีวิตกเจตสกิเกิดร่วมด้วย ดังนั้น วิตกเจตสิก เจตสิกที่เกิดกับปัญญา (วิปัสสนา) ที่พิจารณา วิตกเจตสิกทีเป็นองค์ของฌาน วิตกเจตสิก ที่เกิดกับปัญญา (จึงมีข้อความว่า วิตกย่อมเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อมกับปัญญาเกิด พิจารณาวิตกเจตสิกในองค์ฌานนั่นเอง) วิตกเจตสิกที่เกิดกับปัญญา มี วิตกเจตสิกที่เป็นองค์ฌาน เป็นอารมณ์ ดังนั้น อวิตักกวิจารมัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกวิจารมัตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย ก็คือ วิตกเจตสิก ที่เกิดกับปัญญาที่เป็นวิปัสสนา มี วิตกเจตสิก เป็นอารมณ์ วิตก เจตสิกที่เกิดกับฌาน เป็นต้น จึงเป็นอารมณ์ของ วิตกเจตสิกทีเกิดกับปัญญาที่เป็น วิปัสสนา ที่เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอัตตา ด้วยอำนาจ อารัมมณปัจจัยครับ ดังนั้นวิตกจึงกิดขึ้น พร้อมกับปัญญา วิตกนั้น เป็น อวิตกกวิจารมัตตธรรม ตามที่ได้อธิบายมา โดยมี วิตกในองค์ฌานเป็นอารมณ์ของ วิตกที่เกิดกับปัญญา (อารัมมณปัจจัย) วิตกในองค์ฌาน ก็เป็น อวิตกกวิจารมัตตธรรมด้วย ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

ขอขอบพระคุณอาจารย์วิชัยและอาจารย์อรรณพ ที่อธิบายมาให้เข้าใจในประเด็นนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
intra
วันที่ 8 ม.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 9 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
daris
วันที่ 9 ม.ค. 2555

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

ธรรมช่างละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
gboy
วันที่ 9 ม.ค. 2555

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
akrapat
วันที่ 9 ม.ค. 2555

ขอขอบคุณ และอนุโมทนา ในความเพียรของทุกท่าน ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
SOAMUSA
วันที่ 9 ม.ค. 2555

แต่ วิตกเจตสิก เป็น อวิตักกวิจารมัตตธรรม เหตุผลคือ ตัววิตกเจตสิกที่เกิดขึ้น ไม่ได้มี วิตกเจตสิกอีกดวงมาเกิดร่วมด้วย จึงเป็นธรรมที่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย และ วิตกเจตสิกในขณะนั้น ก็มี วิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วย คือ มีเพียงวิจารเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ดังนั้น ขณะที่เป็นปฐมฌานเป็นต้น มี วิตก วิจารเจตสิก เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น วิตกเจตสิก จึงเป็น อวิตักกวิจารมัตตธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่มีแต่เพียงวิจารเจตสิกเกิด แต่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะวิตกเจตสิกในขณะนั้น ไม่มี วิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยอีกดวง มีแต่วิจารเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ


กราบอนุโมทนาอาจารย์และทุกๆ ท่านค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ

วิตกเกิดจะเว้นวิตก มีวิจารเป็นประธานขณะนั้น ขอย่อไว้ขยายความเข้าใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผิน
วันที่ 10 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ