ไตรลักษณ์

 
ติ๊งต๊อง
วันที่  12 ม.ค. 2555
หมายเลข  20347
อ่าน  8,388

หมายถึงอะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไตรลักษณ์ หรือ ไตรลักษณะ หรือจะเรียกว่า สามัญญลักษณะก็ได้ (ลักษณะทั่วไป ของสภาพธรรม) คือ ลักษณะ ๓ ประการ ของสภาพธรรมที่มีจริง ที่มีปัจจัยปรุงแต่งที่เกิดขึ้นและดับไป อันเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่ทั่วไป สามัญ กับทุกสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และดับไป คือ สภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกและรูป จะต้องมีลักษณะทั่วไป ๓ ประการ อันเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า เมื่อมีลักษณะ ๓ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็น สังขารธรรม ที่เกิดขึ้นและดับไปครับ ลักษณะ ๓ ประการ (ไตรลักษณ์) ของสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป คือ

อนิจจัง สภาวะ ลักษณะที่ไม่เที่ยงหมายถึง ลักษณะที่เป็นสาธารณะแก่สังขารธรรมทั้งปวง จิต เจตสิก รูป เป็นอนิจจัง เพราะมีอนิจจลักษณะ คือ มีการเกิดขึ้นและดับไป อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะ ๓ (ไตรลักษณ์ หรือสามัญญลักษณะ)

ทุกขัง สภาวะ ลักษณะที่ทนได้ยาก หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ คือ ต้องเปลี่ยนแปลง มีการเกิดขึ้นและดับไป ดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ ในอนัตตลักขณสูตรว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า" พระปัญจวัคคีย์ทูลตอบว่า " เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า " ...

อนัตตา สภาวะ ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด คือ เป็นสภาพนามธรรมอย่างหนึ่ง มีลักษณะที่น้อมไปรู้อารมณ์ จะมีผู้ใดผู้หนึ่งบังคับให้นามธรรมเป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ก็ไม่ได้ หรือ สภาพที่เป็นรูปธรรม มีลักษณะที่ไม่รู้อารมณ์ ใครจะบังคับให้รู้เปลี่ยนมาเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ก็ไม่ได้ หรือสังขารธรรมเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใครจะบังคับให้สังขารธรรมเป็นสภาพที่เที่ยง เป็นสุข ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สังขารธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา และ แม้วิสังขารธรรมซึ่งหมายถึงพระนิพพาน เป็นสภาพที่เที่ยง (เพราะไม่เกิด ดับ) เป็นสุข (เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมได้) แต่ก็ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพของนิพพานให้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ได้ วิสังขารธรรมที่เที่ยง เป็นสุขนั้นจึงเป็นอนัตตาด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 14 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ