ทรงมหากรุณาธิคุณ ตรัสสอนเรื่องชีวิต...
[1] อสสฺสตํ วิปฺปริณามธมฺมํ.
ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน
[2] วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ.
วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย
[3] ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา.
หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย
[4] โอรํ วสฺสสตาปิ มิยฺยติ.
ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้
[5] เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา.
คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย
[6] สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
[7] นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา.
คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
[8] อปฺปํ วต ชีวิตํ อิทํ.
ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก
[9] อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา.
วันและคืนย่อมผ่านไป
[10] ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ.
เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
[11] ชาติปิ ทุกฺขา.
เกิด ก็เป็นทุกข์
[12] เอโก มจฺโจ อจฺเจติ.
จะตาย ก็ตายไปคนเดียว
[13] อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย.
กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
[14] มรณมฺปิ ทุกฺขํ.
ตาย ก็เป็นทุกข์
[15] ชราปิ ทุกฺขา.
แก่ ก็เป็นทุกข์
[16] มจฺจุนาพฺภหโต โลโก.
สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น
[17] ชโว นตฺถิ ปลายิตุง.
จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)
[18] ชราย ปริวาริโต.
สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม
[19] พฺยาธิปิ ทุกฺขา.
เจ็บ ก็เป็นทุกข์
[20] เอโกว ชายเต กุเล.
จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว
กสิรญฺจ ปริตฺตญฺจ.
ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว
มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ.
ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ.
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ.
เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
สายเมเก น ทิสฺสนฺติ.
เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย
จวิตํ อนุโสจิยํ.
ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง
อปฺปญฺหิ นํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก
มจฺจุนา ปิหิโต โลโก.
โลกถูกความตายครอบเอาไว้
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ.
เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้
นตฺถิ โลเก อนามตํ.
สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก
กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเช.
ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
ทหรา จ วุฑฺฒา จ สรีรเภทา.
ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน
มจฺจุนาพฺภหโต โลโก ชราย ปริวาริโต.
สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม
ชรูปนิตสฺส น สนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ.
กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนติ.
คนทุกคนต้องตาย
วโย รตฺตินฺทิวกฺขโย.
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
มรณํ ธมฺมิกํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ.
การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
อายุ ขียติ มจฺจานํ.
อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป
ชาตสฺส มรณํ โหติ.
ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด
ยสฺส รตฺยา วิวสาเน อายุ อปฺปตรํ สิยา.
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที
เอวํ ชราย มรเณน วุยฺหนฺเต สพฺพปาณิโน.
สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป
ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ ทิฏฺฐา พหู ชนา.
สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย
ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ.
มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน.
เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้
สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
ธมฺเม ฐิโต ปรโลกํ น ภาเย.
ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
ยาวุปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ตตฺราปิ สรตี วโย.
วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา
น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ.
เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
มรณํ ธมฺมิกํ เสยฺโย.
ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย.
ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้
น ปิตา นปิ พนฺธวา.
ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้
อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ.
รวยก็ตาย จนก็ตาย
น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วหนฺติ.
ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
วินาภาเว อสํสเย.
สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ.
วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า
อาคจฺฉนฺตคฺคิกฺขนฺธาว มจฺจุพฺยาธิชรา ตโย.
มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
ธมฺเม ฐิโต โก มรณสฺส ภาเย.
ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย
นตฺถิ ชาตสฺส อมรณํ.
ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ.
วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง
จิรํ ชีวติ โส วสฺสสตํ อปฺปํ วา ภิยฺโยติ.
คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
โยปิ วสฺสสตํ ชีเว สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
อปฺปกํ ชีวิตํ มยฺหํ ชรา พฺยาธิ จ มทฺทติ.
ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี
กาโล ฆสติ ภูตานิ สฺพพาเนว สหตฺตนา.
กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
มตํ มริสฺสํ โรทนฺติ เย รุทนฺติ ลปนฺติ จ.
คนใดร้องไห้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้องนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน
อยาจิโต ตโตคจฺฉิ อนนุญฺญาโต อิโต คโต.
เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ.
วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ
สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ.
รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย
น เหว ติฏฺฐํ นาสีนํ น สยานํ น ปตฺถคุง ยาวุปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ตฺตราปิ สรตี วโย..
อายุสังขารหาได้เป็นไปตามเฉพาะสัตว์ที่ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่เท่านั้นก็หาไม่ วัยย่อมเสื่อมไปทุกขณะที่ยังหลับตาและลืมตาอยู่.
สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.
สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
ตสฺมา อิธ ชีวิตเสเส กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเช.
เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
นิพฺพุยฺหติ สุสานํ อจิรํ กาโย อเปตวิญฺญาโณ ฉฑฺฑิโต กลงฺครํวิย ชิคุจฺฉมาเนหิ ญาตีหิ.
ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้
มรณสญฺญาปริจิเตน ภิกฺขุโน เจตสา พหุลํ วิหรโต ชีวิตนิกนฺติยา จิตฺตํ ปฏิลียติ ปฏิกุชฺชติ ปฏิวตฺตติ.
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก
จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ.
กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอนๆ ตามลำดับ
อปฺปมิทํ มนุสฺสานํ อายุ คมนีโย สมฺปราโย กตฺตพฺพํ กุสลํ จริตพฺพํ พฺรหฺมจริยํ.
อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์
ยถา ราริวโห ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ เอวมายุ มนุสฺสานํ คจฺฉํ น ปริตฺตติ.
น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
กสิรญฺจ ปริตฺตญฺจ ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ โกมํ ชีวิตมาคมฺม เวรํ กยิราถ เกนจิ.
ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น
อปฺปํ วต ชีวิตํ อิทํ โอรํ วสฺสสตาปิ มิยฺยติ สเจปิ อติจฺจ ชีวติ อถ โข โส ชรสาปิ มิยฺยติ.
ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่
อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ อายุ ขียติ มจฺจานํ กุนฺนทีนํว โอทกํ.
วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อยๆ ฉะนั้น
รูปธาตุปริญฺญาย อรูเปสุ อสณฺฐิตา นิโรเธ เย วิมุจฺจนฺติ เต ชนา มจฺจุหายิโน.
ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ,
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้
อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หิเฬยฺย นํ สุโปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม.
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย
พึงประพฤติดุจคนมีศีรษะถูกไฟไหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี
ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ อติตฺตํ เยว กาเมสุ อนฺตโก กุรุเต วสํ.
ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ
ผลานมิว ปกฺกานํ ปาโต ปตนโต ภยํ เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ.
ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน
เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้า ฉะนั้น
ยถาปิ กุมฺภการสฺส กตา มตฺติกภาชนา สพฺเพ เภทปริยนฺตา เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุง ปาเชนฺติ ปาณินํ.
ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด,
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
น หิ รุณฺณํ วา โสโก วา ยา วญฺญา ปริเทวนา น ตํ เปตานมตฺถาย เอวํ ติฏฺฐนฺติ ญาตโย.
การร้องไห้ ความโศกเศร้า หรือ การคร่ำครวญร่ำไรใดๆ
ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา.
เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง
มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี
ปาปญฺจ เม นตฺถิ กตํ กุหิญฺจิ ตสฺมา น สงฺเก มรณาคมาย.
ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส ภิยฺยสฺสุปฺปชฺชเต ทุกฺขํ สรีรํ จุปหญฺญติ.
การร้องไห้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวีทั้งร่างกายก็พลอยทรุดโทรม
สุปิเนน ยถาปิ สงฺคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ เอวมฺปิ ปิยายิกํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ.
คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีก เหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ เอโกว ชายเต กุเล สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ.
จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
โสกมปฺปชหํ ชนฺตุ ภิยฺโย ทุกฺขํ นิคจฺฉติ อนุตฺถุนนฺโต กาลกตํ โสกสฺส วสมนฺวคู.
คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว
ตกอยู่ในอำนาจของความโศกย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น
สายเมเก น ทิสฺสนติ ปาโต ทิฏฺฐา พหู ชนา ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ ทิฏฺฐา พหู ชนา.
ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคนตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
ตํ ตญฺเจ อนุโสเจยฺย ยํ ยํ ตสฺส น วิชฺชติ อตฺตามนุโสเจยฺย สทา มจฺจุวสํ ปตฺตํ.
ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้
ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
ยถา วาริวโห ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ เอวมายุ มนุสฺสานํ คจฺฉํ น ปริวตฺตติ.
แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
ผลานมิว ปกฺกานํ นิจฺจํ ปตนโต ภยํ เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ.
ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่ละต้องร่วงหลุ่นไปตลอดเวลา ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น
อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หิเฬยฺย นํ สุโปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม.
อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศีรษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย
ตํ ตญฺเจ อนุโสเจยฺย ยํ ยํ ตสฺส น วิชฺชติ อตฺตานมนุโสเจยฺย สทา มจฺจุวสํ ปตฺตํ.
ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา
ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช เอวํ ชราย มรเณน วุยฺหนฺเต สพฺพปาณิโน.
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
ตสฺมา อรหโต สุตฺวา วิเนยฺย ปริเทวิตํ เปตํ กาลกตํ ทิสฺวา เนโส ลพฺภา มยา อิติ.
เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
อญฺเญปิ ปสฺส คมิเน ยถากมฺมูปเค นเร มจฺจุโน วสมาคมฺม ผนฺทนฺเตวิธ ปาณิโน.
ดูซิ ... ถึงคนอื่นๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม
ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น
ตตฺถตฺตนิ วตปฺปนฺเถ วินาภาเว อสํสเย ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ จวิตํ อนนุโสจิยํ.
เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย
หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ จรโต ติฏฺฐโต วาปิ อาสีนสยนสฺส วา อุเปติ จริมา รตฺติ น เต กาโล ปมชฺชิตุง.
วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบถ ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา
น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺฐิตํ นปฺปสเหยฺย มจฺจุ.
จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้
ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี
อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ปุญฺญานิ กยิราถ สุขขาวหานิ.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
กีโส วิวณฺโณ ภวติ หึสมตฺตานมตฺตนา น เตน เปตา ปาเลนฺติ นิรตฺถา ปริเทวนา.
เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิวพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์
ยถาปิ ทารโก จนฺทํ คจฺฉนฺตํ อนุโรทติ เอวํ สมฺปทเมเวตํ โย เปตมนุโสจติ ทยฺหมาโน น ชานาติ ญาตีนํ ปริเทวิตํ ตสฺมา เอตํ น โสจามิ คโต โส ตสฺส ยา คติ.
ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องไห้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แต่ละบุคคลที่เกิดมา ล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครหลีกพ้นได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น บุคคลผู้ไม่ระลึกถึงความตายว่าตนเองจักต้องตายแน่นอน ก็เป็นผู้ที่ประมาทมัวเมา ประมาทในชีวิต และไม่เจริญกุศลทุกประการอันจะเป็นที่พึ่งสำหรับตนเอง เมื่อถึงคราวใกล้ตาย ย่อมเกิดความกลัวเพราะที่ผ่านมากระทำแต่อกุศลกรรม ไม่ได้สร้างกุศลไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ภพต่อไปย่อมไม่พ้นไปจากอบายภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานนานาประการ กล่าวได้ว่าเดือนร้อนในโลกนี้ยังไม่พอ ยังจะต้องเดือนร้อนในโลกหน้า อีกด้วย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบด้วยข้ออุปมาที่เห็นได้ชัด คือ คนที่ประมาทมัวเมาในชีวิต ไม่ระลึกถึงความตายอันจะเป็นเครื่องเตือนให้กระทำความดีนั้น เป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีเครื่องป้องกัน เปรียบเหมือนกับผู้ที่เห็นอสรพิษเมื่อจวนตัวแล้ว (คืออยู่ใกล้ตัวแล้ว) หมดทางป้องกัน มีแต่จะถูกอสรพิษกัดทำร้ายอย่างเดียว ผู้ประมาทในชีวิต ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต เป็นผู้ที่เจริญกุศล สะสมความดีเป็นที่พึ่งสำหรับตนเอง ย่อมเป็นผู้ไม่หวั่นกลัว หรือ ไม่เดือดร้อนเมื่อถึงคราวใกล้ตาย เพราะได้กระทำที่พึ่งสำหรับตนเอง กล่าวคือ กุศลทุกประการไว้พร้อมแล้ว มีเครื่องป้องกันที่ดีแล้ว เนื่องจากว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ นั่นเอง
ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอุปมาเหมือนกับ ผู้ที่เห็นอสรพิษมาแต่ไกล ย่อมมีเวลาที่จะหาทางป้องกันให้ตนเองรอดพ้นจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากอสรพิษดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที
ดังนั้น ในเมื่อทุกคนต้องตายอย่างแน่นอน จึงควรพิจารณาอยู่เสมอว่า ก่อนที่วันนั้นจะมาถึง เราควรทำอะไรบ้าง ซึ่งจะเป็นที่พึ่งสำหรับตนเองอย่างแท้จิรง โดยไม่ต้องรอไปทำความดีเมื่อใกล้ตาย ถ้ารอ ก็แสดงว่าประมาทแล้ว และอาจจะไม่มีโอกาสได้ทำก็ได้ การละอกุศลกรรม (ความชั่ว) แล้วเจริญกุศล (ความดี) บ่อยๆ เนืองๆ ตามกำลังของตนและไม่ละเลยในการอบรมเจริญปัญญา ด้วยการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมให้เข้าใจ เพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติตามนั้น เป็นความดีที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าบุคคลผู้ไม่ประมาทในชีวิตอันมีประมาณน้อยนี้ ย่อมจะไม่เดือดร้อนทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ