การรู้ลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

 
เมตตา
วันที่  25 ม.ค. 2555
หมายเลข  20436
อ่าน  3,820

มีคำถามท่านผู้หนึ่งกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ...

การรู้ลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้น ขณะที่ปัญญารู้ จะรู้ทีละอย่าง หรือรู้ทั้ง ๓ อย่างพร้อมกัน

ท่านอาจารย์ได้กรุณาอธิบายให้ฟังว่า ถ้ายังไม่รู้เฉพาะธรรมแต่ละอย่าง ทีละอย่างด้วยสติสัมปชัญญะ เมื่อลักษณะสภาพธรรมนั้นปรากฏกับสติ โดยไม่ใช่เพียงปรากฏกับจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ใช่ฐานะที่จะไปรู้ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

การศึกษาพระธรรม ต้องเริ่มฟังให้เข้าใจ สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏให้เข้าใจจริงๆ ก่อน ไม่ใช่ไปรู้สิ่งที่ยังไม่ได้ปรากฏ ปัญญาต้องเกิดจากการอบรมให้มีขึ้นตามลำดับทีละขั้น

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ประโยชน์ของปัญญาขั้นฟัง [สัมพหุลภิกขุสูตร]

ปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับขั้น

ปัญญาคือ กำไร

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การประจักษ์ความไม่เที่ยง เป็นปัญญาระดับสูงที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๓ และ ๔ ซึ่งก่อนจะถึง การเห็นความไม่เที่ยงนั้น จะต้องเริ่มจากปัญญาขั้นต้นก่อน คือ เริ่มจากความเข้าใจในตัวธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น รู้จักลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา

ดังนั้น ถ้ายังไม่รู้จักตัวธรรมลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ก็ไม่มีทางเห็นการเกิดดับ ความไม่เที่ยงของสภาพธรรมได้เลยครับ เพราะยังไม่รู้ว่าสภาพธรรมคืออะไร ในขณะนี้ที่ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม จะรู้ลักษณะของการเกิดดับไม่ได้เลย เพราะตัวธรรมก็ยังไม่รู้ครับ

ดังนั้น การเห็นการเกิดดับ ควาไม่เที่ยงไม่ใช่ด้วยการพิจารณา แต่สำคัญคือ ค่อยๆ อบรมปัญญาขั้นการฟังในเรื่องสภาพธรรมต่อไป ปัญญาก็จะเกิดเองจนถึงรู้ลักษณะของสภาพธรรม และธรรมทำหน้าที่รู้ความจริง แม้ในเรื่องการเกิดดับ แต่เป็นเรื่องไกล และต้องอาศัยกาลเวลายาวนานในการจะไปถึงจุดนั้นครับ

ดังนั้น สบายๆ ด้วยการฟังพระธรรมต่อไปครับ นี่คือหนทางที่จะไปถึงการเห็นการเกิดดับ ประจักษ์ความไม่เที่ยงของสภาพธรรม แต่ไม่ใช่การไปพยายามคิดในเรื่องการเกิดดับจะเป็นหนทางการรู้การเกิดดับครับ ต้องรู้จักตัวธรรมก่อนครับ จึงจะเห็นการเกิดดับของสภาพธรรมได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การศึกษาธรรม เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม นั้นๆ ซึ่งต้องเข้าใจถูกว่า นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม โดยไม่ปะปนกัน เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งจะขาดการฟัง การศึกษาการพิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของธรรมไม่ได้เลย และที่สำคัญการที่ปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูก จะรู้ความจริง ก็ไม่ใช่ไปรู้สิ่งอื่น นอกจากสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้จนกว่าจะค่อยๆ รู้ความจริงของสิ่งนั้นยิ่งขึ้น ไม่ใช่ไปรู้ความจริงของสิ่งที่ไม่ปรากฏหรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้เป็นธรรมซึ่งสามารถศึกษาให้เข้าใจได้ เพราะมีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ปัญญาจะเจริญขึ้นจนกระทั่งเป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ก็ต้องจากการสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ครับ

..ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่เมตตา และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
captpok
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แก้วนพคุณ
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 25 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของเมตตา และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Thanapolb
วันที่ 26 ม.ค. 2555

การประจักษ์ความเป็นไตรลักษณะ เป็นปัญญาระดับสูงที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ นั้น ต้องเข้าใจขั้นการฟังก่อน คือมีความเห็นถูกในขั้นการฟังก่อนหรือมีปัญญาในขั้นการฟังก่อน ดังนั้นถ้ามีบุคคลบางท่านกล่าวว่า คนที่รู้ปริยัติมาก ปฏิบัติธรรมไม่แล้วประจักษ์แจ้งไตรลักษณะยาก เพราะมัวแต่คิดว่านี่เป็นธรรมะอะไร การกล่าวอย่างนั้นก็ถือว่าผิดใช่ไหมครับ เพราะความจริงแล้วการจะประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา เป็นอกาลิโก และไม่ใช่ตั้งใจไปทำเพื่อให้เกิดปัญญา

ประเด็นที่สอง ผู้ที่มีอัธยาศัยชอบในการธุดงค์ก็มี หรือชอบไปสถานที่หลีกเร้นสิ่งรบกวน บางท่านก็บรรลุธรรมขั้นประจักษ์แจ้งได้ นั่น ท่านประจักษ์แจ้งได้ก็เพราะมีวิริยะและไม่มีความเห็นผิดร่วมด้วยเป็นต้น ท่านมีการพิจารณาธรรมะอยู่เนืองๆ และปัญญาเจริญตามเหตุผลที่พร้อมมูลท่านจึงประจักษ์ได้ จะเร็วหรือช้าขึ้นกับการสะสมเหตุที่ถูกและควร กล่าวอย่างนี้ถูกต้องไหมครับหรือมีอะไรควรพิจารณาเพิ่มเติมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 26 ม.ค. 2555

เรียน ความเห็นที่ 7 ครับ

จากคำถามที่ว่า

การประจักษ์ความเป็นไตรลักษณะ เป็นปัญญาระดับสูงที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ นั้น ต้องเข้าใจขั้นการฟังก่อน คือมีความเห็นถูกในขั้นการฟังก่อนหรือมีปัญญาในขั้นการฟังก่อน ดังนั้นถ้ามีบุคคลบางท่านกล่าวว่า คนที่รู้ปริยัติมาก ปฏิบัติธรรมไม่แล้วประจักษ์แจ้งไตรลักษณะยาก เพราะมัวแต่คิดว่านี่เป็นธรรมะอะไร การกล่าวอย่างนั้นก็ถือว่าผิดใช่ไหมครับ เพราะความจริงแล้วการจะประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา เป็นอกาลิโก และไม่ใช่ตั้งใจไปทำเพื่อให้เกิดปัญญา

ปริยัติ ย่อมนำไปสู่ ปฏิบัติ และนำไปสู่ปฏิเวธ (บรรลุธรรม) หากไม่มีปัญญาขั้นการฟัง ก็ย่อมไม่ถึงการปฏิบัติ และการเห็นการเกิดดับได้เลยครับ เพราะฉะนั้น อาศัยการฟัง การอบรมปัญญา ทีละน้อย ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นครับ ไม่ใช่ก้าวกระโดด ฟังชาตินี้จะเห็นการเกิดดับได้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน ดังนั้น ไม่ใช่ว่ามัวแต่ฟัง และคิด เลยไม่เห็นการเกิดดับ เพราะปัญญาขั้นการฟัง ต้องอบรมยาวนานครับ แต่ผู้ที่ไม่ฟัง ไปปฏิบัติเลย ย่อมไม่ถึงการปฏิบัติ เห็นการเกิดดับได้เลยครับ

ประเด็นที่สอง ผู้ที่มีอัธยาศัยชอบในการธุดงค์ก็มี หรือชอบไปสถานที่หลีกเร้นสิ่งรบกวน บางท่านก็บรรลุธรรมขั้นประจักษ์แจ้งได้ นั่นท่านประจักษ์แจ้งได้ก็เพราะมีวิริยะและไม่มีความเห็นผิดร่วมด้วยเป็นต้น ท่านมีการพิจารณาธรรมะอยู่เนืองๆ และปัญญาเจริญตามเหตุผลที่พร้อมมูล ท่านจึงประจักษ์ได้ จะเร็วหรือช้าขึ้นกับการสะสมเหตุที่ถูกและควรกล่าวอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ หรือมีอะไรควรพิจารณาเพิ่มเติมครับ

ถูกต้องครับ เพราะท่านอบรมปัญญาขั้นการฟังมามากแล้ว นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
papon
วันที่ 24 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ