มัจฉริยะ

 
Thanapolb
วันที่  26 ม.ค. 2555
หมายเลข  20443
อ่าน  1,658

เรื่องมัจฉริยะ อยากเข้าใจในข้อสงสัยบางประการครับ ขอท่านผู้รู้เมตตาชี้แนะครับ กรณีมีคนจะทำบุญ อาจกับพระสงฆ์ผู้มีมิจฉาฐิติ หรืออาจมีข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสม แล้วเราบอกมัคทายกนั้นว่า ไม่เหมาะสม ควรไปถวายกับผู้อื่นเสีย อย่างนี้เป็นลาภมัจฉริยะไหม

อีกกรณี บุคคลที่มีวิชาความรู้ทางโลก หรือนักธุรกิจ ก็หวงวิชาการไม่ให้คู่แข่งล่วงรู้ ความลับ เพิ่อไม่ให้เขาแข่งขันในธุรกิจของเรา ได้ดีกว่าเรา อย่างนี้เป็นธรรมมัจฉริยะ หรือไม่ และถ้าเป็น เป็นลาภมัจฉริยะด้วยหรือไม่

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่ หมายถึง ความเหนียวแน่น ความหวงแหน ในสมบัติของตน หรือ ปกปิดสมบัติของตนไม่ให้ผู้อื่นรู้ หรือ อยากให้สิ่งที่มีอยู่กับตน หรือ สิ่งที่ดีๆ นั้น มีอยู่กับเราผู้เดียว ไม่อยากให้ผู้อื่นมี เป็นต้น นี่คือ ลักษณะของความตระหนี่ครับ

มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ๕ อย่าง ได้แก่

๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ ที่อยู่อาศัย

๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ ตระกูล

๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ ลาภ

๔. วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่ วรรณะ คือคำสรรเสริญ

๕. ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ ธรรม รวมถึง ความรู้

จากคำถามที่ว่า

กรณีมีคนจะทำบุญอาจกับพระสงฆ์ผู้มีมิฉาฐิติ หรืออาจมีข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสม แล้วเราบอกมัคทายกนั้นว่า ไม่่เหมาะสม ควรไปถวายกับผู้อื่นเสีย อย่างนี้เป็นลาภามัจฉริยะไหม


ลาภมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ลาภ คือ ปัจจัย สิ่งของต่างๆ โดยไม่ปรารถนาให้ผู้อื่น ได้สิ่งนั้น ต้องการจะได้เป็นของตนเท่านั้น ซึ่งจากตัวอย่างที่กล่าวมานั้น ไม่ได้มีความปรารถนาที่ไม่อยากให้ผู้อื่นได้จริงๆ แต่พิจารณาเหตุผลว่า ควรไปถวายในบุคคลที่เหมาะสมกว่า คือ พิจารณาเหตุผล ดังนั้น จึงไม่ใช่ความตระหนี่ลาภ ที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ ลาภ ของ ปัจจัย มี อาหาร เป็นต้นครับ เพราะได้พิจารณาเหตุผลอันเหมาะสม นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงนั้น การให้ทานนั้น ให้เพื่ออนุเคราะห์ก็ส่วนหนึ่ง ให้เพื่อ บูชาคุณก็ส่วนหนึ่ง ดังนั้น เราก็สามารถให้ได้ แม้เป็นพระภิกษุที่ไม่ดี แต่อนุเคราะห์ให้ ร่างกาย อยู่ได้ เป็นไป แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อให้แล้ว จะเป็นการสนับสนุนท่านให้เห็นผิด หรือ สนับสนุนความเห็นผิดนะครับ การให้เพื่ออนุเคราะห์ กับ ให้เพื่อบูชาคุณความดีนั้นแตกต่างกัน ส่วนการให้เพื่อบูชาคุณก็สามารถให้ได้ กับพระภิกษุที่มีคุณธรรม บูชาคุณท่านครับ ซึ่งการให้ทานถวายพระภิกษุ ก็สามารถให้ได้ ด้วยการถวายนอบน้อมจิตใจไปถวายแด่สงฆ์ โดยไม่ได้มุ่งเจาะจงว่า พระนี้ดี หรือ ไม่ดีครับ ดังนั้น ที่สมควร ไม่ว่ากับใครก็สามารถให้ได้ เพราะมุ่งถวายแด่งสงฆ์ จึงสำคัญที่ปัญญา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 26 ม.ค. 2555

และจากคำถามที่ว่า

อีกกรณี บุคคลที่มีวิชาความรู้ทางโลก หรือนักธุรกิจ ก็หวงวิชาการ ไม่ให้คู่แข่งล่วงรู้ความลับ เพิ่อไม่ให้เขาแข่งขันในธุรกิจของเราได้ดีกว่าเรา อย่างนี้เป็นธรรมมัจฉริยะ หรือไม่ และถ้าเป็น เป็นลาภมัจฉริยะด้วยหรือไม่


จากกรณีนี้ เป็นที่แน่นอนครับว่า เป็น มัจฉริยะ ความตระหนี่ เพราะต้องการให้ตนเองเท่านั้นที่ได้เงิน ทรัพย์สมบัติ จึงปกปิด วิชาความรู้ ไม่ให้ผู้อื่นได้ เพราะกลัวผู้นั้นจะได้เงินทองมากกว่าตน เป็นต้นครับ จึงเป็น มัจฉริยะ ที่เป็น ธรรมมัจฉริยะได้ ที่เป็นการตระหนี่ความรู้ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 26 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่าจะกล่าวถึงอะไร ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ แม้แต่ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรมที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตประเภทโทสมูลจิต เป็นสภาพธรรมที่หวงแหนวัตถุสิ่งของทรัพย์สมบัติของตนไม่ให้สาธารณะทั่วไปแก่บุคคลอื่น เป็นอกุศลจิตที่เกิดขึ้นมีเพราะอาศัยทรัพย์สมบัติที่ตนมี ซึ่งจะเห็นได้ว่าขณะที่ตระหนี่หวงแหนนั้น ไม่สบายใจอย่างแน่นอน เพราะในขณะนั้นประกอบด้วยโทมนัสเวทนา บุคคลผู้ที่จะดับความตระหนี่ได้อย่างหมดสิ้น ต้องถึงความเป็นพระโสดาบัน

ประเด็นเรื่องกรณีมีคนจะทำบุญอาจกับพระสงฆ์ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ หรืออาจมีข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสม แล้วเราบอกมัคทายกนั้นว่า ไม่่เหมาะสม ควรไปถวายกับผู้อื่นเสีย อย่างนี้เป็นลาภมัจฉริยะไหม?

ธรรมเป็นเรื่่องทีละเอียด และจิตก็เกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว ขณะนั้นมีเจตนาที่จะถวาย มีเจตนาที่จะสละ ไม่ใช่ความตระหนี่ แต่มีการพิจารณาว่า อย่างไรจึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ทั้งวัตถุที่จะถวาย และ บุคคลผู้รับ เป็นต้น แล้วจึงถวาย อย่างนี้ไม่ใช่ลักษณะของความตระหนี่ เพราะมีเจตนาที่จะสละ ไม่ใช่การหวงแหน

บุคคลที่มีวิชาความรู้ทางโลก หรือนักธุรกิจก็หวงวิชาการไม่ให้คู่แข่งล่วงรู้ความลับ เพิ่อไม่ให้เขาแข่งขันในธุรกิจของเรา ได้ดีกว่าเรา อย่างนี้เป็นธรรมมัจฉริยะ หรือไม่ และถ้าเป็น เป็นลาภมัจฉริยะด้วยหรือไม่

การหวงวิชาความรู้เป็นธรรมมัจฉริยะ ขณะที่ปกปิดวิชาความรู้ ไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นมีความรู้และมีความเจริญยิ่งกว่าตน จิตใจหนักไปด้วยอกุศล มีความไม่สบายใจ เป็นโทสมูลจิตที่ประกอบด้วยมัจฉริยะ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับขณะที่มีเมตตา มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นในทุกๆ เรื่อง ไม่เว้นแม้แต่มีความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความเจริญทางด้านธุรกิจ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 26 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Thanapolb
วันที่ 27 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณครับ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ