สมุฏฐาน และ ปัจจัย

 
วิริยะ
วันที่  1 ก.พ. 2555
หมายเลข  20479
อ่าน  6,051

เรียนถาม

คำว่า สมุฏฐาน และ คำว่า ปัจจัย ความหมายเหมือนกันหรือไม่คะ

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมุฏฐาน หมายถึง เป็นที่เกิด เป็นเหตุให้เกิด เช่น สมุฏฐานของรูป คือ เหตุให้เกิดรูป มี สี่ สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นต้น สมุฏฐานของโรค หรือ เหตุให้เกิดโรค มี กรรม อุตุ เป็นต้น ที่เป็นเหตุให้เกิดโรค หรือ เป็นสมุฏฐานให้เกิดโรคครับ

ปัจจัย หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลหรืออุปการะ ให้ผลธรรมเกิดขึ้น

ซึ่งเมื่อดูความหมายทั้ง สมุฏฐานและปัจจัยแล้ว มีความหมายใกล้เคียงกัน คือ เป็นเหตุให้เกิดสภาพธรรมนั้น แต่ความแตกต่างก็คือ คำว่า ปัจจัย มีความหมายที่กว้างกว่าสมุฏฐานมากครับ เพราะปัจจัย ยังแยกเป็นปัจจัยต่างๆ ที่แสดงลักษณะ ความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดสภาพธรรมต่างๆ โดยนัยแตกต่างกันไป ตามลักษณะปัจจัยต่างๆ ที่มี ๒๔ ปัจจัย ปัจจัย จึงมีความหมายที่กว้างกว่า สมุฏฐานตามที่กล่าวมาครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 1 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญที่ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพราะเหตุว่า ไม่ว่าจะเป็นคำใดก็เพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้อง แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เมื่อได้ศึกษาแล้ว จะได้เห็นถึงความละเอียดของคำแต่ละคำ ซึ่งจะเข้าใจอย่างถูกต้องได้นั้น จะขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมไม่ได้เลยทีเดียว เมื่อว่าโดยศัพท์แล้ว สมุฏฐาน ส่วนใหญ่แล้วใช้กับรูปธรรม หมายถึง ที่ตั้งที่จะทำให้รูปนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น จักขุปสาทะ (ตา) เป็นรูปธรรมที่มีจริง เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ที่ตั้งที่จะทำให้รูปธรรมประเภทนี้เกิดขึ้น ไม่ใช่อย่างอื่น แต่เป็นกรรมเท่านั้น ที่จะทำให้จักขุปสาทะเกิดขึ้น ดังนั้น กรรม จึงเป็นสมุฏฐานให้จักขุปสาทะ เกิดขึ้น สมุฏฐานอื่นๆ ที่ทำให้เกิดรูปอื่นๆ ก็ต้องตามสมควรแก่สมุฏฐาน นั้นๆ

ส่วน ปัจจัย หมายถึง สภาพธรรมที่อุปการะเกื้อกูลให้สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นและดำรงอยู่ มีความหมายกว้างขวางมาก สภาพธรรมหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะปัจจัยหลายปัจจัย แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีสภาพธรรมใดๆ ที่เกิดขึ้นลอยๆ โดยปราศจากปัจจัย เช่น จิตเห็น (จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้นเพราะปัจจัยหลายอย่าง กล่าวคือ จะต้องมีอารมณ์ จะต้องมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย จะต้องมีกรรมเป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้น และจะต้องมีที่อาศัยให้จิตเห็นเกิดด้วย

ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยคำหรือพยัญชนะในการสื่อสารเพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ให้ไปติดที่คำ แต่เพื่อเข้าใจจริงๆ เมื่อกล่าวถึงคำไหน ก็ต้องเข้าใจในคำนั้นๆ ด้วย ครับ

..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 1 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pat_jesty
วันที่ 1 ก.พ. 2555

เพราะฉะนั้น ที่พระองค์ทรงแสดงเรื่องสมุฏฐาน เพื่อต้องการแสดงนัยเฉพาะของขณะการเกิดของสภาพธรรมเพื่อให้เข้าใจละเอียดขึ้น ใช่รึเปล่าคะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 2 ก.พ. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

ถูกต้องครับ ที่แสดงเรื่องสมุฏฐาน เพื่อแสดงความละเอียดในการเกิดของสภาพธรรมนั้นอย่างเจาะจงครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 2 ก.พ. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 3 ก.พ. 2555

สมุฏฐาน หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดรูป เช่น โสตปสาท มีกรรมเป็นสมุฏฐาน

ปัจจัย หมายถึง ธรรมเป็นที่อาศัย อุปการะ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น จิตได้ยิน ต้องอาศัยที่เกิด อาศัยกรรม อาศัยเจตสิก ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างจึงจะเกิดได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nong
วันที่ 4 ก.พ. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
sanorhnakvisuth
วันที่ 13 ก.ค. 2561

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ก.ไก่
วันที่ 30 ม.ค. 2566

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ