ชวนะ ๖ ขณะ มี ๑ คือเวลาคนป่วยหนัก เป็นอย่างไร

 
Thanapolb
วันที่  23 ก.พ. 2555
หมายเลข  20613
อ่าน  3,364

ขอเรียนถามครับ

เจอข้อความที่เกี่ยวกับชวนะ ซึ่งคนทั่วไปจะมี ๗ ขณะ

ถ้าชวนะ ๖ ขณะ มีในเวลาคนป่วยหนัก เป็นอย่างไรครับ

ขออนุโทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่า ชวนจิต ก่อนครับ ชวนจิต คือจิตที่แล่นไปโดยเร็ว หมายถึง จิตที่เป็นชาติกุศลหรืออกุศลของผู้ที่ไม่ใช่ พระอรหันต์ หรือกิริยาของพระอรหันต์ และวิบากจิตที่เป็นโลกุตตรจิตที่ทำกิจชวนะ เรียกว่า ชวนจิต มี ๕๕ ดวง คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง กุศลจิต ๒๑ ดวง สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ดวง อเหตุกกิริยาหสิตุปาทจิต ๑ ดวง โลกุตตรวิบากจิต ๔ ดวง

ดังนั้น ชวนจิต จึงเป็นจิตที่แล่นไปในขณะนั้นที่เป็นกุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง กิริยาจิตบ้าง หรือวิบากจิต ครับ

ชวนจิต เป็นจิตที่แล่นไปเสพอารมณ์ซ้ำๆ กัน โดยปกติเกิดดับติดต่อกัน ๗ ขณะ เช่น ขณะนี้ ที่กำลังเห็น แล้วเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ชวนจิตเกิดติดต่อกัน ๗ ขณะ เป็นจิตชาติเดียวกัน คือ จิตขณะที่ ๑ - ๗ เป็นจิตชาติเดียวกัน ถ้าเป็นกุศลจิต ก็ต้องเป็น ชาติกุศล ทั้ง ๗ ขณะ แต่ในขณะสลบ ๖ ขณะ ส่วน ชวนวิถีวาระสุดท้ายก่อนจุติ ๕ ขณะ ขณะที่เข้าฌานสมาบัติหรือผลสมาบัติ มีชวนจิตมากมายจนนับไม่ได้

ดังนั้นขณะที่สลบ แต่ไม่ควรกล่าวว่าป่วยหนัก เพราะขณะที่ป่วยหนัก อาจจะไม่สลบก็ได้ หรือ คนที่ไม่ป่วยหนัก อาจจะสลบไปก็ได้ ดังนั้น ควรกล่าวว่า ณะที่สลบนั้น มีชวนจิต เกิดขึ้น ๖ ขณะ ในขณะนั้น ครับ เพียงแต่ว่า เมื่อใดที่ป่วย หรือ ไม่ป่วยหนัก เกิดสลบขึ้น ขณะนั้นจะต้องมี ชวนจิต ๖ ขณะเท่านั้น ไม่ใช่ ๗ ขณะที่เป็นปกติทั่วไป ซึ่งเมื่อใดที่ชวนจิต ๖ ขณะเกิดขึ้น ขณะนั้นคนนั้นก็อยู่ในสภาพที่สลบนั่นเองครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่สลบ ชวนจิตเกิด ๖ ขณะ ซึ่งเป็นขณะที่อ่อนกำลังกว่าขณะปกติ ซึ่งปกติจะมีชวนจิต ๗ ขณะ และในขณะที่เป็นชวนะก่อนที่จุติจะเกิดขึ้น มีชวนจิต เกิด ๕ ขณะ ซึ่งเป็นจิตที่มีกำลังอ่อนมากแล้ว ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ชวนจิต เกิดขึ้นเป็นไปเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ตามการสะสมของแต่ละบุคคล, ในขณะที่ป่วยหนัก ต้องมีจิตเกิดขึ้น ต้องมีชวนจิตเกิดขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล แต่ที่แน่ๆ ถ้าไม่ใช่ในขณะที่สลบ กับ ไม่ใช่ชวนะก่อนจะจุติ ชวนจิตย่อมมี ๗ ขณะ เกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะ สภาพธรรมเป็นจริงอย่างนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Thanapolb
วันที่ 24 ก.พ. 2555

ขอบพระคุณครับ ... และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jaturong
วันที่ 24 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
govit2553
วันที่ 25 ก.พ. 2555

ขณะสลบไป ... เป็นคน ไม่รู้สึกตัว การไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สึกอะไรเลย ... น่าจะเป็นภวังคจิต แต่ ... การมีชวนจิต แสดงว่า มีวิถีจิต ช่วงที่สลบ มีชวนจิต ได้อย่างไร มีวิถีจิต แล้วทำไมจึงไม่รู้สึกตัว เกิดความสงสัยครับ

ช่วยอธิบายขยายความด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 25 ก.พ. 2555

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

ขณะที่สลบ เป็นชวนจิต ๖ ขณะ ซึ่งขณะนั้นเป็น วิถีจิต จึงไม่ใข่ ภวังคจิต ที่ไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้เลยครับ เพียงแต่ว่า สลบนั้น ที่เป็นชวนจิต ๖ ขณะ มีกำลังอ่อนมากๆ จึงเหมือนว่า ไม่รู้สึกอะไรเลย แต่อาจจะมีการรู้อารมณ์โลกนี้ แต่เพียงแผ่วเบา ทำให้เหมือนกับไม่รู้สึกอะไรเลย แท้ที่จริง ชวนจิต ๖ ขณะ มีกำลังอ่อนมาก จึงเหมือนไม่รู้สึกอะไรเลย ครับ แต่อาจจะมี แต่เบาบางมากนั่นเอง จนไม่สามารถที่จะรู้ หรือ จำได้ครับเมื่อฟื้นจากที่สลบ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 25 ก.พ. 2555
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
govit2553
วันที่ 27 ก.พ. 2555

แสดงว่า การหลับสนิท โดยไม่ฝันนั้น มีความไม่รู้สึกตัว สูงกว่า การสลบอีก หรืออีกนัยหนึ่ง การสลบ ... มีโอกาสที่คนผู้นั้นจะฝันได้ ในขณะสลบ เนื่องจากมีวิถีจิต สลับกับภวังคจิต แต่การหลับสนิท เป็นภวังคจิต ล้วนๆ (ไม่มีการฝัน)

ผมเข้าใจถูกต้อง มั้ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 27 ก.พ. 2555

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

ท่านมีความเข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 21 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ