รองเท้าและถุงเท้า

 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่  28 ก.พ. 2555
หมายเลข  20653
อ่าน  4,688

ขอเรียนถามดังนี้

๑. การใส่บาตร ผู้ใส่บาตรสามารถสวมใส่รองเท้าและถุงเท้าได้หรือไม่ เพราะเคยได้ยินว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเรื่องการใส่รองเท้าและถุงเท้า

๒. การฟังธรรม พระภิกษุจะไม่แสดงธรรมแก่บุคคลที่ใส่รองเท้า แต่ถ้าผู้ฟังถอดรองเท้าแล้วแต่ใส่ถุงเท้าอยู่ พระภิกษุสามารถแสดงธรรมได้หรือไม่และเป็นอาบัติหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. การใส่บาตร ผู้ใส่บาตรสามารถสวมใส่รองเท้าและถุงเท้าได้หรือไม่ เพราะเคยได้ยินว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเรื่องการใส่รองเท้าและถุงเท้า


พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติในการรับอาหารของพระภิกษุ ว่า อุบาสก จะต้องไม่ใส่รองเท้า การใส่รองเท้า พระภิกษุรับไม่ได้ ไม่มีบัญญัติไว้

บัญญัติไว้ว่า ถ้าแสดงธรรม พระภิกษุห้ามแสดงกับผู้ที่ใส่รองเท้าและเขียงเท้า แต่อย่างไรก็ตาม ควรทราบประเพณีของการแสดงความเคารพในพระรัตนตรัย แม้แต่การเดินบนพระเจดีย์ ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ความเคารพก็ต้องถอดรองเท้า ไม่เดินบนพระเจดีย์โดยสวมรองเท้าอยู่ อันแสดงถึง การเคารพในพระธรรม ในพระรัตนตรัย พระภิกษุเป็นบรรพชิตโดยเพศ ท่านเป็นผู้ทรงคุณสูงกว่าคฤหัสถ์ ในเวลาเช้า ท่านเดินบิณฑบาต ตามพระวินัยบัญญัติ ท่านไม่สวมรองเท้า

เมื่อคฤหัสถ์นิมนต์ท่านเพื่อรับอาหาร นอกจากยกมือไหว้แล้ว การถอดรองเท้าก็เป็นการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง ครับ จึงควรถอดรองเท้าจะเป็นการสมควร ครับ


๒. การฟังธรรม พระภิกษุจะไม่แสดงธรรมแก่บุคคลที่ใส่รองเท้า แต่ถ้าผู้ฟังถอดรองเท้าแล้วแต่ใส่ถุงเท้าอยู่ พระภิกษุสามารถแสดงธรรมได้หรือไม่และเป็นอาบัติหรือไม่


ก็ต้องพิจารณาโดยละเอียดครับ แม้แต่ถุงเท้า ก็ชื่อว่า เป็นเครื่องรองเท้าอยู่ดี ก็ไม่พ้นจากการสวมรองเท้า หรือ เขียงเท้า ที่เป็นเครื่องรองเท้า ครับ ดังนั้นพระภิกษุ ก็ไม่ควรแสดงธรรมกับผู้ที่ใส่ถุงเท้า ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- พระภิกษุเป็นเพศบรรพชิต อันเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ เป็นเพศที่ควรแก่การเคารพสักการะบูชา ในเมื่อท่านไม่ใส่รองเท้าขณะเดินบิณฑบาต คฤหัสถ์ เวลาที่จะใส่บาตร ก็ควรที่จะถอดรองเท้าด้วย เป็นการแสดงถึงความเคารพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้าไม่ถอดรองเท้าแล้วจะเคารพไม่ได้ ก็ย่อมได้เหมือนกัน แต่ถ้าถอดรองเท้าออกแล้ว นั่นแสดงออกถึงความเคารพนอบน้อมมากยิ่งขึ้น

- พระภิกษุเมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะต้องศึกษาพระธรรมวินัย และ น้อมประพฤติในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาต และ ละเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม แม้แต่ในเรื่องของการแสดงธรรม ก็มีพระวินัยบัญญัติไว้ด้วย เช่น ถ้าภิกษุแสดงธรรมแก่คฤหัสถ์ผู้ไม่เป็นไข้ ผู้สวมรองเท้า เหยียบอยู่บนรองเท้า หรือ สวมรองเท้าหุ้มส้น เป็นอาบัติทุกกฏ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการไม่เคารพพระธรรม พระภิกษุที่เป็นผู้เข้าใจในพระวินัย ท่านก็จะไม่แสดงธรรมแก่คฤหัสถ์ผู้ที่สวมรองเท้าซึ่งก็หมายรวมถุงเท้า ด้วย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 29 ก.พ. 2555

ขอขอบคุณและอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 29 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 2 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 26 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kullawat
วันที่ 6 มิ.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ