ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

 
pirmsombat
วันที่  29 ก.พ. 2555
หมายเลข  20660
อ่าน  2,198

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 707

ปัญจกนิบาตชาดก

. มณิกุณฑลวรรค

. มณิกุณฑลชาดก

ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

[๗๐๒] พระองค์ทรงละแว่นแคว้น ม้า กุณฑล

แก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละพระราชบุตรและ

เหล่าพระสนมเสียได้ เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้น

ของพระองค์ไม่มีเหลือเลย เหตุไฉนพระองค์

จึงไม่ทรงเดือดร้อน ในคราวที่มหาชนพากัน

เศร้าโศกอยู่เล่า.

[๗๐๓] โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อนก็มี

บางทีสัตว์ย่อมละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนก็มี

ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่ในกามารมณ์

โภคสมบัติที่บริโภคกันอยู่เป็นของไม่แน่นอน

เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เดือดร้อน

ในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.

[๗๐๔ ] พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง ก็จะกลับหายสิ้นไป

พระอาทิตย์กำจัดความมืดทำโลกให้เร่าร้อนแล้วอัสดงคตไป

ดูก่อน พระองค์ผู้เป็นศัตรู

โลกธรรมทั้งหลายหม่อมฉันชนะได้แล้ว

เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก

ในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.

[๗๐๕] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้านก็ไม่ดี

บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี

พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทรงทำก็ไม่ดี

บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือนก็ไม่ดี.

[๗๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าทิศ

กษัตริย์ควรใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ

ไม่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วไม่ควรทำ

อิสริยยศ บริวารยศและเกียรติคุณ

ของพระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ

ย่อมเจริญขึ้น.

จบ มณิกุณฑลชวดกที่ ๑

อรรถกถาชาดก

ปัญจกนิบาต

อรรถกถามณิกุณฑลวรรคที่ ๑

อรรถกถามณิกุณฑลชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

อำมาตย์ชั่วผู้จัดประโยชน์ทั้งปวง ในภายในพระราชวังของพระเจ้า-

โกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ชินฺโน รฏฺฐสฺส-

มณิภุณฺฑเล จ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ส่วนใน

ชาดกนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระเจ้าพาราณสี. อำมาตย์ชั่วนำพระเจ้า-

โกศลมายึดเอากาสิกรัฐ จองจำพระเจ้าพาราณสีใส่ไว้ในเรือนจำ.

พระเจ้าพาราณสีทำฌานให้เกิดขึ้นแล้วนั่งขัดสมาธิในอากาศ. ความ

เร่าร้อนเกิดขึ้นในร่างกายของราชาผู้เป็นโจร. พระราชาโจรนั้นเข้า

ไปหาพระเจ้าพาราณสี แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระองค์ทรงละทิ้งแว่นแคว้น ม้า

กุณฑล แก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละทิ้งราชบุตร

และเหล่าสนม เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้น ของ

พระองค์ไม่มีเหลือเลย เพราะเหตุไร พระองค์

จึงไม่ทรงเดือดร้อนในคราวเศร้าโศกเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชินฺโน รฏฺฐสฺสมณิกุณฺฑเล จ

ความว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงละทิ้งแว่นแคว้น ม้า และกุณฑล

แก้วมณีทั้งหลาย. บาลีว่า รถมณิภุณฺฑเล จ ดังนี้ก็มี. บทว่า

อเสสเกสุ แปลว่า ไม่เหลือเลย.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า :-

โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อน

ก็มี บางทีสัตว์ก็ละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้น

ไปก่อนก็มี ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่ในกาม

โภคสมบัติที่บริโภคกันอยู่เป็นของไม่แน่นอน

เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เดือดร้อนใน

คราวที่ควรเศร้าโศก.

พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง และจะหาย

ไป อนึ่ง พระอาทิตย์กำจัดความมืด ทำโลก

ให้เร่าร้อน แล้วอัสดงคตไป ฉันใด โภค-

สมบัติทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและพินาศไป ฉัน

นั้น ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้ง

หลายหม่อมฉันชนะแล้วเพราะฉะนั้น หม่อม

ฉันจึงไม่เศร้าโศกในคราวที่ควรเศร้าโศก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพว มจฺจํ ความว่า โภคะ

ทั้งหลายย่อมละสัตว์ไปในเบื้องต้น คือก่อนทีเดียวบ้าง สัตว์ย่อมละ

โภคะเหล่านั้นไปก่อนกว่าบ้าง. พระโพธิสัตว์เรียกพระราชาที่เป็นโจร

ปล้นราชสมบัติว่า กามกามิ. อธิบายว่า ดูก่อนพระองค์ผู้ใคร่กาม

ทั้งหลาย ชื่อว่ากามกามิ ธรรมดาคนผู้มีโภคสมบัติเป็นผู้ไม่แน่นอน

ในโลก คือ เมื่อโภคสมบัติทั้งหลายฉิบหายไปแล้ว ถึงจะมีชีวิตอยู่

ก็เป็นผู้ไม่มีโภคสมบัติ หรือตนละทิ้งโภคสมบัติฉิบหายไปเอง เพราะ

ฉะนั้นหม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก แม้ในคราวเศร้าโศกของมหาชน.

พระโพธิสัตว์เรียกราชาโจรด้วยคำว่า ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลก-

ธรรมทั้งหลายหม่อมฉันชนะแล้ว ดังนี้. อธิบายว่า ดูก่อนพระองค์

ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายมีอาทิว่า มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อม

ยศ ดังนี้ หม่อมฉันชนะแล้ว เหมือนอย่างว่าพระจันทร์อุทัยขึ้น

เต็มดวง และกลับสิ้นไป ฉันใด และเหมือนพระอาทิตย์ขจัดความมืด

ทำภูมิภาคของโลกอันใหญ่โตให้ร้อน แล้วกลับถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ คือ

อัสดงคตไปไม่ปรากฏในตอนเย็น ฉันใด โภคสมบัติทั้งหลายก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นและย่อมฉิบหายไป จะประโยชน์อะไร ด้วย

การเศร้าโศกในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้นหม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่พระราชาผู้เป็นโจรอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะติเตียนพระราชาโจรนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวว่า :-

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เกียจคร้านไม่ดี

บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี พระราชาไม่ทรง

ใคร่ครวญแล้วกระทำ ไม่ดี การเป็นบัณฑิต

ขี้โกรธก็ไม่ดี.

ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ กษัตริย์พึงใคร่

ครวญก่อนแล้วจึงกระทำ ยังมิได้ใคร่ครวญ

แล้วไม่ควรทำ ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่

พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญแล้วทำ.

ก็คาถาทั้งสองนี้ ได้พรรณาให้พิสดารในหนหลังแล้วแล.

พระราชาโจรขอษมาพระโพธิสัตว์แล้ว มอบราชสมบัติให้ทรง

รับไว้แล้ว เสด็จไปยังชนบทของพระองค์เอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า พระเจ้าโกศลในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ในบัดนี้

ส่วนพระเจ้าพาราณสี ในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามณิกุณฑลชาดกที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 29 ก.พ. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 29 ก.พ. 2555

โลกธรรม ๘ ได้แก่ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสรญ สุข

และทุกข์ เป็นเรื่องของโลก เป็นธรรมดาเป็นของคู่กับโลก เมื่อมีลาภ ก็ต้องมีเสื่อม

ลาภ มียศ ก็มีเสื่อมยศ มีนินทา ก็มีสรรเสริญ มีสุข ก็ต้องมีทุกข์ สิ่งเหล่านี้ย่อม

เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง จึงยินดียินร้ายไป

ตามโลกธรรม ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนั้น ย่อมไม่ยินดียินร้ายเมื่อประสบกับ

โลกธรรม ๘ เหล่านี้ เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าโลกธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับตน

ย่อมแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ จึงไม่โศกเศร้า

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

โลกธรรม ๘ ประการ [โลกธรรมสูตร]

....ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอเพิ่ม ด้วยค่ะ...

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 29 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอและพี่วีรยุทธด้วยครับ


 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 มี.ค. 2555

ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม..ขณะที่หวั่นไหวเป็นอกุศลจิต.ติดข้องเดือดร้อนและเศร้าโศก โลกธรรมเป็นสิ่งไม่เที่ยง..หวั่นไหวในโลกธรรมคือ หวั่นไหวในสิ่งที่ไม่เที่ยง จึงนำมาซึ่งทุกข์...

เชิญคลิกอ่าน....
เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เช่นเรื่องของ โลกธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pirmsombat
วันที่ 1 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณเมตตาและคุณเซจาน้อย และ ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 1 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ