พึงทำเกาะที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 342
………………………..
พวกภิกษุชมพระจูฬปันถก
อีกวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า "ผู้มีอายุ
พระจูฬปันถก แม้ไม่สามารถจะเรียนคาถา ๔ บท โดย ๔ เดือนได้
ก็ไม่สละความเพียร ตั้งอยู่ในอรหัตแล้ว, บัดนี้ได้เป็นเจ้าของทรัพย์
คือโลกุตรธรรมแล้ว."
พระศาสดาสอนให้ทำที่พึ่งด้วยธรรม ๔ ประการ
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย
เรื่องชื่อนี้ (พระเจ้าข้า) ," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนา
ของเรา ปรารภความเพียรแล้ว ย่อมเป็นเจ้าของแห่งโลกุตรธรรมได้เที่ยว"
ดังนี้แล้ว ตรัสคาถานี้ว่า
๓. อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.
" ผู้มีปัญญา พึงทำเกาะ (ที่พึ่ง) ที่ห้วงน้ำ
ท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ด้วยความไม่
ประมาท ด้วยความระวัง และด้วยความฝึก. "
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีปํ กยิราถ ความว่า ผู้มีปัญญา
ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม พึงทำ คือพึงกระทำ
ได้แก่อาจทำ เกาะ คืออรหัตตผล อันเป็นที่พึ่งพำนักของตนในสาครคือ
สงสารอันลึกยิ่ง โดยความเป็นที่พึ่งอันได้ยากยิ่งนี้
ด้วยธรรมอันเป็นเหตุ๔ ประการเหล่านี้ คือ;
ด้วยความหมั่น กล่าวคือ
ความเพียร ๑
ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือ
การไม่อยู่ปราศจากสติ ๑
ด้วยความระวัง กล่าวคือ
ปาริสุทธิศีลสี่ ๑
ด้วย
ความฝึกอินทรีย์ ๑.
ถามว่า "พึงทำเกาะเช่นไร?"
แก้ว่า "พึงทำเกาะที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้." อธิบายว่า พึงทำ
เกาะที่ห้วงน้ำ คือ กิเลสทั้ง ๔ อย่าง ไม่สามารถจะท่วมพัดคือกำจัดได้;
แท้จริง พระอรหัต อันโอฆะไม่สามารถจะท่วมทับได้เลย.
ในเวลาจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มีพระ-
โสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว
ดังนี้แล.
เรื่องพระจูฬปันถกเถระ จบ.