รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้

 
pirmsombat
วันที่  8 มี.ค. 2555
หมายเลข  20730
อ่าน  2,410

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 408

อยากสึกจนซูบผอม

ท่านคิดว่า "โอ ! กรรมนี้หนัก; เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวช,

แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเรา ไม่ปรากฏ, เรา

ดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์

(ดีกว่า) ." ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหม-

จรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ ๓๒, ไม่เรียนอุเทศ ผอม ซูบซีด

มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่น

แล้วด้วยหิดเปื่อย.

ลำดับนั้น พวกภิกษุหนุ่มและสามเณร ถามท่านว่า " ผู้มีอายุ

ทำไม? ท่านจึงยืนแฉะอยู่ในที่ยืนแล้ว นั่งแฉะในที่นั่งแล้ว ถูกโรค

ผอมเหลืองครอบงำ ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ถูกความ

เกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย, ท่านทำกรรม

อะไรเล่า?"

ภิกษุ. ผู้มีอายุ ผมเป็นผู้กระสัน.

ภิกษุหนุ่มและสามเณร. เพราะเหตุไร?

ภิกษุนั้น บอกพฤติการณ์นั้นแล้ว, ภิกษุหนุ่มและสามเณรเหล่านั้น

บอกแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านแล้ว. พระอาจารย์และพระ-

อุปัชฌาย์ ได้พากันไปยังสำนักพระศาสดา.

รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้

พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน?"

อาจารย์และอุปัชฌาย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระสันใน

ศาสนาของพระองค์.

พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ? ภิกษุ.

ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เพราะเหตุไร?

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะ) ข้าพระองค์ใคร่จะพ้น

จากทุกข์ จึงได้บวช, พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้น กล่าวอภิธรรมกถา,

พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา. ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า ' ใน

พระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์

ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์' ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น,

กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.

ภิกษุ. อะไร? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม?

ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ประทานพระโอวาทนี้ว่า

" ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิตของตนไว้,

เธออาจพ้นจากทุกข์ได้"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้

. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.

"ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก

ละเอียดยิ่งนัก มันตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,

(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทุทฺทสํ ได้แก่ ยากที่จะเห็นได้

ด้วยดี. บทว่า สุนิปุณํ ละเอียดที่สุด ได้แก่ ละเอียดอย่างยิ่ง.

บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาตินํ ความว่า มักไม่พิจารณา

ดูฐานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น ตกไปในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ

ที่พึงได้หรือไม่พึงได้ สมควรหรือไม่สมควร.

บาทพระคาถาว่า จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี ความว่า คนอันธพาล

มีปัญญาทราม ชื่อว่า สามารถรักษาจิตของตนไว้ได้ ย่อมไม่มี. เขา

เป็นผู้เป็นไปในอำนาจจิต ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย:

ส่วนผู้มีปัญญาคือเป็นบัณฑิตเทียว

ย่อมอาจรักษาจิตไว้ได้. เพราะเหตุนั้น

แม้เธอจงคุ้มครองจิตไว้ให้ได้;

เพราะว่า จิต ที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้

คือย่อมนำมาซึ่งสุขอันเกิดแต่มรรคผลและนิพพาน ดังนี้.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ชนแม้

เหล่าอื่นเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น. เทศนา

ได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ จบ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 9 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 9 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
aurasa
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ