ชาติในปฏิจจสมุปบาท

 
gboy
วันที่  9 มี.ค. 2555
หมายเลข  20741
อ่าน  5,566

จากพระธาตุกถา

ชาติในปฏิจจสมุปบาท มีรูปชาติสงเคราะห์ในรูปขันธ์ และอรูปชาติสงเคราะห์ในสังขารขันธ์ เรียนถามว่า รูปชาติหมายถึงรูปอุปจยะใช่หรือไม่ครับ ส่วนอรูปชาติ หมายถึงเจตสิกใดครับ

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็จะต้องเข้าใจ คำว่า ปฏิจจสมุปบาท ก่อนครับ ว่าคืออะไร

ปฏิจจสมุปบาท เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นด้วยดี คือเป็นไปตามลำดับโดยอาศัยปัจจัย หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลที่ทำให้เกิดสังสารวัฏฏ์ เป็นการแสดงเรื่องของ ปัจจัย (เหตุ) และปัจจยุบบัน (ผล) อีกนัยหนึ่ง ซึ่งต่างจากนัยของปัฏฐาน ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ คือ ...

๑. อวิชชา ๒. สังขาร ๓. วิญญาณ ๔. นามรูป ๕. สฬายตนะ ๖. ผัสสะ ๗. เวทนา ๘. ตัณหา ๙. อุปาทาน ๑๐. ภพ ๑๑. ชาติ ๑๒. ชรา มรณ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ความเป็นปัจจัยของปฏิจจสมุปบาท คือ ...

๐๑. อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

๐๒. สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

๐๓. วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป

๐๔. นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ

๐๕. สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

๐๖. ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

๐๗. เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา

๐๘. ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน

๐๙. อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

๑๐. ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

๑๑.ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


ซึ่งจากคำถามที่ว่า

ชาติในปฏิจจสมุปบาท มีรูปชาติสงเคราะห์ในรูปขันธ์ และอรูปชาติสงเคราะห์ในสังขารขันธ์เรียนถามว่า รูปชาติหมายถึงรูปอุปจยะใช่หรือไม่ครับ ส่วนอรูปชาติหมายถึงเจตสิกใดครับ


- ชาติ ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ชาติไทย ชาติจีน แต่หมายถึง สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ที่เป็นการเกิด ดังนั้น ชาติในที่นี้ มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เกิดขึ้น อันเป็นการเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ ที่เป็น รูปขันธ์ และนามขันธ์

- รูป มุ่งหมายถึง รูปที่เป็นกัมมชรูป ขณะที่เกิดขึ้น

ส่วนนามขันธ์ ที่เป็นชาติ คือการเกิดขึ้น ของนาม หมายถึง วิบาก จิตและเจตสิก ซึ่ง ภพที่เป็น คือ กัมมภพ ที่เป็นกุศลกรรม และ อกุศลกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ คือ วิบากจิต เจตสิก ที่เป็นนามขันธ์ ในขณะนั้น และรูปที่เป็น กัมมชรูป จึงชื่อว่า ชาติในขณะนั้น ครับ

สรุปได้ว่า ชาติในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงการเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่เป็นขันธ์ ๕ ที่เป็น นามธรรม คือ วิบากจิตและเจตสิก ไม่ใช่เพียงสังขารขันธ์ และ รูปที่เป็นกัมมชรูป

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aurasa
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
homenumber5
วันที่ 10 มี.ค. 2555

เรียนท่านวิทยากร

ขอถามว่า

๑. กรุณาอธิบาย เรื่องชาติเชื่อมโยงกับ เรื่อง อตีตภวังค์ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 10 มี.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

ถ้าเป็นเรื่อง ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทนั้น ก็ต้องเข้าใจครับว่า อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ ภพในที่นี้ มุ่งหมายถึง กัมมภพ ที่เป็น กรรม ที่เป็นกุศลกรรม และ อกุศลกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติในที่นี้ จึงมุ่งหมายถึง วิบากจิตและเจตสิก ที่เป็นปฏิสนธิจิตนั่นเองครับ และเจตสิกชาติวิบากที่เกิดร่วมด้วย ที่เป็นขณะแรก และรวมถึงรูปที่เกิดร่วมด้วยในขณะแรกของปฏิสนธิจิต ที่เป็นกัมมชรูป

ดังนั้น ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท จึงไม่ได้มุ่งหมายถึง อตีตภวังค์ ครับ แต่หมายถึง ปฏิสนธิจิต และเจตสิกที่เกิด ร่วมด้วยในขณะแรก ครับ

แต่ ถ้าความหมายของชาติ โดยทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ชาติ หมายถึง การเกิดขึ้นของสภาพธรรม อตีตภวังค์ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งที่จะต้องเกิดขึ้นและดับไป ดังนั้น อตีตภวังค์ จึงต้องมีการเกิดขึ้น ขณะที่เกิดขึ้น ชื่อว่า ชาติ เกิดแล้ว ในขณะนั้นนั่นเองครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงการเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่เป็นขันธ์ ๕ ที่เป็น นามธรรม คือ วิบากจิตและเจตสิก ไม่ใช่เพียงสังขารขันธ์ และ รูปที่เป็นกัมมชรูป

แต่ ถ้าความหมายของชาติ โดยทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท

ชาติ หมายถึง การเกิดขึ้นของสภาพธรรม อตีตภวังค์ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งที่จะต้องเกิดขึ้นและดับไป

ดังนั้น อตีตภวังค์ จึงต้องมีการเกิดขึ้น ขณะที่เกิดขึ้น ชื่อว่า ชาติ เกิดแล้ว ในขณะนั้นนั่นเองครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.ผเดิมและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก แม้แต่คำๆ เดียว ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ในที่นั้น มุ่งหมายถึงอะไร แม้แต่คำว่า ชาติ คำเดียว ถ้ากล่าวถึงจิต (และเจตสิก) แล้ว ก็ต้องหมายถึงการเกิดขึ้น ว่าทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน ๔ (ชาติ ในที่นี้ หมายถึง การเกิดขึ้น) กล่าวคือ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก และ เป็นกิริยา ซึ่งเมื่อกล่าวถึงจิตแล้ว ก็กล่าวถึงเจตสิกด้วย เมื่อจิตเป็นอกุศลชาติ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทั้งหมดก็เป็นอกุศลชาติ เมื่อจิตเกิดขึ้นเป็นกุศล เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ก็เป็นกุศลชาติ เมื่อจิตเกิดขึ้นเป็นวิบาก เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นวิบากชาติ อย่างเช่น ปฏิสนธิจิต กับ ภวังคจิต เป็นวิบากชาติ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ต้องเป็นวิบากชาติ เช่นเดียวกัน และเมื่อจิตเกิดขึ้นเป็นกิริยา เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นกิริยาชาติ

ดังนั้น ถ้ากล่าวถึง ชาติของจิต แล้ว จะไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของรูปธรรม เลย มุ่งหมายถึงเฉพาะการเกิดขึ้นของนามธรรม คือ จิตและเจตสิก เท่านั้น

แต่ถ้าเป็นชาติในปฏิจจสมุปบาท แล้ว ต้องหมายถึงการเกิดขึ้นของวิบากจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) และ กัมมชรูป ในขณะแห่งปฏิสนธิจิต ซึ่งก็คือ อุปัตติภพ อันเป็นผลมาจากกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมซึ่งเป็นกรรมภพ นั่นเอง

ดังนั้น ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ทั้งนามชาติ (คือ การเกิดขึ้นของปฏิสนธิจิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) และ ทั้งรูปชาติ คือ การเกิดขึ้นของรูปธรรม ที่เป็นกรรมชรูป ด้วย [เจตสิกที่เกิดร่วมกับปฏิสนธิจิต นั้น มีทั้งสัญญาเจตสิก (สัญญาขันธ์) เวทนาเจตสิก (เวทนาขันธ์) พร้อมทั้งเจตสิกอื่นๆ ที่เป็นสังขารขันธ์] ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
homenumber5
วันที่ 11 มี.ค. 2555
ขออนุโมทนาที่ให้ความกระจ่างยิ่งขึ้นค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 12 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 13 มี.ค. 2555

ในโลกนี้ย่อแล้ว มีแต่นามธรรม และ รูปธรรม

อะไรที่ไม่ใช่สภาพรู้ ธาตุรู้ ทั้งหมด เป็นรูปธรรม

ส่วน จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้

รูปชาติ หมายถึง การเกิดขึ้นครั้งแรกของรูป

ส่วน อรูปชาติ หมายถึง นามธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 14 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ