พระติสสเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ปรารภความเพียร

 
pirmsombat
วันที่  10 มี.ค. 2555
หมายเลข  20744
อ่าน  17,064

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 382

. เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม [๒๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ

ผู้มีปกติอยู่ในนิคม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาทรโต" เป็นต้น.

พระเถระเที่ยวรับบิณฑบาตแต่ในบ้านญาติ

ความพิสดารว่า กุลบุตรคนหนึ่ง เกิดเติบโตในบ้านที่ตั้งอยู่ในนิคม

แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี บรรพชาแล้วได้อุปสมบทในศาสนา

ของพระศาสดาแล้ว ปรากฏว่า " ชื่อว่า พระนิคมติสสเถระเป็นผู้มักน้อย

สันโดษ สงัด ปรารภความเพียร." ท่านเที่ยวบิณฑบาตเฉพาะในบ้าน

ของญาติเป็นนิตย์. เมื่อคนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ทำ

มหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี, *

ก็ไม่มากรุงสาวัตถี.

พวกภิกษุจึงสนทนากันว่า " พระนิคมติสสะนี้ ลุกขึ้นเสร็จสรรพแล้ว

ก็คลุกคลีด้วยญาติอยู่ เมื่อชนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น

ทำมหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,

เธอไม่มาเลย ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระเถระได้รับสาธุการจากพระศาสดา

พระศาสดา รับสั่งให้เรียกท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

๑. ทานอันไม่มีทานอื่นเสมอ.

ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้น จริงหรือ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ไม่มีความคลุกคลีด้วยญาติ, ข้าพระองค์

อาศัยพวกมนุษย์ที่เป็นญาติเหล่านั้น ย่อมได้อาหารที่พอจะกลืนกินได้,

ข้าพระองค์คิดว่า

' เมื่อเราได้อาหารที่เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม

ซึ่งพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แล้ว,

ประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาอาหารอีกเล่า?'

ดังนี้แล้ว จึงไม่มา, ก็ชื่อว่า ความคลุกคลีด้วยหมู่ญาติไม่มี

แก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า" แม้ตามปกติ (พระองค์) ก็ทรงทราบ

อัธยาศัยของท่านอยู่ จึงประทานสาธุการว่า

ดีละๆ ภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

" ภิกษุ ก็ข้อที่เธอได้อาจารย์ผู้เช่นเราแล้ว ได้เป็นผู้มักน้อย

ไม่อัศจรรย์นัก, เพราะว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้มักน้อยนี้

เป็นแบบแผนของเรา เป็นประเพณีของเรา"

ดังนี้แล้ว อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนาแล้ว

ทรงนำอดีตนิทานมาว่า

เรื่องนกเขาแต้ว

ในอดีตกาล นกแขกเค้าหลายพันตัว อยู่ในป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่ง

ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคาในป่าหิมพานต์ บรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น

พระยานกแขกเต้าตัวหนึ่ง เมื่อผลแห่งต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่สิ้นแล้ว

จิกกินหน่อใบหรือเปลือกซึ่งยังเหลืออยู่ ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา

เป็นสัตว์ที่มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง สันโดษ ไม่ไปในที่อื่น

ด้วยคุณคือความปรารถนาน้อยและสันโดษของพระยานกแขกเต้านั้น

ภพของท้าวสักกะไหวแล้ว.

ท้าวสักกะทรงทดลองพระยานกแขกเต้า

ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว ทรง (บันดาล)

ให้ต้นไม้นั้นเหี่ยวแห้งด้วยอานุภาพของตน เพื่อจะทดลองพระยานก

แขกเต้านั้น ต้นไม้หักแล้ว เหลืออยู่สักว่าตอเท่านั้น เป็นช่องน้อย

และช่องใหญ่ (ปรุหมด) . เมื่อลมโกรกมา (กระทบ) ได้เปล่งเสียง

ดุจถูกบุคคลเคาะ ตั้งอยู่แล้ว ขุยทั้งหลายปลิวออกจากช่องของ

ต้นไม้นั้น. พระยานกแขกเต้าจิกกินขุยเหล่านั้น แล้วดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา

ไม่ไปในที่อื่น ไม่พรั่นพรึงลมและแดด จับอยู่ที่ปลายตอมะเดื่อ.

ท้าวสักกะทรงทราบความที่พระยานกแขกเต้านั้น มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง

ทรงดำริว่า " เราจักให้พระยานกแขกเต้านั้น กล่าวคุณแห่งมิตรธรรม

แล้วให้พรแก่นกนั้น ทำ (บันดาล) ต้นมะเดื่อให้มีผลไม่วายแล้ว"

ดังนี้แล้ว (นิรมิต) พระองค์เป็นพระยาหงส์ตัวหนึ่ง นำนางอสุรกัญญา

นามว่าสุชาดาไว้ข้างหน้า เสด็จไปป่ามะเดื่อนั้น จับที่กิ่งแห่งต้นไม้ต้นหนึ่ง

ในที่ไม่ไกล เมื่อจะตรัสสนทนากับพระยานกแขกเต้านั้น ตรัสคาถานี้ว่า

" พฤกษามีใบสดเขียวมีอยู่, หมู่ไม้มีผลหลาก

หลาย ก็มีมาก, เหตุไรหนอ? ใจของนกแขกเต้า

จึงยินดีแล้วในไม้แห้งที่ผุ."

สุวชาดกทั้งหมด บัณฑิตพึงให้พิสดาร ตามนัยที่มาแล้วในนวกนิบาต๑

นั่นและ; แต่ความเกิดขึ้นแห่งเรื่องเท่านั้น ในนวกนิบาตและในที่นี้ต่างกัน

ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้น.

ภิกษุควรปรารถนาน้อยและสันโดษ

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

"ท้าวสักกะ ในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์, พระยานกแขกเต้าได้เป็น

เราเอง" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ความ

เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยนี่ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของเรา ข้อที่

ติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม บุตรของเรา ได้อาจารย์เช่นเราแล้วเป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อย ไม่น่าอัศจรรย์; ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้มีความมักน้อย

เหมือนติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม; เพราะว่า ภิกษุเห็นปานนั้น เป็นผู้ไม่

ควรเสื่อมจากมรรคและผล, ย่อมอยู่ในที่ใกล้แห่งพระนิพพานโดยแท้

ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปนาเท ภยทสฺสิ วา

อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.

"ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท

มีปกติเห็นภัยในความประมาท

ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จากมรรคและผล)

ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระนิพพานทีเดียว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อภพฺโพ ปริหานาย

ความว่า ภิกษุผู้เห็นปานนั้นๆ ไม่ควรเพื่ออันเสื่อมจากธรรมคือสมถะ

และวิปัสสนา หรือจากมรรคและผล คือจะเสื่อมเสียจากคุณธรรมที่ตน

บรรลุแล้ว แม้หามิได้ จะไม่บรรลุคุณธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุก็หามิได้.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ความว่า ตั้งอยู่ใน

ที่ใกล้ทีเดียวแห่งกิเลสปรินิพพาน (การดับกิเลส) บ้าง อนุปาทา-

ปรินิพพาน (การดับด้วยหาเชื้อมิได้) บ้าง.

ในกาลจบพระคาถา พระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก

ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น. เทศนามีผลมากแก่มหาชน

ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม จบ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เซจาน้อย
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตวิริยะของคุณหมอด้วยครับ


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 10 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 11 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 11 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณ และ อนุโมทนาคุณเซจาน้อยและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jaturong
วันที่ 13 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ