ว่าด้วยการเกิด

 
gboy
วันที่  17 มี.ค. 2555
หมายเลข  20800
อ่าน  1,385

จากพระวิภังค์ ภาคที่ ๑

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกันแต่ดับต่างขณะกัน กรรมชรูปตั้งขึ้นในอุปาทขณะของปฏิสนธิจิต ย่อมดับในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ทีเดียว.
กรรมชรูปทั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นั่นแหละ ...

ว่าด้วยการเกิดต่างขณะดับขณะเดียวกัน กรรมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ย่อมดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ จำเดิมแต่ปฏิสนธินั้น. กรรมชรูปที่เกิดในฐีติขณะของปฏิสนธิจิต ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจิตดวงที่ ๑๘ ...

จากข้อความข้างต้น ขอเรียนถามว่า

รูปมีอายุเท่ากับจิตกี่ดวงครับ ทำไมจึงพรรณนาไว้ไม่เหมือนกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 18 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

รูปเกิดดับเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่ง จิตก็มีอนุขณะย่อย อีก ๓ คือ อุปาทะ ฐิติ และภังคะ ขณะ เป็นอันว่า รูปเท่ากับจิตเกิดดับ ๕๑ อนุขณะย่อย ครับ

ซึ่งข้อความที่ยกมา แสดงถึง กัมมชรูป ซึ่ง กัมมชรูปเกิดที่อุปทาขณะของปฏิสนธิจิตและเกิดทุกๆ อนุขณะของจิตได้ ดังนั้น หากเกิดที่อนุขณะแรก ของปฏิสนธิจิต ก็ต้องดับที่จิตดวงที่ ๑๗ ที่เป็นภังคขณะ ครบ ๕๑ อนุขณะย่อย แต่หากเกิดที่ ขณะที่เป็นฐีติขณะในปฏิสนธิจิต การจะดับของรูปก็ต้องครบ ๕๑ อนุขณะ จึงดับที่ จิตดวงที่ ๑๘ ที่เป็นอุปทาขณะ ซึ่งก็ครบ ๕๑ อนุขณะอีกเช่นกัน ดังนั้น การเกิดดับของรูปก็เท่ากับ ๑๗ ขณะจิต อนุขณะย่อย ๕๑ ขณะ

ดังนั้น การนับอายุของรูปก็ต้องดูว่าเกิดในขณะไหน ในอนุขณะย่อย ครับ ซึ่ง ไม่ว่าอย่างไร รูปก็เกิดดับ ๑๗ ขณะจิต และ อนุขณะย่อย ๕๑ ขณะ

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์วิชัย ที่อธิบายให้เข้าใจครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
gboy
วันที่ 18 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณครับ

แสดงว่าข้อความข้างต้น ที่กล่าวว่ากรรมชรูปตั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นั่นแหละ. ไม่ถูกต้องไช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 18 มี.ค. 2555

ที่เราคิดว่าเป็นรูปธรรมเกิดดับ ๑๗ ขณะของจิต หรือ ๕๑ อนุขณะ แต่จริงๆ สั้นแสนสั้น เปรียบเหมือน กระพริบตา นามธรรม และ รูปธรรม เกิดดับเร็วกว่านั้นอีกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 19 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน รูปธรรม มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องวัดอายุของรูปได้ นอกจากการเกิดขึ้นและดับไปของจิต จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ (หรือ ๕๑ อนุขณะ ซึ่งเป็นขณะย่อย) รูปๆ หนึ่งจึงดับ แม้อย่างนั้นก็สั้นแสนสั้น ไม่ว่าจะเป็น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น เมื่อเกิดขึ้น ก็มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะทั้งนั้น ความจริงเป็นอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้นไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงได้ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ