พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องการฝึกจิตในธรรมบท

 
ทรง
วันที่  23 มี.ค. 2555
หมายเลข  20853
อ่าน  3,801

พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องการฝึกจิตในธรรมบทเรื่องใดบ้าง ฝึกอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นๆ เป็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับเรื่องการฝึกจิตในธรรมบท ขอยกในเรื่อง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งซึ่งเรื่องราวพอสังเขปมีดังนี้ครับ

พระภิกษุรูปหนึ่งยังป็นปุถุชน มีอุบาสิกาที่เป็นพระอนาคามีคอยอุปัฏฐากท่าน อุบาสิกาผู้นี้รู้จิต เมื่อพระภิกษุรูปนั้นถามว่า รู้จิตผู้อื่นไหม ท่านก็ไม่กล้าตอบโดยตรง ภิกษุรูปนั้นเข้าใจได้ว่าอุบาสิกาที่อุปัฏฐากเรารู้จิตจึงละอาย เพราะกลัวความคิดของตนจะล่วงรู้ถึงอุบาสิกา จึงหนีจากที่นั้นมาเข้าเฝ้าพระศาสดา พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับภิกษุรูปนั้นว่า เธอสามารถรักษา สิ่งหนึ่งได้ไหม นั่นคือ รักษาจิตเพียงอย่างเดียว เมื่อภิกษุรูปนั้น รับว่าได้ พระพุทธเจ้าตรัสพระคาถาเรื่องการฝึกจิตว่า

การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว

มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี

(เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

ท่านก็ตามรักษาจิตด้วยปัญญา ไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ครับ ซึ่งจิตที่สะสมกิเลสมามาก ก็มักไหลไปสู่ที่ต่ำคือกิเลสได้ง่าย อันข่มได้ยาก ถ้าไม่มีปัญญา มักติดข้องในอารมณ์ที่ดี มีรูป เสียง เป็นต้นที่น่าพอใจ การรักษาจิตด้วยปัญญา คือรู้ความจริงของสภาพธรรมว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งที่ดี จิตที่ฝึกดีแล้วคือ ฝึกด้วยปัญญา ย่อมนำความสุขมาให้ คือ ไม่ต้องทุกข์เพราะกิเลส เพราะดับกิเลสที่สะสมมาในจิตได้หมดสิ้น มีความสุขอันเกิดจากมรรคและผล และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นทุกข์อีกต่อไปครับ

ฝึกอย่างไร

ไม่มีเรา หรือ ตัวตนที่จะฝึกครับ แต่มีแต่สภาพธรรมที่เป็นปัญญาที่เกิดขึ้น ทำหน้าที่ฝึกให้จิตปราศจากกิเลส ให้ละกิเลสในขณะนั้นซึ่งอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ขณะที่เข้าใจ ก็ชื่อว่าฝึกแล้วในขณะนั้นครับ จนปัญญาท่านมาก ในที่สุด ผลของการฝึกด้วยปัญญา ก็ทำให้ท่านบรรลุมรรคผลดับกิเลสได้ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตราบใดที่ยังมีกิเลส ยังไม่ได้ดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ย่อมมีปัจจัยให้เกิดอกุศลจิตขึ้นได้ ในขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้นนั้น กิเลสก็เกิดพร้อมกับอกุศลจิตในขณะนั้น เพราะจิตเป็นอกุศลได้ ก็เพราะประกอบด้วยเจตสิกที่ไม่ดี อันได้แก่กิเลสประการต่างๆ มีโลภะ เป็นต้น โดยไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลเลย มีแต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่เท่านั้น, ขณะที่อกุศลจิตเกิด ขณะนั้นกุศลจิตไม่เกิด ปัญญาไม่เกิด ไม่ยอมปล่อยให้จิตเป็นกุศลเลย และอกุศลจิตก็เกิดมากด้วยในชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา เห็นประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ก็จะทำให้จากที่เคยเป็นผู้มีอกุศลมาก จากที่เป็นอกุศลบ่อยๆ เนืองๆ กาย วาจา ใจ เป็นไปกับอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็จะค่อยๆ น้อมไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น เห็นประโยชน์ของกุศลธรรมมากยิ่งขึ้น ขัดเกลากิเลสมากขึ้น ได้รับการฝึกด้วยพระธรรมมากยิ่งขึ้น ก็จะสามารถดำเนินไปถึงการดับกิเลสตามลำดับขั้นได้ ซึ่งก็คือ การฝึกจิต นั่นเอง จากที่เป็นอกุศล แล้วค่อยๆ มีกุศลจิตเกิดขึ้น โดยที่ไม่มีตัวตนที่ฝึก ซึ่งจะต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญาให้มากขึ้น ฟังพระธรรมให้เข้าใจ เมื่อปัญญาเจริญขึ้นไปตามลำดับ ก็ย่อมจะอุปการะเกื้อกูลให้ธรรมฝ่ายดีค่อยๆ เจริญขึ้นด้วย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kinder
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ในธรรมบทแสดงไว้ว่า สามเณรบิณฑบาตกับท่านพระสารีบุตร ระหว่างทางเห็นคนดัดศรให้ตรง เห็นคนไขน้ำไหลเข้านา ก็เลยถามท่านพระสารีบุตรว่า สิ่งเหล่านี้สามารถฝึกได้ ทำให้ตรงได้หรือ ท่านพระสารีบุตรตอบว่าฝึกได้ สามเณรคิดว่าสิ่งไม่มีชีวิตยังฝึกได้ สามเณรจึงกลับไปพิจารณาธรรม ภายหลังสามเณรได้บรรรลุเป็นพระอรหันต์ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nong
วันที่ 25 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 27 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
บริสุทธิ์
วันที่ 7 มิ.ย. 2555

แล้วทำอย่างไรจึงจะลดหรือดับกิเลสได้ละครับ เพราะความอยากทั้งหลายเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การขจัดธรรมชาติดั้งเดิมให้พ้นไปจากมนุษย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ควรจะมีวิธีการจัดการหรือควบคุมกิเลสเหล่านั้น ซึ่งต้องทำอย่างไร เพราะดับกิเลสไม่ได้ ปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น ควรทำอย่างไร จึงจะดับกิเลสได้ และปัญญาเกิด

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ