จิตเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้อย่างไร

 
rojer
วันที่  12 เม.ย. 2555
หมายเลข  20955
อ่าน  3,751

เคยฟังท่าน อ.บอกว่า สติสามารถระลึกรู้ สภาพรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น และกายได้ก็คือ จิตเห็น จิตได้ยิน ลิ้มรส กระทบสัมผัส สามารถเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ ผมเลยสังสัยว่า

ก็ในขณะที่รูปปรากฏเป็นอารมณ์ ของจิต ทั้งปัญจทวาร และมโนทวารสืบต่อกันเลย แล้วสติปัฏฐานจะเกิดระลึกที่สภาพรู้ คือ จิตเห็น ได้อย่างไรครับ

เพราะในขณะนั้นทั้งปัญจทวารและมโนทวาร ต่างก็มีรูปเป็นอารมณ์เหมือนกัน สมมติว่า มีสีเกิดขึ้น ทางจักขุทวารวิถี สีนั้นก็จะเป็นอารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นทั้งทางปัญจทวารและมโนทวารสืบต่อกัน มีภวังค์คั่น ถ้าสติปัฏฐานเกิด ก็ต้องระลึกถึงสีนั้น

ไม่ใช่ระลึกที่ จิตเห็น


แล้วถ้าสติระลึกรู้ที่ จิตเห็น ก็ต้องระลึกได้ตั้งแต่ ชวนวิถีทางปัญจทวาร และชวนวิถีทางมโนทวารก็ระลึกต่อจากปัญจทวาร อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ

หรือว่า ชวนวิถีทางปัญจทวาร มี " สี " เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน แต่ชวนวิถีทางมโนทวารมี "จิตเห็น" เป็นอารมณ์ มันก็ขัดกันสิครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นคำถามที่ดี เป็นประโยชน์กับการเจริญสติปัฏฐานครับ

สติปัฏฐาน คือ สติที่ระลึกรู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งต้องมีสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์ คือ จิต เจตสิกและรูป เป็นอารมณ์ ดังนั้น สติปัฏฐาน มี จิตเป็นอารมณ์ก็ได้ มีรูป เป็นอารมณ์ก็ได้ ซึ่งสำหรับ วิถีจิตทางปัญจทวาร ต้องมีรูปเป็นอารมณ์ ชวนจิตทางปัญจทวารก็ต้องมีรูปเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ชวนจิตที่เป็นกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน ก็ต้องมีรูป เป็นอารมณ์เท่านั้น เช่น ทางตา เมื่อเป็นทางปัญจทวาร สติปัฏฐานก็ต้องระลึกที่ สีเท่านั้น ไม่สามารถรู้ จิตเห็นทางปัญจทวารได้ เพราะ ชวนจิตทางปัญจทวาร ขณะนั้นมี รูป คือ สีเป็นอารมณ์ครับ และมโนทวาร วาระแรกก็มี สีเป็นอารมณ์ ชวนจิตทางปัญจทวาร ที่สติปัฏฐานเกิดก็ต้องมีรูป คือ สีเป็นอารมณ์ด้วยครับ ไม่สามารถมี จิตเห็นเป็นอารมณ์ได้ ครับ

สรุปได้ว่า สติปัฏฐานที่เกิดทางปัญจทวาร จะต้องมีรูป เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่สามารถมี จิต ที่เป็นนามธรรมเป็นอารมณ์ได้ เพราะทางปัญจทวาร ชวนจิตมี รูป เป็นอารมณ์ อยู่ และมโนทวารวาระแรกก็เช่นกัน ต้องมีรูปเป็นอารมณ์ ชวนจิตทางปัญจทวารวาระ ก็ต้องมีรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น สติปัฏฐาน ทางมโนทวารวาระแรกก็ต้องมีรูปเป็นอารมณ์ ไม่ใช่นามธรรมคือ จิต เจตสิก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2555

ส่วนสติปัฏฐานที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก มีจิตเห็น เป็นต้น ต้องระลึกรู้ ทางมโนทวารเท่านั้น และไม่ใช่มโนทวารวิถีวาระแรก แต่ เป็นวาระต่อไป ครับ ซึ่งอาจจะสงสัยว่า จิตเห็นดับไปแล้ว มโนทวารวาระต่อไปจะรู้ได้อย่างไร ซึ่งในความละเอียดของธรรม แสดงถึงว่า สติปัฏฐานต้องระลึกในขณะปัจจุบัน ซึ่ง คำว่า ปัจจุบัน มีหลากหลายนัย ปัจจุบันขณะ ก็มี คือ ขณะที่สภาพธรรมกำลังเกิดขึ้น ชื่อว่าปัจจุบันขณะ และ ปัจจุบันสันตติ คือ เป็นปัจจุบันเพราะกำลังสืบต่อกันอย่ารวดเร็ว การระลึกลักษณะของนามธรรมที่เป็น จิตเห็น เป็นต้น ก็เป็นปัจจุบันสันตติ คือ กำลังสืบ ต่ออย่างรวดเร็ว ก็เป็นปัจจุบัน สติปัฏฐานเกิดได้ เช่น จิตเห็นทางปัญจทวารดับไป มโนทวารวาระแรกเกิดสืบต่อ และดับไป มโนทวารวิถีวาระที่สอง ระลึก จิตเห็นนั้นนั่นเอง ที่เป็นการสืบต่ออย่างรวดเร็ว ว่าจิตเห็นเป็นธรรมไม่ใช่เรา ในขณะนั้น ซึ่ง ในความเป็นจริง การสืบต่อของจิตแต่ละวาระ รวดเร็วมากๆ ๆ เพราะการเกิดดับของจิต เจตสิก ที่รวดเร็วนั่นเอง จึงเป็นปัจจุบันเช่นกัน ที่เป็นปัจจุบันสันตติ ครับ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ สภาพธรรมกำลังปรากฎ กำลังมีจิตเห็นด้วย เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติปัฏฐานก็เกิดระลึก รู้ลักษณะของนามธรรม มีจิตเห็นได้ เพราะกำลังปรากฏให้รู้ โดยจะต้องเป็นทางมโนทวารวิถี ไม่ใช่ปัญจทวารวิถีที่รู้นามธรรม มีจิต เป็นต้น และต้องเป็นมโนทวารวาระต่อไป มีวาระที่สอง ที่ไม่ใช่มโนทวารวาระแรก ครับ ที่มี จิตเห็นเป็นอารมณ์ ที่สติปัฏฐานระลึกรู้ จิตเห็นครับ

ดังนั้นหนทางที่ถูกต้อง คือ ฟังพะรธรรม ศึกษาเรื่องสภาพธรรมต่อไป และสติ จะเกิดทำหน้าที่เอง โดยสภาพธรรมอะไรปรากฏ สติก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง แสดงถึงความเป็นปัจจุบันแล้ว โดยขณะที่ระลึกตัวธรรมในขณะนั้น ไม่มีชื่อว่าทางปัญจทวาร มโนทวาร แต่มีตัวธรรมที่กำลังรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 13 เม.ย. 2555

สติก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง แสดงถึงความเป็นปัจจุบันแล้ว โดยขณะที่ระลึกตัวธรรมในขณะนั้น ไม่มีชื่อว่าทางปัญจทวาร มโนทวาร แต่มีตัวธรรมที่กำลังรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 13 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการอบรมเจริญปัญญา เพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าไม่อาศัยการฟังเรื่องของสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นปกติ บ่อยๆ เนืองๆ จนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นไปตามลำดับแล้ว ย่อมไม่ได้เหตุได้ปัจจัยให้สติเกิดขึ้นหรือเจริญขึ้นได้ เพราะเหตุว่าที่ตั้งให้สติระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะนั้น คือสภาพธรรมที่มีในขณะนี้นั่นเอง ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ การเจริญสติปัฏฐาน เป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งให้สติและปัญญาเกิดขึ้น ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อการละคลายความยึดถือในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้

สำหรับ ทางปัญจทวาร บุคคลผู้ที่มีสะสมปัญญา สะสมความเข้าใจในเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน มามาก สติปัฏฐานก็สามารถเกิดขึ้นระลึกรู้รูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นได้ (เพราะทางปัญจทวาร อารมณ์เป็นรูปปรมัตถ์เท่านั้น) ซึ่งเป็นในขณะที่เป็นชวนะที่เป็นมหากุศลอันประกอบด้วยปัญญา แต่ถ้าเป็นการระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม แล้ว ก็ต้องเป็นทางมโนทวาร ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว สิ่งที่มีจริงเท่านั้น ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้ตามตามเป็นจริงได้ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 13 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่มีจริงเท่านั้น ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้ตามตามเป็นจริงได้

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไก่บ้าน
วันที่ 13 เม.ย. 2555

ถ้าปิด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กิเลสจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อยากรู้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

เป็นไปไม่ได้ที่จะปิดตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ครับ เมื่อมีเหตุปัจจัย ก็ต้องมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น ... การคิดนึก ทางตา ... ทางใจ เป็นปกติครับ และก็ต้องเป็นธรรมดาที่จะต้องมีกิเลสเกิดขึ้น เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ... คิดนึก เมื่อยังเป็นผู้ที่มีกิเลสที่สะสมมา

ดังนั้น หนทางที่ถูกต้อง คือ ไม่ใช่การปิด ตา หู ... ใจ แต่ รู้ความจริงในขณะที่สภาพธรรมนั้นเกิด ทางตา หู ... ใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สติและปัญญาที่เกิดนั้นเอง เป็นเครื่องกั้นกระแสของกิเลสแล้ว และรู้ความจริงปัญญา เจริญขึ้น จนสามารถละกิเลสได้หมดสิ้นครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 14 เม.ย. 2555

ต้องเป็นปัญญาเท่านั้นที่จะดับกิเลสได้

การปิดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ทำให้กิเลสลดลง ไม่ได้ทำให้กิเลสไม่เกิด กิเลสก็ยังอยู่เหมือนเดิม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ไก่บ้าน
วันที่ 14 เม.ย. 2555

แล้วคนที่เกิดมาตาบอด หูหนวก ประสาทรับกลิ่นเสีย ประสาทลิ้มรสเสีย ประสาทสัมผัสทางกายเสีย หรือใจอย่างเดียว

แล้วกิเลสจะเกิดขึ้น ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่ผิวหนังสัมผัส ได้อย่างไร

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 14 เม.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

แม้ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่มีใจ กิเลสก็เกิดขึ้นได้ ดังเช่น อรูปพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่นาม คือ จิต เจตสิก ก็มีกิเลสเกิดขึ้นได้ทางใจ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
rojer
วันที่ 16 เม.ย. 2555

แสดงว่า วาระที่ ๒ ทางมโนทวาร จะมี ฆนบัญญัติ (รูปที่เป็นอารมณ์บัญญัติต่อจากมโนทวารวาระแรกก็ได้) หรือ จะเป็นสติปัฏฐาน ที่ระลึกรู้ "จิตเห็นก็ได้"

เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 16 เม.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

ถูกต้องครับ มโนทวารวาระที่สอง มี บัญญัติเป็นอารมณ์ และ มีนามธรรม คือ จิต เจตสิก เป็นอารมณ์ ซึ่ง สติปัฏฐาน ทางมโนทวารวาระที่สอง สามารถเกิดระลึกรู้ลักษณะของ จิตเห็น เป็นต้นได้ ครับ เพราะเป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่สามารถระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมได้ เพราะเป็นแต่เพียงบัญญัติไปแล้ว ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
natre
วันที่ 30 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ