สังวร ชื่อว่าเป็น ศีล รวมสังวร ทั้ง 5 อย่าง
ข้อความแสดงถึง สังวร เป็นศีล และ สังวรเป็นศีล ไม่ใช่เพียงปาฏิโมกสังวรศีล แต่รวม สังวร ทั้ง ๔ มีสติสังวรก็เป็นศีลด้วย ครับ
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 588
ในบทว่า สรโร สีล ความสำรวมเป็นศีลนี้
พึงทราบความสำรวมมี ๕ อย่าง คือ
ปาติโมกขสังวร - ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑
สติสังวร - ความสำรวมในสติ ๑
ญาณสังวร - ความสำรวมในญาณ ๑
ขันติสังวร - ความสำรวมในขันติ ๑
วีริยสังวร - ความสำรวมในความเพียร ๑.
ในความสำรวม ๕ อย่างนั้น ภิกษุเข้าถึงเสมอด้วยความสำรวมในปาติโมกข์นี้ นี้ชื่อว่า ปาติโมกขสังวร. ภิกษุรักษาจักขุนทรีย์, ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นี้ ชื่อว่า สติสังวร. ... ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อุปปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า วีริยสังวร . แม้ว่าอาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้,
อนึ่ง เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตรผู้กลัวบาป, พึงทราบว่าทั้งหมดนั้นเป็น สังวรศีล.
ข้อความที่แสดงว่า สังวร เป็นศีล รวมสังวรทั้ง ๕ อย่าง
วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 14
[สังวร ๕]
ในข้อว่า "สังวรก็เป็นศีล" นี้ พึงทราบสังวรโดยอาการ คือ ปาฏิโมกขสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร.
ในสังวร ๕ อย่างนั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า "ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้๒" นี้ชื่อว่าปาฏิโมกขสังวร. สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมรักษาอินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความสังวรใรอินทรีย์คือจักษุ๓ (เป็นต้น) นี้ชื่อว่าสติสังวร. ...