อุเปกขาสัมโพชฌงค์

 
gboy
วันที่  22 เม.ย. 2555
หมายเลข  21008
อ่าน  1,645

อุเปกขาสัมโพชฌงค์หมายถึงปัญญาเจตสิก เหมือนกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

เรียนถามว่าข้อความข้างต้นถูกต้องหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 22 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่เป็นองค์ของการตรัสรู้ ๗ อย่าง

หมายถึง การอบรมวิปัสสนาภาวนาจนสภาพธรรม ๗ อย่างมีกำลังมาก ใกล้ต่อการตรัสรู้ องค์ของการตรัสรู้ ๗ อย่างได้แก่ ...

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นชื่อของปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นองค์หนึ่งแห่งการตรัสรู้ คือ ปัญญาที่มีกำลังมากใกล้ที่จะตรัสรู้ หรือขณะที่ตรัสรู้อริยสัจจ์

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้อย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ ปัญญาเจตสิก แต่เป็นการวางเฉยที่เป็น ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เพราะฉะนั้น อุเบกชาสัมโพชฌงค์ จึงไม่ใช่ปัญญาเจตสิก แต่เป็น ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เป็นการวางเฉย ไม่เอนเอียงเอียงไปด้วยอำนาจอกุศล อันเป็นการวางเฉยด้วยกุศลธรรม ที่ประกอบด้วยปัญญาทีเ่ห็นแจ้งตามความเป็นจริง ขณะที่เห็นแจ้งตามควาเมป็นจริง เป็นหน้าที่ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่เป็นปัญญา แต่เมื่อเห็นแจ้งตามความเป็นจริงแล้ว ก็วางเฉย ด้วย ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่จะไม่เป็นอกุศลในขณะนั้น ครับ

ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็น ปัญญาเจตสิก ดังเช่น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ นั้นไ่ม่ถูกต้อง เพราะอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก ไม่ใช่ปัญญาเจตสิก ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 22 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่เป็นองค์ของการตรัสรู้ ๗ อย่าง ที่เป็นโพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ดังนี้

๑. สติสัมโพชฌงค์ คือ สติเจตสิก

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ปัญญาเจตสิก

๓. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ วิริยเจตสิก

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ปีติเจตสิก

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ กายปัสสัทธิเจตสิกและจิตตปัสสัทธิเจตสิก

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ เอกัคคตาเจตสิก

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก

ปัญญาจะต้องเจริญขึ้นไปตามลำดับ จะหาความเจริญสมบูรณ์พร้อมของปัญญาได้จากที่ไหน ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่ขั้นต้น ด้วยการฟัง ด้วยการศึกษาพระธรรม ศึกษาในสิ่งที่มีจริง เพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์ธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายของการตรัสรู้นั้น ไม่ขาดปัญญาเลย ไม่ว่าจะเป็นหมวดใดก็ตาม

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 23 เม.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 23 เม.ย. 2555

โพชฌงค์ เป็นปัญญาขั้นสูง ก่อนที่จะถึงปัญญาขั้นนั้นต้องเริ่มต้นจากฟังธรรม การพิจารณาธรรม ไตร่ตองธรรม จนกว่าสติปัฏฐานเกิดจึงจะถึงความเป็นโพชฌงค์ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 23 เม.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 เม.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัญญาจะต้องเจริญขึ้นไปตามลำดับ จะหาความเจริญสมบูรณ์พร้อมของปัญญาได้จากที่ไหน ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่ขั้นต้น ด้วยการฟัง ด้วยการศึกษาพระธรรม ศึกษาในสิ่งที่มีจริง เพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์ธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายของการตรัสรู้นั้น ไม่ขาดปัญญาเลย ไม่ว่าจะเป็นหมวดใดก็ตาม

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในใกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
gboy
วันที่ 23 เม.ย. 2555

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ