ทุกข์ อาศัย ผัสสะ เกิดขึ้น [ปฐมสุขสูตร]

 
wittawat
วันที่  24 พ.ค. 2555
หมายเลข  21162
อ่าน  3,401

ความหมายของ “ทุกข์ อาศัย ผัสสะ เกิดขึ้น”

ถ้าพิจารณาโดยนัยของหนึ่งขณะจิต (ไม่กล่าวถึงความเป็นปัจจัย ในขณะอื่นๆ ) ผัสสะ คือ เจตสิกซึ่งกระทบอารมณ์ ซึ่งอารมณ์ที่จิตและเจตสิกอื่นๆ กระทบนั้นต้องเป็นอารมณ์ที่ผัสสะกระทบเท่านั้น ไม่ใช่อารมณ์อื่น เพราะฉะนั้นที่จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยนั้น จะสามารถรู้อารมณ์ได้ก็ต้องมีผัสสเจตสิก ซึ่งผัสสะก็นำมาซึ่งผล ก็คือ การเกิดขึ้นของธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับผัสสะและ ทุกอย่างที่เกิดก็เป็นทุกข์ ทุกข์ก็ไม่หมดไปตราบที่ยังมีการติดข้องยังมีขันธ์ทั้ง ๕ อยู่

อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากปฐมสุข สูตร..ข้อความเตือนสติเรื่องปฐมสุขสูตร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Graabphra
วันที่ 24 พ.ค. 2555

1.ผู้ที่เจริญปัญญาขั้นใดที่สามารถรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้ครับ เป็นพระอรหันต์หรือเปล่า

ครับ 2.การเกิดขึ้นของธรรมนี้ (การเกิดขึ้นของธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับผัสสะ) ธรรม

นี้คืออะไรครับ

3.สติสามารถระลึกรู้ธรรมนี้ใช่ไหมครับ ขณะที่ผัสสะกระทบสติระลึกรู้ได้ไหมครับ

หรือว่าต้องเป็นปัญญาของพระอรหันต์เท่านั้นครับ

ผมอาจติดที่คำครับ ธรรมที่ท่านกล่าวมาลึกซึ้งมาก ผมถามในสิ่งที่ผมไม่อาจเข้าใจ

ได้เลยในตอนนี้นะครับ ขอความกรุณาด้วยครับ...

ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 1 ครับ

1.ผู้ที่เจริญปัญญาขั้นใดที่สามารถรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้ครับ เป็นพระอรหันต์หรือเปล่า

----------------------------------------------------------

ทุกข์ คือ สภาพธรรมทีเกิดขึ้นและดับไป ผู้ที่ประจักษ์ ความเป็นทุกข์ คือ การเกิดขึ้น

และดับไป คือ ผู้ที่ได้ วิปัสสนาญาณขั้นที่ 3 และ 4 เป็นต้นไป ครับ ไม่จำเป็นต้องถึง

ความเป็นพระอรหันต์ ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2.การเกิดขึ้นของธรรมนี้ (การเกิดขึ้นของธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับผัสสะ) ธรรม

นี้คืออะไรครับ

---------------------------------------------------------------------

เมื่อจิตเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วย อย่างน้อย 7 ประเภท ซึ่ง ผัสสเจตสิก

เกิดกับจิตทุกประเภท ดังนั้น สภาพธรรมทีเกิดร่วมกับผัสสะ คือ จิต รวมทั้งเจตสิกอื่นๆ

เช่น เวทนา สัญญา เอกัคคตา ชีวิตตรินทรีย์เจตสิก มนสิการเจตสิก เป็นต้น ที่เกิดร่วม

กับผัสสเจตสิก ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3.สติสามารถระลึกรู้ธรรมนี้ใช่ไหมครับ ขณะที่ผัสสะกระทบสติระลึกรู้ได้ไหมครับ

หรือว่าต้องเป็นปัญญาของพระอรหันต์เท่านั้นครับ

--------------------------------------------------------------------

สติปัฏฐาน ปัญญาขั้นแรก ยังไม่สามารถระลึกถึง ผัสสเจตสิก แต่ระลึกได้ ในสภาพ

ธรรมที่กำลังปรากฎ เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น สี เสียง กลิ่น รสที่ปรากฎในชีวิตประจำวัน

แต่ผัสสเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต ซึ่งจะรู้ได้ก็ด้วยปัญญาที่ละเอียด คมกล้า

คือ ผู้ที่เกิดสติปัฏฐานคล่องแคล่ว จนได้วิปัสสนาญาณ และ มีความละเอียดของ

ปัญญา ย่อมสามารถระลึกรู้ เจตสิกต่างๆ ทีเกิดร่วมกับจิตได้ มี ผัสสเจตสิก เป็นต้น

ซึ่งไม่จำเป็นต้องถึง ระดับพระอรหันต์ ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Graabphra
วันที่ 24 พ.ค. 2555

เข้าใจขึ้นมาก ชัดเจนขึ้นครับ

ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 25 พ.ค. 2555

จากความคิดเห็นที่ 2...

สาวกญาณสามารถประจักษ์ลักษณะของเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิตได้หรือ เพราะเท่าที่ทราบพระอภิธรรมเป็นพระพุทธญาณ ไม่ใช่สาวกญาณ ไม่ทราบมีคำอธิบายนี้อยู่ในส่วนไหนของพระไตรปิฎกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wittawat
วันที่ 25 พ.ค. 2555

กระผมขอสนทนาตามกำลังความเข้าใจ

คำตอบของอาจารย์วิทยากร ก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับ กระผมก็ไม่ได้มีอะไร

สนทนาเพิ่มเติมมาก และ ปฏิจจสมุปปาท เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง และละเอียด และพระสูตร

นี้ก็เป็นพระสูตร ที่พระอรหันต์เถระผู้เลิศด้วยปัญญากล่าวไว้ ว่าด้วยทุกข์เกิดขึ้นเพราะ

เหตุใด?

และในการสนทนาธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระสูตรครั้งนั้น ก็ได้มีการสนทนาโดย

แสดงผัสสะเป็นเหตุ ทุกข์จึงมีโดยนัยที่เกิดเพียงหนึ่งขณะจิตนั้น แท้ที่จริงผัสสะนั้นไม่ได้

เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพียงเฉพาะหนึ่งขณะจิต ยังเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในต่างวาระเวลาด้วย

เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวทุกข์ โดยพิจารณา หนึ่งขณะจิต ผัสสะ ก็คือเจตสิก ส่วนทุกข์นี้ก็คือ

ธรรม คือ จิต และ เจตสิกที่เกิดพร้อมกับผัสสะ โดยอาศัยผัสสะเป็นสหชาติปัจจัย

เป็นต้น จึงเกิดขึ้นได้

ทุกข์ คือ สภาพธรรมไม่สามารถตั้งอยู่ได้นานเมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องดับไป ได้แก่ จิต

เจตสิก รูป

ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง ที่จะสามารถระลึกได้ก็ต้องเป็นสติปัญญาละเอียดลึกซึ้ง

เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ตามลำดับขั้นของปัญญา

สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน จะละเอียดขึ้น คมยิ่งขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยการเจริญขึ้น

ของปัญญาที่อบรมยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่เริ่มฟังธรรมครั้งแรก ก็แตกต่างจากผู้ที่

ได้ฟังบ่อยๆ เข้าใจขึ้นบ่อยๆ ก็ย่อมแตกต่างจะผู้ที่มีปรกติอบรมเจริญสติปัญญา

เป็นผู้ระลึกความจริงเป็นปรกติทั้ง ๖ ทาง เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปัญญาอบรมละเอียดยิ่งขึ้น

จึงจะสามารถระลึกรู้ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นได้ ตรงตามนัยที่ทรงแสดงไว้แล้ว

คือ วิปัสสนาญาณตามลำดับขั้นของปัญญา

เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าฟังธรรม แล้วจะอยากเลือกระลึก รู้ธรรมใด ธรรมหนึ่ง

โดยไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้ เช่น ผัสสเจตสิก เป็นต้น แต่ประโยชน์คือ การเข้าใจธรรม

แล้วความเข้าใจนั้น จะเป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่ง ให้ปัญญานั้นเกิดขึ้นเอง

และความเป็นจริงสภาพธรรมใดที่ปรากฏอยู่บ่อยๆ ก็คือ รูป ๗ ได้แก่

สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงที่ปรากฏทางหู กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว

ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่สามารถระลึกรู้ให้ละเอียดเข้าใจยิ่งขึ้นได้

ส่วน จิต และเจตสิก เป็นธรรมที่รวดเร็วและลึกซึ้งยิ่งกว่า ก็ต้องอาศัยปัญญาที่

ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น และที่จะสามารถระลึกรู้ทุกข์ คือ จิต เจตสิก รูป โดยนัยที่เกิดขึ้น

และดับไปอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ใช่สติปัญญาในขั้นฟังเข้าใจครั้งแรก ไม่ใช่สติปัญญา

ขั้นประจักษ์แจ้งนามรูปปริจเฉทญาณ หรือประจักษ์แจ้งปัจจยปริคหญาณ แต่ต้อง

ประจักษ์แจ้งสัมมสนญาณแล้ว จึงจะสามารถมีปัญญาละเอียดที่จะระลึกธรรมที่ละเอียด

คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วเช่นนั้นได้

เพราะฉะนั้นแล้วต้องไม่ลืมประโยชน์ของการฟังธรรม คือ เพื่อเข้าใจธรรม

และก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง คือ พิจารณาความจริงของธรรมตามกำลังความเข้าใจของตน

ขออนุโมทนา อาจารย์วิทยากรที่ให้ความเข้าใจเพิ่มเติม

ขอขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wittawat
วันที่ 25 พ.ค. 2555

ท่านผู้ที่สนใจ เรื่องปัญญาทั้งหลาย

ก็ขอแนะนำให้ได้ศึกษาคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ก็มีการแสดงเรื่องของปัญญา

ประเภทต่างๆ

จริงอยู่พระอภิธรรม เป็นญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แต่พระสาวกก็ต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ตามลำดับขั้นของปัญญาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

พระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันแม้เป็นสาวก หากไม่ได้อบรมปัญญาตามลำดับขั้น

คือ วิปัสสนาญาณแล้ว ที่จะมีมรรคญาณ หรือผลญาณ เกิดขึ้นก็เป็นไปไม่ได้

พระสาวกก็ต้องเป็นผู้ศึกษาธรรม ตามที่ทรงแสดงไว้ ศึกษาทุกข์ตามที่ทรงแสดงไว้

และถ้าปัญญาไม่ได้เกิดขึ้น จะเป็นพระสาวกได้อย่างไร

ขอให้ท่านได้ศึกษา ก็จะได้เข้าใจว่าปัญญาประเภทใด จึงเป็นปัจจัยให้ถึงความ

เป็นพระสาวกได้ ที่พระอริยบุคคลจะไม่รู้ทุกข์ ได้แก่ จิต เจตสิก หรือรูป

โดยนัยที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วนั้นก็เป็นไปไม่ได้ เพราะข้อนั้นก็คือ

ขัดกับพระธรรมที่ทรงแสดงไว้แล้ว

กระผมเข้าใจตามนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

เราควรแยก ระหว่าง การบัญญัติ แต่งตั้งแสดงพระอภิธรรม กับ การประจักษ์ ตัว

อภิธรรม ที่เป็น จิต เจตสิและรูป ว่าเป็นคนละส่วนกันครับ

พระอภิธรรม ไม่มีใครสามารถแสดงบัญญัติขึ้นเองได้ ในการใช้ชื่อเพื่อแสดงสภาพ

ธรรมนี้ว่าใช้ชื่อะไร เป็นต้น นอกเสียจากพระพุทธเจ้าแต่การประจักษ์ตัวพระอภิธรรม ที่

เป็น จิต เจตสิก และรูป สาวกสามารถประจักษ์ได้ แม้แต่ตัวเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิต

ผัสสะ มีจริง ผัสสเจตสิก สามารถปรากฎได้ และรู้ได้กับพระสาวกผู้มีปัญญามาก มี

ท่านพระสารีบุตร เป็นต้น ที่ท่านรู้ความละเอียดของสภาพธรรม และ พระอริยสาวก ที่มี

ปัญญามาก ดังเช่น ท่านพระอานนท์ ท่านก็ประจักษความจริง แม้เจตสิก ที่เป็นผัสสะ

เจตสิก ดังที่ท่านได้กล่าว ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นของง่ายสำหรับท่าน ท่านพระ

อานท์มีปัญญามาก ท่านไม่ใช่เพียงประจักษืชื่อ อภิธรรม และ ชื่อ ปฏิจจสมุปบาท

แน่นอน แต่ท่านประจักษ์ในองค์ของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งในองค์ ปฏิจจสมุปบาท มีองค็์

ที่ว่า เพราะ ผัสสะ เกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา ท่านพระอานนท์ ท่านพระสารี

บุตร ผู้เป็นอัครสาวกผู้เลิศด้วยปัญญา ท่านไม่ใช่แค่ประจักษ์ชื่อ ผัสสะ ใน

ปฏิจจสมุปบาท แต่ท่านประจักษ์ตัวจริง ในขณะที่ผัสสะเกิดขึ้น จึงเข้าใจละเอียดใน

ปฏิจจสมุปบาท ครับ

ท่านพระสารีบุตร แสดงพระอภิธรรม ใหบริษัททั้งหลายฟัง เมื่อคราวที่ พระพุทธเจ้า

เสด็จโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านแสดงพระอภิธรรม ตลอด สามเดือน

ท่านพระสารีบุตร คงไม่ใช่เพียงจำชื่อเจตสิกได้เท่านั้น จึงมาแสดง หรือ เพียงประจักษ์

แค่เพียง จิต กับ รูป แต่เจตสิก ท่านไม่ได้ประจักษ์จึงมาแสดงแตท่านพระสารีบุตรเป็น

ผู้เลิศด้วยปัญญา ท่านก็ประจักษ์ตัวเจตสิก ด้วย ที่เกิดพร้อมจิต มีผัสสเจตสิก เป็นต้น

ครับ และ แม้พระภิกษุที่ไม่ใช่ท่านพระสารีบุตร ท่านสนทนากัน ในปารายสูตร ท่านก็

แสดงส่วนสุด ไว้ สองอย่างที่รู้ได้ด้วยปัญญา ปัญญาในที่นี้ คงไม่ใช้เพียงการคิดนึก

เรื่องราว จำว่าผัสสะ เป็นอย่างไร แต่ท่านประจักษ์ตัวลักษณะของผัสสะ ด้วยปัญญา ที่

อรรถเรียกวา มันตา ครับ

ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า

ปารายนสูตร

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ ๒ เป็นไฉน อะไรเป็นส่วน

ท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด.เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะ

ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดขึ้นแห่ง

ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับแห่งผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด

เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง

ภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควร

กำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั่นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒ ปัจจุบันเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหา

เป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้ เพราะเป็น

ที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนด

รู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำ

ที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

-----------------------------------------------------------------------------------

ดังนั้นเราควรแยกระหว่าง การบัญญัติพระอภิธรรมขึ้นได้ เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า

แต่การประจักษ์ ตัวเจตสิกที่เป็นพระอภิธรรมเป็นเจตสิก พระสาวกผู้มีปัญญา สามารถ

ประจักษ์ได้ มีท่าน พระสารีบุตร เป็นต้น

หากประจักษ์ไม่ได้ ก็กลายเป็นว่า พระสารีบุตร ประจักษ์แค่ จิต กับรูปได้เท่านั้น เจตสิก

ท่านไม่รู้ เพราะ เจตสิกก็ไม่จริง ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีจริงที่ไม่สามารรู้ได้ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"แจ่มชัดเลยครับขอขอบคุณในธรรมทานนี้ของคุณวิทวัตและอ.ผเดิมครับ"

ขออนุโมทนาในกุศลจิตวิริยะของคุณวิทวัตกับทีมงานและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 25 พ.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 21162 ความคิดเห็นที่ 4 โดย ไตรสรณคมน์

จากความคิดเห็นที่ 2...

สาวกญาณสามารถประจักษ์ลักษณะของเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิตได้หรือ เพราะเท่าที่ทราบพระอภิธรรมเป็นพระพุทธญาณ ไม่ใช่สาวกญาณ ไม่ทราบมีคำอธิบายนี้อยู่ในส่วนไหนของพระไตรปิฎกค่ะ - ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณและขออนุโมทนาท่าน Wittawat และท่าน Paderm ที่ร่วมสนทนาค่ะ

จากคำถามเดิม ประเด็นที่สงสัย ไม่ใช่เรื่องของ "ผัสสเจตสิก" แต่อย่างใด สิ่งที่ข้องใจคือ การรู้แจ้งแทงตลอดในสภาพธรรมของพระสาวก ในขั้นวิปัสสนาญาณ ซึ่งแสดงไว้ตอนท้ายความเห็นที่ ๒ ว่า....."สามารถรู้เจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิตได้" ซึ่งเจตสิกต่างๆ นั้นมีหลากหลายถึง ๕๒ ประเภท และยังแตกต่างกันไปตามประเภทของจิต และจิตแต่ละดวงก็ยังมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากมาย ทำให้สงสัยว่าปัญญาระดับ สาวกญาณ โดยเฉพาะขั้นวิปัสสนา สามารถประจักษ์ลักษณะสภาพธรรมได้ลึกและละเอียดเหมือนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมเลยหรือค่ะ? อย่างเช่นจิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น พระสาวกท่านสามารถประจักษ์ลักษณะของเจตสิกทุกประเภทที่เกิดร่วมกับจิตนั้น ในขณะนั้นได้ด้วย - นี่คือประเด็นที่สงสัยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

จากคำกล่าวที่กระผมกล่าวไว้ครับว่า

ผู้ที่เกิดสติปัฏฐานคล่องแคล่ว จนได้วิปัสสนาญาณ และ มีความละเอียดของ

ปัญญา ย่อมสามารถระลึกรู้ เจตสิกต่างๆ ทีเ่กิดร่วมกับจิตได้ มี ผัสสเจตสิก เป็นต้น

ซึ่งไม่จำเป็นต้องถึง ระดับพระอรหันต์ ครับ

-------------------------------------------------------------------------------

เป็นการสื่อควาหมายว่า ผู้ที่มีปัญญามาก มีท่านพระสารีบุตร เป็นต้น ที่ท่านยังเป็น

พระโสดาบัน และท่านก็ต้องเกิด สติปัฏฐาน เกิดวิปัสสนาญาณในขณะนั้นต่อไป ขณะ

ที่สติปัฏฐานเกิด หรือ วิปีสสนาญานเกิดของ พระสาวกที่มีปัญญามาก ก็สามารถรู้

ลักษณะของเจตสิกทีเ่กิดร่วมกับจิตได้ แ่ต่ต้องเข้าใจนะครับว่า ขณะที่สติปัฏฐานเกิด

ขณะนั้นต้องมีอารมณ์ของสภาพธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่รู้เจตสิกทั้งหมดพร้อมกัน

ทั้ง 52 เจตสิก ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด อันนี้ ก็เป็นความเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้นที่เข้าใจ

กันอยู่แล้วครับว่า สติปัฏฐานเมื่อเกิด ก็ต้องมีอารมณ์เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น

เจตสิกก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สามารถรู้ได้ สำหรับผู้ที่มีปัญญา ขณะที่สติปัฏฐานเกิด

หรือ วิปัสสนาญาณเกิดในขณะนั้นได้ ครับ ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา

ซึ่งคำกล่าวที่ผมกล่าวในความเห็นที่ 2 ไม่ได้แสดงถึงการรู้เจตสิกต่างๆ ในขณะนั้น

โดยไม่มีคำว่า ในขณะนั้น ดัง ความเห็นที่ 10 กล่าวไว้เลย ครับ

ซึ่งคำถามจากความเห็นที่ 1 ก็ได้ถามในข้อที่ 3 ว่า

3.สติสามารถระลึกรู้ธรรมนี้ใช่ใหมครับ ขณะที่ผัสสะกระทบสติระลึกรู้ได้ไหมครับ

หรือว่าต้องเป็นปัญญาของพระอรหันต์เท่านั้นครับ

----------------------------------------------------------

คำถาม กำลังถามว่า เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้น สติปัฏฐานเกิดรู้ได้ไหม ซึ่งมุ่งหมาย

ถึง แต่ละเจตสิก ในคำถามนั้น ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด

จึงได้ตอบในความเห็นที่ 2 ครับว่า สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาญาณของผู้มีปัญญา

สามารถระลึกรู้ เจตสิกต่างๆ ทีเ่กิดร่วมกับจิต มีผัสสเจตสิก เป็นต้นได้ ซึ่งไม่ได้หมายถึง

รู้เจตสิกพร้อมกันทั้งหมด แต่สามารถรู้เจตสิกใดเจตสิกหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้น

ได้ จึงใช้คำว่า ผัสสะ เป็นต้น ครับ เพราะ ในคำถาม ก็มุ่งหมายถึงเจตสิก แต่ละอย่างอยู่

แล้ว มี ผัสสเจตสิก เป็นต้น ครับ

ซึ่งหากผู้ร่วมสนทนา ได้อ่านในคำถามที่ 3 ให้ดีโดยละเอียด ก็จะเข้าใจถูกต้องครับว่า

คำถามกำลังมุ่งมายถึง ผัสสเจตสิก ที่เป็นเจตสิก แต่ละประเภททีเ่กิดขึ้น ไม่ใช่มุ่งหมาย

ถึงเจตสิก ทั้งหมด จะรู้ในขณะที่สติปัฏฐานเกิดในขณะเดียว เพราะฉะนั้น คำตอบ ก็จะ

ต้องตอบโดยแนวทางเดียวกัน คือ อธิบายว่า สติปัฏฐานเกิด ก็สามารถระลึกรู้ เจตสิก

ต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิต อันมุ่งหมายถึง เจตสิกแต่ละประเภท ที่เป็นเจตสิกเดียวในขณะที่

สติปัฏฐานเกิด มีผัสสเจตสิก เป็นต้น ครับ เพราะฉะนั้น การจะได้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดในคำถามที่ผู้ถามว่า ต้องการสื่อถึงอะไร และ คำตอบก็สื่อไปอย่าง

นั้น ตรงกันในแนวทางเดียวกันด้วย ครับ และ คำตอบ ก็ไมไ่ด้แสดงว่า รู้ในขณะเดียว

หรือ คำว่า ขณะนั้นไม่มีคำนี้ ในการตอบ ดังความเห็นที่ 10 กล่าวไว้ ครับ

เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานขอผู้มีปัญญา มีท่านพระสารีบุตร เป็นต้น ท่านสามารถเกิด

ระลึกรู้ ลักษณะของเจตสิก มี ผัสสเจตสิก เป็นต้นได้ เพราะ ผัสสเจตสิก มีจริงไหม

เป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะให้รู้ และก็เป้นสภาพธรรมที่ไม่พ้นไปจากขันธ์ คือ สังขารขันธ์

ครับ

ซึ่งจะขอกล่าวอีกพระสุตรหนึ่ง เพื่อที่จะแสดงไว้ครับว่า พระภิกษุที่เป็นพระสาวก

สามารถระลึกรู้ลักษณะของเจตสิก แต่ละอย่างได้ เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง ครับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้า 225

มหาสติปัฏฐานสูตร

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ขันธบรรพ

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ

อุปาทานขันธ์ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ

อุปาทานขันธ์ ๕.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ย่อมพิจารณาดังนี้ ว่า)

อย่างนี้ รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม) อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของรูป อย่างนี้ความดับไปของรูป

อย่างนี้เวทนา (ความเสวยอารมณ์) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของเวทนา อย่างนี้ความดับไป

ของเวทนา อย่างนี้สัญญา (ความจำ) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสัญญา อย่างนี้ความดับ

ไปของสัญญา อย่างนี้ สังขาร (สภาพปรุงแต่ง) อย่างนี้ ความเกิดของสังขาร อย่างนี้

ความดับของสังขาร อย่างนี้ วิญญาณ (ความรู้) อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของวิญญาณ อย่าง

นี้ ความดับไปของวิญญาณดังนี้.

--------------------------------------------------------------------------

จากข้อความในพระไตรปิฎก แสดงชัดเจนครับว่า พระพุทธเจ้า ทรงแสดง สติปัฏ

ฐานให้ภิกษุทั้งหลาย ระลึกรู้ความจริงของขันธ์ 5 ที่กำลังปรากฎตามความเป็นจริง

เพราะฉะนั้น เจตสิก เป็นขันธ์ 5 หรือไม่ เป็น ครับ ผัสสเจตสิก ก็เป็นขันธ์ คือ สังขาร

ขันธ์ เจตสิกทั้งหมด ก็เป็นขันธ์ เวทนาเจตสิก ก็เป็น เวทนาขันธ์ 5 สัญญาเจตสิก เป็น

สัญญาขันธ์ เจตสิก 50 ที่เหลือ เป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานของผู้มีปัญญา

หรือ วิปัสสนาญาณของผู้มีปัญญา ก็สามารถระลึกรู้ลักษณะของเจตสิกทีเ่กิดร่วมกับจิต

ได้ มีผัสสะ เป็นต้น ครับ ซึ่งกระผมได้กล่าวไแล้วในหลายพระสูตร มี ปารายนสูตร ปฏิจ

สมุปบาท และ มหาสติปัฏฐานสูตร ว่า สติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณ สามารถเกิดระลึกรู้

เจตสิกทีเ่กิดร่วมกับจิตได้ มี ผัสสะ เป็นต้น ไม่ใช่เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น แม้ พระ

สาวกก็รู้ไ้ด้ ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 26 พ.ค. 2555

ขอบคุณค่ะคุณเผดิมที่กรุณาอธิบาย และต้องขออภัยหากมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่อง

ของพยัญชนะที่ว่า " ...ย่อมสามารถระลึกรู้ เจตสิกต่างๆ ทีเกิดร่วมกับจิตได้..."

ซึ่งคุณเผดิมหมายถึง เจตสิกหนึ่งเจตสิกใด ที่เป็นอารมณ์ของจิตนั้นๆ ไม่ใช่เจตสิกทุก

ประเภทที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ใช่มั้ยค่ะ? เช่น อาจจะเป็นผัสสะ เวทนา หรือปัญญาเป็นต้น

ประเภทใดประเภทหนึ่ง ไม่ใช่หลายประเภทพร้อมๆ กัน

ขอบคุณที่ร่วมสนทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาพี่เช่นกัน ที่สนทนาเพื่อความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 26 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

"การสนทนาธรรมตามกาล นี่ก็เป็นมงคล"

มงคลคือเหตุนำมาซึ่งความเจริญ เพราะมีกุศลธรรมเกิดขึ้นในขณะที่สนทนาธรรมนั่นเอง

มีข้อสังเกตบางประการที่อยากแสดงความเห็นเพิ่มเติมค่ะ......

การสนทนากันในบางครั้ง อาจมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันหรือมีมุมมองที่ต่างกันบ้าง ซึ่ง

ตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้มีการ discuss กันเกิดขึ้น และนี่คือประโยชน์ของการใช้กระดาน

สนทนาค่ะ เหมือนกับการพูดคุยกันด้วยตัวอักษร อาจมีความผิดพลาดไปบ้างเล็กๆ

น้อยๆ เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ขอให้ปล่อยมันไป เหมือนกับคำพุดที่พูดแล้วลบไม่ได้ แต่

เราสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมใหม่ได้เพื่อขยายหรืออธิบายสิ่งที่ได้พูดไปแล้ว

การแก้ไขข้อความในความคิดเห็นที่ได้โพสต์ไว้หลายวันแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

และไม่สมควรนัก เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ไม่ว่าจะแก้ไขด้วย

เหตุผลใดก็ตามค่ะ - ความจริงเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด ผิดถูกอย่างไรให้เขาพิสูจน์ตัวเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wittawat
วันที่ 26 พ.ค. 2555

ก็ขออนุโมทนานะครับ

เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจธรรม

ประเด็นเรื่อง คำถาม ว่า

สาวกญาณสามารถประจักษ์ลักษณะของเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิตได้หรือไม่

ถ้าความหมายของคำว่า ต่างๆ นั้น หมายถึง มากกว่าหนึ่งเจตสิก ในคราวเดียวกัน

กระผม เข้าใจว่า ไม่สามารถรู้เจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันได้

ในคราวเดียวกัน เป็นไปไม่ได้ เพราะมีอารมณ์เป็นเครื่องกั้น คือ

จิตรู้ได้เพียงหนึ่งอารมณ์เท่านั้น รู้มากกว่าหนึ่งอารมณ์ไม่ได้

กระผมเคยได้สอบถามและได้รับคำตอบจากการสนทนาธรรมที่มูลนิธิว่า

ทั่วไปพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่ได้มีพระสัพพัญญุตญาณเกิดขึ้นตลอดเวลา

ในเวลานั้นอารมณ์ที่ปรากฏ ก็ปรากฏกับจิต ได้ทีละหนึ่งอารมณ์เท่านั้นเช่นกัน

ส่วนเรื่องหลักฐานในพระไตรปิฎก กระผมเข้าใจว่า มีปรากฏใน

เรื่องของสกิงสัพพัญญุตา ปัญญาที่รู้ธรรมทั้งปวงได้ในคราวเดียวกัน

คือ รับอารมณ์ทั้งปวงได้ในคราวเดียวกัน

ซึ่งปรากฏในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ครับ

ถ้าอาจารย์วิทยากรมีสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ขอให้ช่วยเพิ่มเติมด้วยครับ

ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ให้เพิ่มเติม จะสามารถช่วยทำให้เข้าใจชัดขึ้น ในประเด็นของ

ความเห็นที่ ๑๐ ได้มากน้อยประการใด ก็ขอให้กรุณาแนะนำด้วยนะครับ

ส่วนเรื่องของความคลาดเคลื่อน ความเข้าใจในพยัญชนะ

ถ้าหากมีความคลุมเครือ เป็นเรื่องธรรมดาของการสอบถาม

สนทนาพูดคุย เพื่อทำให้เข้าใจตรงกัน และก็เป็นประโยชน์

ที่ทำให้เข้าใจธรรมละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ก็ขออนุโมทนา ผู้ร่วมสนทนาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ประสาน
วันที่ 29 ก.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ