วิปลาส 3 อย่าง

 
pirmsombat
วันที่  13 มิ.ย. 2555
หมายเลข  21258
อ่าน  10,257

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

สัญญาวิปลาส

เวลาที่เราเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็เป็นอกุศล จะมีวิปลาส ๓ อย่าง ไม่ใช่อย่างเดียว คือวิปลาสด้วยสัญญาความจำ ในรูปร่างสัณฐาน ในสิ่งที่ปรากฏ มีความยินดียินร้ายในสิ่งนั้นเพราะสัญญาวิปลาส ถ้าไม่มีคน เราจะโก รธใครไหมคะ แต่ที่โกรธนี่ โกรธด้วยสัญญาวิปลาสใช่ไหมคะ ขณะที่มีอกุศลเกิดขึ้น มีสัญญาวิปลาสว่า สิ่งนั้นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุ สิ่งต่างๆ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิวิปลาส

จิตที่วิปลาส

สภาพของจิตที่วิปลาส เวลาที่สัญญาจำ จิตคิดเรื่องที่สัญญาวิปลาสจำ เป็นความวิปลาสมากกว่าสัญญา เพราะว่า สัญญาเพียงจำคลาดเคลื่อน ไม่ได้จำให้ตรงลักษณะที่ไม่ที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่เมื่อสัญญาวิปลาสแล้ว สภาพของจิตที่วิปลาสมีกำลังกว่าสัญญาวิปลาส เพราะว่า ปรุงแต่งคิดนึกเป็นเรื่องเป็นราวตามที่สัญญาวิปลาสทั้งหมด ในวันหนึ่งวันหนึ่ง อกุศลจิตเกิดมากเหลือเกิน ไม่ว่าในขณะไหนก็ตาม ที่ไม่ใช่ขณะที่เป็นกุศล ที่กำลังฟังพระธรรม ที่กำลังเข้าใจพระธรรม ที่กำลัง คิดเรื่องพระธรรม ในขณะที่เป็นอกุศลทั้งหมด ขณะนั้นถ้าสติเกิด จะรู้ได้เลยค่ะ ความวิปลาสของจิต ซึ่งเพราะ จำวิปลาสเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเลย สัญญาวิปลาส เป็นเหตุของจิตวิปลาสด้วย

ทิฏฐิวิปลาส

สำหรับ ทิฏฐิวิปลาส นั้น เป็นความเห็นผิด เพราะ ลูบคลำสิ่งที่ยึดถือ นี่แสดงให้เห็นแล้วนะคะว่า เมื่อสัญญาวิปลาส คือ จำคลาดเคลื่อน ก็เป็นปัจจัยทำให้ ทิฏฐิเกิดขึ้น โดยลูบคลำไม่ปล่อยในความคิดที่สัญญาจำคลาดเคลื่อน เป็นความเห็นผิดที่คลาดเคลื่อนมั่นคง ดุจการจับเหล็กด้วยคีมใหญ่ของช่างเหล็ก นี่คือ ลักษณะของ ทิฏฐิวิปลาส


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Noparat
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pirmsombat
วันที่ 15 มิ.ย. 2555

ทิฏฐิวิปลาส มีโทษมาก ต้องดับก่อนเพื่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kinder
วันที่ 15 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2555

สำหรับการดับวิปลาสเป็นขั้นๆ

ข้อความในสัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มีว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประกาศพระธรรม คือ ทรงแสดงธรรมละความวิปลาส ผู้มีปัญญาฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น กลับได้ความคิด คือ เว้นความวิปลาส ได้เห็นสภาพไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดยความเป็นสภาพไม่ใช่ตัวตน เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ คือ ถือความเห็นชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ เพราะละมิจฉาทิฏฐิทั่วแล้ว เป็นพระโสดาบัน

แต่ว่าความจำ ความสำคัญ ความคิดในทุกข์ว่าเป็นสุขย่อมเกิดขึ้น เพราะยังละความสะสมอันเนิ่นนานของโมหะไม่ได้แม้แต่เป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว ไม่มีความเห็นผิดในเรื่องสภาพธรรมไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน แต่ก็ยังมีความสำคัญ ความจำ หรือ ความคิดในทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม สำหรับพระโสดาบัน

สำหรับพระสกทาคามี ก็มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่งามว่างามเบาบางลง

แต่สำหรับพระอนาคามีบุคคลนั้น ท่านละความสำคัญ ความคิดในสิ่งที่ไม่งามว่างาม

และสำหรับพระอรหันต์ ก็ละความสำคัญ คือ สัญญาวิปลาส และจิตวิปลาสในสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ดับวิปลาสทั้งหมด

แต่ผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยบุคคลก็ยังมีวิปลาสครบ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิต และกุศลวิริยะของคุณหมอเพิ่ม

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pirmsombat
วันที่ 18 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิต และกุศลวิริยะของคุณเมตตา (ดีมากครับ)

คุณผู้ร่วมเดินทาง คุณเซจาน้อย และ ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pirmsombat
วันที่ 18 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านอาจารย์ อีกข้อหนึ่งนะคะ ซึ่งจะเป็นข้อคิดก็คือว่า ท่านที่คิดว่า

ท่านมีอวิชชาอยู่ตลอดเวลา ก็พอจะคงเปรียบเทียบได้ใช่ไหมคะกับเรื่องของวิปลาส เพราะว่ามีอวิชชาจริงๆ ยังไม่ได้ดับอวิชชาเป็นสมุจเฉท แต่อวิชชาเกิดหรือไม่เกิด ก็เช่นเดียวกับวิปลาส เพราะว่า วิปลาสก็ย่อมเกิดเพราะอวิชชา เมื่อดับอวิชชาหมด วิปลาสก็หมด

เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นข้อคิดประการหนึ่งได้ว่า

แม้อวิชชาและทิฏฐิ จะยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท แต่ก็ไม่เกิดในขณะที่กุศลจิตเกิด

ขณะที่อวิชชาและทิฏฐิไม่เกิด จึงไม่เป็นสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส และ ทิฏฐิวิปลาส

ข้อความใน สัทธัมมปกาสินี อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถา วิปลาสกถา มีข้อความว่า

สัญญาวิปลาส ย่อมปรากฏ ในกาลแห่งกิจของตนมีกำลัง ด้วยอกุศลสัญญา ปราศจากทิฏฐิ ในฐานะแห่งกิจของจิตมีกำลังอ่อน

อันนี้ก็แสดงไว้ชัดทีเดียวนะคะว่า ที่สัญญาจะวิปลาส ก็คือในขณะที่เป็นอกุศล และจิตวิปลาส ย่อมเป็นไปในกาลแห่งกิจของตน เป็นอกุศลจิต ปราศจากทิฏฐิมีกำลัง สำหรับทิฏฐิวิปลาส ก็ย่อมเป็นไปได้ในจิต อันสัมปยุต ด้วยทิฏฐิ

ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็คงจะหมดปัญหานะคะ คือวิปลาส ในขณะที่อกุศลจิตเกิด ขณะใดที่เป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุต ขณะนั้น สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส และ ทิฏฐิวิปลาส ขณะใดที่อกุศลจิต ที่ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะนั้น ก็เป็น สัญญาวิปลาส และ จิตวิปลาส เพราะถึงแม้ว่า จะดับทิฏฐิเจตสิกเป็นสมุจเฉท แต่ก็ยังมี สัญญาวิปลาส และ จิตวิปลาส เมื่ออกุศลจิตเกิดเพราะ อวิชชา

คุณกฤษณา เรื่องวิปลาสนี้ อาจารย์เคยถามคำถามว่า ในวันหนึ่งๆ จิตวิปลาส กับ สัญญาวิปลาส เกิดมากไหม อันนี้ก็ตอบได้ว่าเกิดมาก และอีกคำถาม อาจารย์เคยถามว่า ในวันหนึ่งๆ นี้ ทิฏฐิวิปลาสเกิดบ้างไหม ตอนนั้นได้ฟังคำถามแล้ว ก็รู้สึกไม่แน่ใจ ยังตอบไม่ได้ เพราะว่าถึงแม้คิดว่าไม่มีทิฏฐิ ๖๒ ประการก็ตาม แต่ว่าสักกายทิฏฐิ ก็ยังคงมีอยู่ แต่วันหนึ่งๆ จะเกิดบ้างหรือเปล่าไม่แน่ใจ พอดีได้ฟังคำบรรยายของอาจารย์ออกอากาศเมื่อวานนี้ พูดถึง สักกายทิฏฐิก็ทำให้เข้าใจว่า สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นอนุสัยที่ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น คำถามนี้ ถ้าดิฉันจะตอบว่า ทิฏฐิวิปลาสในวันหนึ่งๆ ถ้าไม่เกิดก็ได้ แต่ว่ายังมี เป็นอนุสัยอยู่ จะถูกไหมคะ

ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
dekvad
วันที่ 19 มิ.ย. 2555

สวัสดีครับพอดีหาข้อมูลทำงานครับ

ขอสาเหตุการเกิดวิปลาส ๓ และ วิธีแก้วิปลาส ๓ ครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
prachern.s
วันที่ 21 มิ.ย. 2555

เรียนคุณ dekvad

สาเหตุของวิปลาส เกิดเพราะมีอวิชชา

ส่วนจะแก้หรือดับวิปลาส ต้องอาศัยการอบรมเจริญวิชชา (ปัญญา) เริ่มตั้งแต่ การฟังพระธรรมจนเข้าใจ อบรมเจริญ รู้ตามความเป็นจริง ตามที่ได้ฟังมา หรือจะใช้คำว่าเจริญโพธิปักขิยธรรม มีการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
pirmsombat
วันที่ 21 มิ.ย. 2555

ตอบความคิดเห็นที่ 11

สวัสดีครับ

สาเหตุของวิปลาส ๓ คือ อวิชชา ครับ คือไม่รู้ตามความเป็นจริง รู้คลาดเคลื่อน (วิปลาส) จากความจริง

วิธีแก้วิปลาส ๓ คือ ปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริง ไม่วิปลาส (คลาดเคลื่อน) จากความเป็นจริง โดยการ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
เซจาน้อย
วันที่ 22 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"การฟังพระธรรมทุกครั้ง เพื่อละความหวัง ละความต้องการ ละการยึดถือธรรมในขณะนี้ว่าเป็นเรา เ ป็นเขาหรือว่าเป็นใคร"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตวิริยะของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
dekvad
วันที่ 29 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
เข้าใจ
วันที่ 1 ก.ค. 2555

กราบอนุโมทนาด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ