โลภมูลจิตในชีวิตประจำวัน
กระผมขอคำอธิบายโลภมูลจิต ๘ ดวง แบบเอาการกระทำในชีวิตจริงของคนเรา เป็นตัวอย่าง เช่น การกระทำแบบนี้ คือโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ทำแบบนี้คือโลภมูลจิตดวงที่ ๒ เรื่อยไปจนถึงดวงที่ ๘ อธิบายแบบนี้น่าจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
ขอความกรุณาท่านผู้รู้ด้วยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โลภะ ความติดข้อง มีทั้งหมด ๘ ดวง ดังนี้ ครับ
ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา (โสมนสฺสสหคตํ) ความรู้สึกดีใจเป็นสุข เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ) คือ มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง (อสงฺขาริกํ) ซึ่งสำหรับดวงนี้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผู้ที่มีความเห็นผิดมาก เมื่อนึกถึงความเห็นผิด เช่น ตายแล้วไม่เกิดอีก เกิดความรู้สึกโสมนัส แช่มชื่นในความเห็นผิดนั้น โดยคิดขึ้นมาเอง อย่างมีกำลัง ครับ
ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลังอ่อนเกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง (สสงฺขาริกํ) ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น ผู้ที่เริ่มมีความเห็นผิด แต่ยังไม่มีกำลัง ได้ยินผู้อื่นกล่าวเรื่องความเห็นผิด ตนเอง เชื่อตาม และคิดด้วยความเห็นผิดนั้น ด้วยความโสมนัส ครับ
ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ) คือ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น เห็นอาหารที่ชอบมาก เกิดความชอบที่มีกำลังและเกิดความรู้สึกโสมนัส แต่ขณะนั้นไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไม่ได้เห็นว่าเที่ยง เป็นต้น เพียงชอบเท่านั้นครับ
ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อนเกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง เช่น เห็นอาหารแล้วชอบ แต่ไม่ได้มีความชอบมาก ที่มีกำลัง แต่มีความรู้สึกโสมนัส ไม่ได้มีความเห็นผิด เกิดเห็นว่าเที่ยง เพียงชอบเท่านั้น ครับ
ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง เช่น เกิดความชอบในความเห็นผิดนั้น โดยที่มีความรู้สึกเฉยๆ คือ เห็นผิดว่าเที่ยง แต่ไม่ได้โสมนัส แต่เฉยๆ แต่เห็นผิดมีกำลัง
ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง เช่น ผู้ที่ฟังความเห็นผิดจากผู้อื่น ตนคล้อยตาม เกิดความเห็นผิด ชอบความเห็นผิดนั้น แต่มีความรู้สึกเฉยๆ
ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง เช่น เกิดความชอบอาหาร แต่ไม่ได้รู้สึกแช่มชื่น แต่รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้มีความเห็นผิด เพียงแต่ชอบ โดยเป็นความชอบที่ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นเลย
ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง เช่น มีผู้กล่าวถึงสิ่งหนึ่ง เกิดความชอบ ที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดขึ้น ด้วยความรู้สึกเฉยๆ ครับ
พอดีมีผู้ฝากถามต่อ ครับ ผู้ฝากถามได้ยินมาว่า พระโสดาบันละโลภมูลจิตได้ ๔ แต่อีก ๔ ต้องพระอรหันต์จึงจะละได้ ถามว่า ๔ ไหน กับ ๔ ไหนบ้าง
ขอความอนุเคราะห์อีกทีครับ ขอบพระคุณครับ
เรียนความเห็น 4 ครับ
โลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง พระโสดาบันละได้ ส่วน โลภะที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง พระอรหันต์ละได้ทั้งหมดครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อนว่า โลภมูลจิต คือ อะไร?
โลภมูลจิต เป็นจิตประเภทที่เป็นอกุศล มีโลภะเกิดร่วมด้วย ซึ่งเป็นจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับความติดข้องต้องการได้จนหมดสิ้น ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้อกุศลจิตประเภทนี้เกิดขึ้น เป็นจิตที่มีโลภะเกิดร่วมด้วย ซึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
โลภมูลจิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แม้จะเกิดขึ้นเป็นไปมากในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อนับแล้วนับอีก ก็ไม่เกิน ๘ ประเภท ทั้งที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีกำลังกล้า มีกำลังอ่อน มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย มีอุเบกขาเวทนา เกิดร่วมด้วย แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป
การดับกิเลส ดับไปเป็นขั้นๆ อย่างเช่น ความเห็นผิด ดับได้ด้วยโสดาปัตติมรรคจิต เมื่อดับความเห็นผิดได้แล้ว โลภมูลจิตประเภทที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ก็เป็นอันถูกดับไปด้วย ถ้าดับโลภะได้อย่างหมดสิ้น โลภมูลจิต ก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ถามครับ
จิตทั้ง 8 ดวงเกิดชึ้นพร้อมกันหรือเกิดขึ้นทีละดวงจนครบ 8 ดวง
ขอบคุณครับ
จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ เกิดขึ้นที่ละขณะ (ดวง) เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และดับพร้อมกัน จิตและเจตสิกเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
โลภมูลจิต เป็นจิตที่เกิดพร้อมโลภเจตสิก จึงทำให้พอใจติดข้องในอารมณ์ เกิดขึ้นทีละขณะ (ดวง) มี ๘ ประเภท ทั้งที่ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีกำลังกล้า หรือ มีกำลังอ่อน มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย หรือ มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย โลภมูลจิตประเภทใดจะเกิด เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป
โลภมูลจิตมี ๘ ประเภท คือ
ดวงที่ ๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา (โสมนสฺสสหคตํ) ความรู้สึกดีใจเป็นสุข เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ) คือ มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง (อสงฺขาริกํ)
ดวงที่ ๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ความรู้สึกดีใจเป็นสุข เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง (สสงฺขาริกํ)
ดวงที่ ๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ความรู้สึกดีใจเป็นสุข ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ) คือ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ความรู้สึกดีใจเป็นสุข ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง