ความเห็นผิดในชีวิตประจำวัน
อย่างไรจึงจัดว่าเป็นความเห็นที่ผิด และจะเกิดความเห็นถูกได้อย่างไร
ความเห็นผิด หรือ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง มี
หลายระดับขั้น เช่น ความเห็นผิดที่มีกำลังมากปฏิเสธบุญบาป ผลของบุญบาป ปฏิเสธ
เหตุผลทั้งหมด หรือมีความเห็นว่าเที่ยง หรือเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตน
ของเรา ทั้งหมดคือความเห็นผิดผู้ที่คบสัตบุรุษ ฟังธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเห็น
ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
ช่วยอธิบายคำ4 คำเหล่านี้ด้วยครับ... (ลักษณะ, รส, ปัจจุปัฏฐาน,ปทัฏฐาน) ... จากข้อความ... มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโยนิโส อภิ
นิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา) มีความยึดถือผิดเป็น
ปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลาย
เป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน กามตาทิปทฏฺฐานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่าง
ยิ่ง.
ขออภัยครับมีเพิ่มเติมคือ... การบูชา และ การบวงสรวง หมายความว่าอย่างไร และทำ
อย่างไรครับ..ข้อความเดิม... ...ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผล
วิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี...
สภาพธรรมที่มีจริง ย่อมมีลักขณาทิจตุกะ ๔ เป็นของแต่ละสภาพธรรม (เว้นพระ
นิพพานไม่มีปทัฏฐาน) ใน ๔ อย่างนั้น ประกอบด้วย ลักษณะ คือลักษณะที่เป็น
ลักษณะที่เฉพาะของธรรมนั้นๆ รสหรือกิจหน้าที่ของธรรมนั้นๆ
ปัจจุปัฏฐาน หมายถึง อาการที่ปรากฏ ปทัฏฐาน หมายถึง เหตุใกล้ให้เกิดของธรรมนั้นๆ คำว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คำเดิมคือ นตฺถิ ทินฺนํ การบูชาไม่มีผล " นตฺถิ ยิฏฐํ (การบูชาใหญ่ แก่ผู้มีคุณ) การบวงสรวงไม่มีผล " นตฺถิ หุตํ (การบูชาเล็ก เช่นต้อนรับแขก) รายละเอียดโปรดอ่านข้อความโดยตรง