นั่งสมาธิกับการได้ฌาน

 
caravanboy
วันที่  19 ก.ย. 2549
หมายเลข  2129
อ่าน  4,345

อยากทราบว่า บุคคลที่นั่งสมาธิแล้ว สมาธินั้นแกร่งกล้าแล้ว เค้าจะได้ฌาน แล้วเค้าวัดกันตรงไหนครับ และสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยกุศลธรรม ส่วนมิจฉาสมาธินั้นประกอบด้วยอกุศลธรรมใช่ไหมครับ

รบกวนขอตัวอย่างอธิบายด้วยครับ ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 ก.ย. 2549

การเจริญสมถภาวนาจิตสงบจนถึงอัปปนาฌาน เป็นเรื่องใหญ่ และยากมาก แม้ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่จะอบรมจนบรรลุฌานเป็นสิ่งกระทำได้แสนยาก คือ ขั้นต้นจะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาและอบรมตามลำดับของการเจริญสมถภาวนา ที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ตั้งแต่การละปลิโพธ การหาอาจารย์ที่มีปัญญา หาอาวาสที่เหมาะสม รู้จักอารมณ์ที่เหมาะกับจริต รู้วิธีการบริกรรมเพื่อให้จิตแนบแน่น รู้จักองค์ของฌาน เป็นต้น มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 19 ก.ย. 2549

เชิญคลิกอ่านได้ที่........

กามาวจรมหากุศลจิต ๘

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 19 ก.ย. 2549

เชิญคลิกอ่านได้ที่.....

โลภสัมปยุตด้วยทิฏฐิ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornchai.s
วันที่ 19 ก.ย. 2549

ผู้ที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา จนถึงขั้นฌาน นั้น ปฏิสนธิจิตต้องประกอบด้วยปัญญา มิฉะนั้น ไม่สามารถจะเจริญสัมมาสมาธิ จนถึงขั้นฌานได้ ก่อนอื่นผู้นั้นจะต้องมีอัธยาศัยที่จะละกาม คือ เห็นโทษของความติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รู้จักอกุศลในชีวิตประจำวันว่า มีมากมาย มีปัญญารู้ว่า จิต ขณะใดเป็นอกุศล จิตขณะใดเป็นกุศลและรู้ว่าอารมณ์ใดเหมาะสำหรับตนเอง ที่จะเจริญกุศลให้แนบแน่นจนถึงขั้นฌาน ซึ่งถ้าไม่ทราบ ก็ต้องมีอาจารย์ที่จะแนะนำได้ ไม่ใช่ว่าในชีวิตประจำวัน เกิดหงุดหงิดในการงาน ได้เจอแต่สิ่งที่ไม่น่าพอใจทะเลาะกับคนนั้น คนนี้ ก็จะหนีไปบวช จะหนีไปเจริญฌาน อย่างนี้ไม่ใช่ปัญญา เป็นเพียงไม่ชอบโทสะ แต่ถ้าเป็นโลภะ เท่าไรก็ไม่พอต้องการเห็นสิ่งที่สวยงาม ต้องการเสียงที่ไพเราะ ต้องการกลิ่นหอม ต้องการอาหารที่อร่อย ต้องการกระทบสัมผัสทางกายที่สบาย ถ้ายังมีความต้องการในสิ่งเหล่านี้เจริญฌานไม่ได้หรอกครับ

แต่บางคนก็คิดวิธีปฏิบัติขึ้นมาเองว่า ถ้าอย่างนั้น " ฉันก็จะไม่ดูหนัง ฟังเพลงไม่ใช้น้ำหอม ไม่กินของอร่อยๆ ไม่นอนบนที่นอนนุ่มๆ " ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญญาที่เห็นโทษของกาม แต่เป็นการ "หนี" โดยไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล เป็นการไม่เข้าใจอัธยาศัยของตนเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 28 ก.ย. 2549

อนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Nareopak
วันที่ 27 ก.ค. 2552

มีเพื่อนคนหนึ่ง ลาออกจากงาน (เขาบอกถึงจุดเบื่อของเขา) ไปอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ฝึกสมาธิ (แบบไหนก็ไม่ทราบ) เมื่อได้สนทนากัน ด้วยความเป็นห่วง จึงเตือนเขาว่าระวังจะเป็นมิจฉาสมาธิ เพื่อนก็โกรธแล้วบอกว่า "เขาระลึกชาติได้ว่าเขาเคยปฏิบัติมาแบบนี้" (ไม่ต้องมาสอน..จบ) เลยไม่อยากจะสนทนากับเขาเรื่องนี้อีกนอกจากมีธุระจริงๆ จะตรงกับที่ท่านความเห็นที่ ๔ กล่าวมาหรือเปล่าค่ะ ที่ว่า "จิตขณะใดเป็นกุศลและรู้ว่าอารมณ์ใดเหมาะสำหรับตนเอง"

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 11 ก.พ. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nui_sudto55
วันที่ 3 เม.ย. 2567

สาธุครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ