อัตถิปัจจัย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนจาการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ตัวอย่างเช่น โลภมูลจิต ดวงที่ ๑
สำหรับปัจจัยต่อไป โดย อัตถิปัจจัย หมายความถึง ธรรมที่เป็นปัจจัย ต้องเป็นปัจจัยโดยสภาพที่ยังมีอยู่ จึงจะเป็นปัจจัยได้ เช่น สหชาตัตถิปัจจัย ได้แก่จิตและเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกันในขณะนั้น เกิดพร้อมกัน คำว่า สหชาต หมายความว่าเป็นปัจจัยโดยเกิดพร้อมกับ ปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้น โลภมูลจิต เป็น สหชาตัตถิปัจจัย แก่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย และ จิตตชรูป เพราะว่าจิตตชรูปต้องเกิดพร้อมกับจิต โลภมูลจิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิก ซึ่งเกิดร่วมด้วย ในขณะที่โลภมูลจิตยังมีอยู่ในขณะนั้น และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับโลภมูลจิตนั้น ก็เป็นปัจจัยแก่ โลภมูลจิตในขณะที่เจตสิก ๑๙ ดวงนั้นยังมีอยู่ในขณะนั้น ยังไม่หมดไป และสำหรับโลภมูลจิตและเจตสิก ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูปก็จะเป็นปัจจัยให้เกิด จิตตชรูปในขณะที่โลภมูลจิตนั้นยังมีอยู่เท่านั้น คือการเป็นปัจจัยโดยสภาพที่เป็นปัจจัยนั้น ต้องกำลังมีอยู่ ชื่อว่า อัตถิปัจจัย
นี่ก็เป็นการทบทวนโดยย่อ ซึ่งถ้าจะคิดถึงสภาพธรรมอื่นก็ย่อมจะพิจารณาได้ เช่น มหาภูตรูป เป็นปัจจัยให้เกิด มหาภูตรูป
มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุไฟ ๑ ธาตุลม ๑
ถ้ายก มหาภูต ขึ้นเป็นปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจยุบบัน
มหาภูตรุป ๑ .........> มหาภูตรูป ๓
ขณะที่มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่ มหาภูตรูป ๓ ต้องเป็นปัจจัยในขณะที่มหาภูตรูป ๑ กำลังมีอยู่ในขณะนั้นเอง เช่นเดียวกับ
มหาภูตรูป ๔ ........> อุปาทายรูป (คือรูปซึ่งอาศัยเกิดกับมหาภูตรูป) มหาภูตรูปที่จะเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปได้ ก็ต้องในขณะที่มหาภูตรูปนั้นยังมีอยู่โดยนัยของ อัตถิปัจจัย
มีข้อสงสัยไหมคะในเรื่องนี้ สภาพธรรมอยู่ที่ตัวเกิดดับโดยปัจจัยต่างๆ พร้อมทั้งรูปภายนอกด้วย และเป็นปัจจัยกันโดย อัตถิปัจจัย ด้วย
สำหรับปัจจัยต่อไปเป็นปัจจัยที่คู่กับ อัตถิปัจจัย ได้แก่ อวิคคตปัจจัย ซึ่งเป็นธรรมซึ่งอุปการะโดยเป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่ยังไม่ปราศไป คือยังไม่จากไป ยังไม่หมดไป ยังไม่สิ้นไป
สำหรับ อัตถิปัจจัย นั้นเป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่ยังมีอยู่ แต่ อวิคคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่ยังไม่ปราศไป คือยังไม่หมดไป เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่ด้วยกันในขณะนั้นก็จริง แต่ว่าอาจจะปราศไป คือจากสภาพธรรมอื่นซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น ขณะไหนก็ได้ ถ้าเป็นโดยลักษณะนั้นไม่ใช่ อวิคคตปัจจัย แต่ถ้าโดย อวิคคตปัจจัย แล้ว หมายความว่าสภาพธรรมที่เป็นปัจจัย นอกจากจะเป็นปัจจัยโดย อัตถิปัจจัย เพราะโดยเป็นสภาพที่ยังมีอยู่แล้ว ยังต้องเป็นปัจจัย โดยเป็น อวิคคตปัจจัย คือถึงมีอยู่ ก็ยังไม่ปราศไปด้วย
อันนี้ก็คงไม่เป็นที่สงสัยนะคะ ระหว่าง จิต กับ เจตสิก เวลาที่จิตเกิด ในขณะที่จิตมีเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้ เจตสิก เกิดพร้อมกัน ในขณะที่จิตนั้นยังมีโดยเป็น อัตถิปัจจัย และในที่จิตเกิดขึ้นนั้นเป็นปัจจัยให้ เจตสิกเกิดร่วมด้วยพร้อมกันในขณะนั้น นอกจากจะเป็นโดย อัตถิปัจจัย แล้ว ยังเป็นโดย อวิคคตปัจจัย คือโดยที่จิตนั้นยังไม่ปราศไป ยังมีอยู่และยังไม่ปราศไป
ข้อความบางตอนจาการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
สำหรับปัจจัยทั้ง ๒๔ ปัจจัย
โดยสรุป ปัจจัยทั้งหมด โดยสังเขป ซึ่งเป็นปัจจัยใหญ่ มีอยู่ ๔ ปัจจัยเท่านั้น
คือปัจจัยทั้งหมดรวมอยู่ใน
อารัมณปัจจัย ๑
อุปนิสสยปัจจัย ๑
กรรมปัจจัย ๑
อัตถิปัจจัย ๑
และได้กล่าวแล้วก็คือ อารัมณปัจจัย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมทั้งหลายแม้ว่ามีจริง แต่ถ้าไม่ปรากฏเป็นอารมณ์ ย่อมไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้นปัจจัยทั้งหมดที่ทรงแสดงไว้ที่สามารถจะรู้สภาพความจริงของปัจจัยนั้นๆ ก็ต่อเมื่อเป็นอารมณ์ คือเป็น อารัมณปัจจัย ๑ นอกจากนั้นก็เป็น อุปนิสสยปัจจัย ที่กำลังกล่าวถึง และต่อไปคือ กรรมปัจจัย และ อัตถิปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัย ๒๔ โดยสรุป โดยสังเขปก็มีอยู่ ๔ อย่าง
วันหนึ่งๆ อย่าลืมนะ ปัจจัยทั้งนั้น ถ้าสติระลึกก็รู้ แต่ถ้าสติไม่ระลึก ไม่มีทางจะรู้ได้เลยว่า แท้ที่จริง ก็คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งต่างเป็นปัจจัย โดยปัจจัยต่างๆ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง แม้ในขณะนี้เอง
เหตุปัจจัยมี อารัมณปัจจัยมี อนันตรปัจจัยมี สมันตรปัจจัยมี สหขาตปัจจัยมี อัญญมัญญปัจจัยมี นิสสยปัจจัยมี อุปปนิสสยปัจจัย ก็มี รู้เมื่อไรก็จริงเมื่อนั้น มีจริงๆ เป็นจริงๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคลเลย
วันหนึ่งๆ อย่าลืมนะปัจจัยทั้งนั้น
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทาง คุณเซจาน้อย และทุกท่านครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สภาพธรรมเกิดแล้ว มีแล้วในขณะนี้ จากที่ไม่มี แล้วเกิดมีเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไปไม่มีอะไรเหลือ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง (เพราะเกิดดับ) เมื่อไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ (เพราะทนอยู่ไม่ได้ คือเกิดแล้วต้องดับไป) และเป็นอนัตตา (ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร)
"เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด"
"เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ"
๑. ปฏิจจสมุปปาทนัย นัยแห่งปฏิจจสมุปบาท
"ธรรมที่ชื่อว่าปัจจัย เพราะอรรถว่า เป็นแดนอาศัยเป็นไปแห่งผลฯ
๒. ปัฏฐานนัย นัยแห่งปัฏฐานฯ
"ธรรมที่ชื่อว่าปัจจัย เพราะปรารถฐิติ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งอยู่แห่งผล
โดยมีความเป็นไปเนื่องด้วยเหตุนั้นฯ"
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ