ธรรมทายาทได้รับสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน

 
pirmsombat
วันที่  3 ก.ค. 2555
หมายเลข  21344
อ่าน  1,333

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ธรรมทายาทได้รับสรรเสริญด้วยเหตุ สถาน

(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่

อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประ-

มาณเท่าไร? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว

สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมศึกษาความสงัดตามคือ (สาวกทั้งหลาย)

ย่อมละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ

ไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัย ด้วยลาภ) ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน

ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕

มีใจน้อมไปในความสงัด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระ อัน

วิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง

ผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อัน

วิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า สาวกทั้งหลายย่อมละธรรม

ทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่

เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ

ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้

ปานกลาง ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังใหม่ เป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ

ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรร-

เสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว

สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ละธรรม

ทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ใหม่ทั้งหลาย

เป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า

สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ)

ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕

มีใจน้อมไปในความสงัด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย

เหตุ ๓ สถานเหล่านี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด

แล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kinder
วันที่ 4 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ

ขออนุญาตสอบถามนัยของคำว่า "มีใจน้อมไปในความสงัด" ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

เป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า

สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ)

ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕

มีใจน้อมไปในความสงัด

-----------------------------------------------------------------------------

ซึ่ง ความสงัด หรือ วิเวก นั้น มีความละเอียดลึกซึ้ง ที่เป็น วิเวก 3 ประการ คือ

กายวิเวก จิตวิเวก และ อุปธิวิเวก

กายวิเวก คือ การหลีกเร้นทางกาย อยู่ผู้เดียว เป็นต้น แต่อยู่ผู้เดียวด้วยความเข้าใจ

และ มีอัธยาศัยที่จะหลีกเร้น ซึ่ง โดยมาก เป็นของพระภิกษุ ไม่ใช่เพศฆราวาส

จิตวิเวก คือ ความสงัดแห่งจิต จากอกุศล ชั่วขณะ นั่นคือ ขณะที่เป็นฌาน เป้นต้น

สงบจากนิวรณ์ อกุศลธรรม ชื่อว่า จิตวิเวก

อุปธิวิเวก คือ ความสงัด จากกิเลสทั้งปวงและสภาพธรรม อุปธิวิเวก จึงชื่อว่าเป็น

พระนิพพาน

ซึ่งในอรรถกถาได้อธิบาย ธรรม 3 อย่างที่ควรสรรเสริญ อันเป็นธรรมทายาท คือ เป็น

ทายาทโดยธรรม ไม่ใช่โดยอามิส ด้วยน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม 3 อย่างที่

สาวก ประพฤติแล้ว ควรสรรเสริญ คือ สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ)

ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด

ในอรรถกถาได้อธิบาย มีใจน้อมไปในความสงัด (วิเวก) ว่ามุ่งหมายถึง อุปธิวิเวก

ไม่ใช่แค่ กายวิเวก หลีกเร้นผู้เดียว ไม่ใช่แค่ จิตวิเวก คือ การอบรมฌาน ครับ ดังนั้น

การน้อมไปในความสงัด คือ อุปธิวิเวก คือ การน้อมไปในพระนิพพานนั่นเอง ซึ่ง การ

จะน้อมไปในพระนิพพาน คือ เข้าใกล้ หรือจะถึงพระนิพพานได้ ก็ด้วยการอบรมปัญญา

ที่เป็นอริยมรรค หรือการเจริญสติปัฏฐาน ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้

ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ครับ ขณะที่ สติเกิดรู้ความจริงในแต่ละขณะ ขณะนั้น ชื่อว่า มีใจ

น้อมไปในความสงัด มีใจน้อมไปในวิเวก คือมีใจน้อมไปในอุปธิวิเวก มีใจน้อมไปในพระ

นิพพาน ด้วยข้อปฏิบัติที่จะทำให้ถึงพระนิพพานนั่นเองครับ

ดังนั้น หากไม่อ่านโดยละเอียด ก็คิดว่าจะต้องไปหลีกเร้น ไปอบรมฌาน จึงจะน้อม

ไปในวิเวก สงัด แต่ในความเป็นจริง วิเวกมีหลายความหมายตามที่กล่าวมา

พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญสูงสุด คือ การดับกิเลส ถึงพระนิพพาน การเจริญสติปัฏ

ฐาน จึงชื่อว่า น้อมไปในความสงัด ครับ ซึ่งก็ต้องเริ่มจากการเข้าใจพระธรรม โดยเริ่ม

จากการฟังใหเข้าใจ ขณะที่เข้าใจพระธรรม แต่ละขณะ ก็ชื่อว่าสงัด จากอกุศล ทีละเล็ก

ละน้อย เพราะปัญญาเกิด จนถึง สติปัฏฐานเกิด ชื่อว่า มีใจน้อมไปในความสงัด ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง โดยละเอียด โดยประการทั้งปวง ตลอด

๔๕ พรรษานั้น เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสของตน

เอง จนกว่าจะถึงกาละที่สามารถจะละกิเลสได้จนหมดสิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความติด

ข้องที่มีมากๆ พร้อมทั้งมีสภาพธรรมที่กางกั้นไม่ให้จิตเป็นกุศลประการอื่นๆ ไม่สามารถ

ขัดเกลาด้วยอย่างอื่น ต้องด้วยการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น แล้วปัญญาจะมาจาก

ไหน ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ซึ่งทั้งหมด

พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ป้องกันไม่ให้ผู้ฟังผู้ศึกษาคิดเอาเอง จึงสำคัญที่ความเข้าใจถูก

เห็นถูกของผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเป็นสำคัญ เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น เจริญขึ้นไป

ตามลำดับ เมื่อถึงรู้แจ้งอริยสัจจธรรมประจักษ์แจ้งพระนิพพาน ก็จะเป็นผู้ที่สงัดจาก

กิเลสได้จริงๆ ตามระดับขั้นของมรรคที่เกิดขึ้น กิเลสใดๆ ที่ดับได้แล้ว ก็ไม่สามารถ

เกิดได้อีกในสังสารวัฏฏ์ ที่สำคัญอย่างยิ่ง การมีศรัทธาที่จะฟัง ที่จะศึกษาพระธรรม

ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ย่อมน้อมไปสู่ความเป็นผู้สงัดจาก

กิเลสได้ในที่สุด ครับ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pirmsombat
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผู้ร่วมเดินทาง คุณผเดิม คุณคำปั่น

และ

ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
หลานตาจอน
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ความสงัดเป็นสุขของผู้ยินดี มีธรรมอันได้สดับแล้วพิจารณาเห็นอยู่

ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขในโลก

ความปราศจากราคะ คือล่วงเสียซึ่งกามทั้งหลายเป็นสุขในโลก

แต่การกำจัดอัสมิมานะ เป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตวิริยะของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ