ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก

 
pirmsombat
วันที่  4 ก.ค. 2555
หมายเลข  21347
อ่าน  1,012

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก

ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น

ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ

เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น

จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโสโกโธดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้อง

ละเหล่านั้น.

(๑) โกธะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเดือดดาลหรือความดุร้าย

มีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย

(๒) อุปนาหะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่

คือไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธ

ติดต่อเรื่อยไป สมด้วยคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิด

ก่อน อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.

(๓) มักขะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือ ลบหลู่คนอื่น หีหน้าที่

คือทำคุณของคนอื่นนั้นให้พินาศ (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการ

ปกปิดคุณของคนอื่นนั้น.

(๔) ปฬาสะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการถือเป็นคู่แข็ง (ตี

เสมอ) มีหน้าที่คือการทำคุณของตนให้เสมอกับคุณของคนอื่น (และ)

ผลที่ปรากฏออกมาคือความปรากฏโดยการชอบประมาณ (ตีค่า) เทียบ

คุณของคนอื่น.

(๕) อิสสามีลักษณะ (เฉพาะ) คือความริษยาต่อสมบัติของ

คนอื่น หรือไม่ก็ทนไม่ได้ต่อสมบัติของคนอื่นนั้น มีหน้าที่คือความไม่

ยินดียิ่ง ในสมบัติของคนอื่นนั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ

เบือนหน้าหนีจากสมบัติของคนอื่นนั้น.

(๖) มัจเฉระมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการซ่อนเร้นสมบัติ

ของตน มีหน้าที่คือความไม่สบายใจ เมื่อสมบัติของตนมีคนอื่นร่วมใช้

สอยด้วย (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเคืองแค้น.

(๗) มายามีลักษณะ (เฉพาะ) คือปกปิดบาปที่ตนเองกระทำ

แล้ว หน้าที่คือซ่อนเร้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น (และ) ผลที่ปรากฏ

ออกมาคือการปิดกั้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น.

(๘) สาเถยยะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการชอบเปิดเผยคุณ

ที่ตนเองไม่มี มีหน้าที่คือการประมวลมาซึ่งคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้น

(และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการทำคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้นให้ปรากฏ

ออกมาแม้โดยอาการทางร่างกาย.

(๙) ถัมภะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความที่จิตผยอง มีหน้าที่

คือพฤติการที่ไม่ยำเกรง (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่อ่อนโยน.

(๑๐) สารัมภะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการทำความดีให้

เหนือไว้ มีหน้าที่คือแสดงตนเป็นข้าศึกต่อคนอื่น (และ) ผลที่ปรากฏ

ออกมาคือความไม่เคารพ.

(๑๑) มานะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่

คือความถือตัวว่า เป็นเรา (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความจองหอง

(๑๒) อติมานะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มี

หน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเราจัด (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ

หยิ่งจองหอง.

(๑๓) มทะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความมัวเมา มีหน้าที่คือ

ความยึดถือด้วยการมัวเมา (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความคลั่งไคล้

(๑๔) ปมาทะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการปล่อยจิตไปใน

เบญจกามคุณ มีหน้าที่คือการกระตุ้นให้ปล่อยจิตมากขึ้น (และ) ผล

ที่ปรากฏออกมาคือความขาดสติ.

นักศึกษาพึงทราบถึงลักษณะเป็นต้น ของธรรมเหล่านี้ดังกล่าวมา

นี้เถิด ที่กล่าวมานี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึง

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถกตโมโกโธ

ดังนี้เป็นต้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เข้าใจ
วันที่ 4 ก.ค. 2555

ขอธรรมที่น่าติเตียนเหล่านี้ จงอย่าได้เกิดมีแก่เครื่องปรุงแต่งจิตแห่งเราเลย สาธุ

กราบอนุโมทนากับการเห็นโทษภัยของอกุศลธรรมเหล่านี้ด้วยครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 4 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 4 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผิน
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 5 ก.ค. 2555

เป็นอกุศลที่ละเอียดมากครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pirmsombat
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทาง คุณคำปั่นและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างๆ โดยไม่ปะปน

กันซึ่งไม่พ้นไปจากนามธรรม และ รูปธรรม เลย และมีจริงในขณะนี้ด้วย เมื่อกล่าวถึง

สิ่งที่จะต้องละ แล้ว ย่อมหมายถึงอกุศลธรรมทุกประเภท อกุศลธรรม เป็นธรรมที่

ไม่ดี ไม่งาม ไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมทั้งให้ผลเป็นทุกข์ แต่จะละได้

อย่างไร ถ้าไม่มีปัญญา อกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง ที่มี จะสามารถดับได้ ก้ต้อง

ด้วยปัญญา แต่การละอกุศลธรรมจนหมดสิ้น เป็นเรื่องที่ไกลมาก ถ้าเห็นประโยชน์

ของพระธรรม เห็นคุณค่าของปัญญา ซึ่งเป็นธรรมที่สามารถดับอกุศลได้จริงๆ

ก็มีความเพียร มีความอดทนที่จะฟัง ที่จะอบรมเจริญปัญญา ดำเนินตามหนทางที่ถูก

ต้องต่อไป ทั้งหมดนี้ก็จะน้อมไปสู่การละอกุศลธรรมได้ในที่สุด แม้ในขณะที่กุศล

ธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ก็สามารถละได้ชั่วคราว ละได้ชั่วขณะ แต่ที่จะละได้เด็ดขาดจริงๆ

ต้องในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น ดังนั้น หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้นที่จะ

เป็นไปเพื่อการขัดเกลาอกุศลธรรมจนกระทั่งสามารถดับได้อย่างหมดสิ้น ครับ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่าน ด้วยครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ