การอบรมเจริญสติปัฏฐานที่ถูกทาง [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
ธุลีพุทธบาท
วันที่  7 ก.ค. 2555
หมายเลข  21367
อ่าน  1,675

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น)

สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ ตอนที่ ๑

คำถาม : ควรอบรมเจริญสติปัฏฐานอย่างไรจึงจะถูกทาง โดยเฉพาะการอบรมเจริญ "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"?

คำตอบ : ทวารมีอยู่ ๖ ทาง คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ซึ่งวัตถุ หรือ สิ่งของใดๆ ก็สามารถปรากฏลักษณะของตนเองผ่านทางทวารทั้ง ๖ นี้ประชุมกันเป็นโลกซึ่งปรากฏแก่เรา ซึ่งความจริง ก็คือมี โลก ๖ (หมายถึง อารมณ์ ๖ ซึ่งได้แก่ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์) ที่กำลังปรากฏผ่านทาง ๖ ทวารนี้ ซึ่งถ้าไม่มีโลก ๖ ก็ไม่สามารถที่เราจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้เลยในขณะนี้มีเห็น แต่ไม่มีใครรู้เห็น ว่าเป็นความจริงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่สามารถรู้ได้ ซึ่งแตกต่างจากความคิดนึก และการได้ยิน อะไรก็ตามที่ปรากฏผ่านทางตา คือสิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่งต่างจาก เสียง ผู้ที่พิจารณาความจริงในขณะที่เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ทางกาย หรือคิดนึก จะไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสติปัฏฐานทั้ง ๔ ซึ่งได้แก่ สติที่เกิดขึ้นระลึกลักษณะความจริงของกาย เวทนา จิต และธรรม อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับชื่อของสติปัฏฐาน ๔ เกี่ยวกับความหมายของสติ แต่จะไม่สงสัยเกี่ยวกับความจริงเลย ผู้ที่พิจารณาความจริง ก็จะทราบว่ามีความจริงของกาย และก็มีรูปซึ่งกำลังปรากฏซ้ำๆ เป็นปรกติทางกาย ซึ่งรูปกำลังปรากฏตลอดทั่วทั้งหมดในกาย ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ก็คือธรรม คือความจริง จิตก็สามารถที่จะรู้ความจริง ซึ่งปรากฏผ่านทางกายปสาท เมื่อมีการกระทบสัมผัสของกายก็เป็นเรื่องยากที่จะถ่ายถอนความจำผิดว่าเป็นเรา เมื่อรูปเย็นซึ่งกระทบส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแล้วก็หมดไปทันที แต่ก็ยากที่จะเข้าใจถูกตามความเป็นจริงอย่างนี้ได้

ก็ยังมี “เราที่กำลังนั่งอยู่” มีความจำว่าเป็น แขน ขา ศรีษะ ร่างกายทั้งหมดเพราะความเห็นผิด ว่าเป็นเรา สัตว์บุคคล ตัวตน ยังไม่ดับเป็นสมุจเฉท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สติที่เกิดขึ้นระลึกลักษณะของความจริงซึ่งกำลังปรากฏทีละขณะทางกายขณะนั้น คือ กายนุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ ก็ไม่ใช่สิ่งอื่น แต่คือการระลึกศึกษาลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ควรที่จะเลือกระลึกศึกษาเฉพาะสิ่งหนึ่ง (เช่น เฉพาะทางกาย) เพราะว่า นั่นคือ การติดข้องด้วยความเป็นเรา ด้วยคิดว่าจะสามารถเลือกให้เป็นอย่างใด อย่างหนึ่งได้ ไม่มีใครที่สามารถบังคับให้สติเจาะจงเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือธรรมหนึ่งธรรมใด แต่สติเองเท่านั้นที่เกิดขึ้นระลึกรู้สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ สติที่ระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือ จิตเห็น ในขณะที่กำลังเห็น ขณะนั้นไม่ใช่กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสติกำลังระลึกรู้อะไรอยู่ ไม่มีวิธีการที่จะบอกเฉพาะเจาะจงให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้เพื่อที่จะให้เกิดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน และก็ไม่มีวิธีการทั้งหมดให้ทำตามอย่างนั้น หนทางเดียวที่สติปัฏฐานจะเจริญขึ้นได้ คือ การค่อยๆ เข้าใจความจริงซึ่งกำลังปรากฏขณะนี้ ทีละเล็กละน้อย สติสามารถที่จะระลึกรู้ความจริงอะไรก็ตามที่กำลังปรากฏเช่น ขณะนี้ที่กำลังมีการเห็น ก็อาจมีการระลึกลักษณะของความรู้สึก ขณะที่กำลังระลึกรู้ลักษณะของความรู้สึก ขณะนั้นไม่ใช่การระลึกลักษณะของกาย หรือลักษณะของจิต (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) แต่ภาษาบาลีใช้คำว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งหมายถึง การพิจารณา หรือ การศึกษาสังเกตลักษณะของความรู้สึก แสดงให้เห็นถึงว่า ปัญญาสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เมื่อสติเกิดขึ้นระลึกลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะถ้ายังไม่เคยระลึกลักษณะของความรู้สึก ก็ยังคงยึดถือความรู้สึกว่าเป็นเราอยู่ต่อไป

แปลโดย : คุณวิทวัต เสวกาพานิช


.ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 7 ก.ค. 2555

Namo tassa Bhagavato Arahato Sammā Sambuddhassa

Homage to Him, the Blessed One, the Worthy One,

the Fully Enlightened One


Question : How should we practice in the right way satipatthana, and in

particular Mindfulness of Body?

Answer : There are six doors of the eyes, ears, nose, tongue, bodysense

and mind. The objects presenting themselves through these six doors

constitute the "world" which appears to us; in fact there are six worlds

appearing to the six doors. If there were not those six worlds we would not

experience anything. At this moment there is seeing, but one may not know

seeing as it is: only a type of reality, a kind of experience, different from

thinking or hearing. What appears through the eyes is visible object, and this

is different from sound.

The person who realizes the truth at the moment of seeing, hearing, smelling,

tasting, experiencing tangible object or thinking, will not have any doubts

about the four Applications of Mindfulness: Mindfulness of Body, of Feeling, of

Citta and of Dhammas. There may be doubts about the names of the four

Applications of Mindfulness, about concepts, but not about realities. The

person who realizes the truth knows that there are realities of the body, rupas,

which are appearing time and again. The rupas appearing all over the body,

from head to toes, are dhammas, realities. Citta can experience the reality

which appears through the bodysense when the body is touched. It is difficult

to eliminate the wrong remembrance of self. When the rupa which is cold

impinges on a certain part of the body, it falls away immediately, but it is

difficult to realize this. There is still remembrance of, "It is I who is sitting",

there is still remembrance of arms, legs, head, of the body as a whole. The

wrong view of self has not been eradicated. The Buddha explained that, when

sati arises and is aware of the characteristic of the reality which is appearing,

one at a time, through the bodysense, there is at such a moment the

Application of the Mindfulness of the Body. The Four Applications of

Mindfulness are not something else but mindfulness of what appears through

the eyes, the ears, the nose, the tongue, the bodysense or the mind. People

should not select the object of mindfulness, because then there is clinging to

an idea of self who can select such an object. Nobody can direct sati to a

particular object, it is sati itself which is aware of such or such object. Sati can

be aware of what appears through the eyes or of seeing at this moment when

there is seeing. At such a moment there is not Mindfulness of Body. There can

be Mindfulness of Dhammas or Mindfulness of Citta, depending on conditions.

There is no method which tells one to do particular things in order to have

Mindfulness of Body, of Feeling, of Citta or of Dhammas. There is no method at

all to be followed. The only way to develop satipatthana is to gradually

understand the realities which are appearing. Sati can be aware of whatever

reality is appearing. For example, when there is seeing, there may be

awareness of feeling. When there is awareness of the characteristic of feeling,

there is at that moment not Mindfulness of Body or Mindfulness of Citta. The

Pali term used in this context is vedananupassana satipatthana, meaning:

consideration or observation of feeling. This shows that panna develops by

being mindful, by considering the characteristics of realities. If people never

are aware of the characteristic of feeling, they will continue to take feeing for

self.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wittawat
วันที่ 8 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนา ทางมูลนิธิฯ และทีมงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดที่ช่วยกันตรวจสอบและดำเนินเรื่องให้การแปลนี้สำเร็จได้ ทางทีมงานใคร่จะยกส่วนที่สำคัญที่มาจากกระทู้ของเว็บไซด์บ้านธัมมะภาคภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะแปลให้ผู้ศึกษาธรรมผ่านทางเว็บไซด์ภาคภาษาไทยได้อ่านเพื่อเข้าใจธรรม และเป็นประโยชน์ ให้ได้ทราบมุมมองอีกมุมว่าผู้ศึกษาธรรมชาวต่างประเทศที่ได้ศึกษากับทางมูลนิธิฯ ได้รับประโยชน์จากการศึกษาธรรมเช่นไรบ้าง ซึ่งแม้จะศึกษาแตกต่างภาษาก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะ ของทีมงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 8 ก.ค. 2555

เป็นประโยชน์จริงๆ ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
aurasa
วันที่ 8 ก.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 9 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เข้าใจ
วันที่ 21 ก.ค. 2555

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ