ผู้ไม่สังวรเป็นผู้มักมาก ผู้สังวรไม่เป็นผู้มักมาก

 
pirmsombat
วันที่  25 ก.ค. 2555
หมายเลข  21471
อ่าน  2,125

ข้อความบางตอนจาก ..

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๓๔

ผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้มักมากในปัจจัย

หลายบทว่า ทุพฺภรตายฯเปฯโกสชฺชสฺสอวณฺณํภาสิตฺวา มีความว่า ตรัสโทษคือข้อที่น่าตำหนิ ได้แก่ข้อที่น่าติเตียนแห่งอสังวรซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเสียหาย มีความเป็นผู้เลี้ยงยากเป็นต้น จริงอยู่ตนของบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็นสภาพที่เลี้ยงยากและบำรุงยาก เพราะเหตุนั้น

อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงยาก และความเป็นผู้บำรุงยาก

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔ และได้ปัจจัยทั้งหลาย แม้มีประมาณเท่าเขาสิเนรุแล้ว ก็ยังถึงความเป็นผู้ไม่สันโดษ เพราะเหตุนั้น

อสังวรท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้มักมาก และความเป็นผู้ไม่สันโดษ

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ และเพื่อความหมักหมมด้วยกิเลส ทั้งย่อมเป็นสภาพเป็นไปตามความเกียจคร้าน คือเป็นไปเพื่อยังวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านแปดอย่างให้บริบูรณ์ * เพราะเหตุนั้น

อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความคลุกคลีและความเกียจคร้าน

ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย

หลายบทว่า สุภรตายฯ เปฯ วิริยารมฺภสฺสวณฺณํภาสิตฺวา มีความว่า ทรงสรรเสริญคุณแห่งสังวร อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นต้น จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นสภาพที่เลี้ยงง่ายบำรุงง่าย ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย คือหมดความทะยานอยากในปัจจัย ๔ และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปสันโดษ ในปัจจัยอย่างหนึ่งๆ เพราะเหตุนั้น

สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ความเป็นผู้บำรุงง่าย ความมักน้อย และ ความสันโดษ

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ขัดเกลากิเลส และความเป็นผู้กำจัดกิเลสออก เพราะเหตุนั้น

สังวรท่านจึงเรียกว่า ความขัดเกลา และความกำจัด

อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ไม่เข้าไปใกล้กายทุจริต และวจีทุจริต ซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ไม่สงบ ไม่เรียบร้อยแห่งกายและวาจา และไม่เข้าไปใกล้อกุศลวิตก ๓ ซึ่งไม่ชวนจิตให้เกิดความผ่องใส คือ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผ่องใสแห่งจิต ไม่สงบ ไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์แห่งกายสุจริต วจีสุจริต และกุศลวิตก ๓ ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย เพราะเหตุนั้น

สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
kinder
วันที่ 25 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 25 ก.ค. 2555

ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร

ย่อมเป็นสภาพที่เลี้ยงง่ายบำรุงง่าย

ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย

คือหมดความทะยานอยากในปัจจัย ๔

และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ

น้อมนำมาพิจารณาตนได้ดีทีเดียวครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 25 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 26 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เข้าใจ
วันที่ 5 ส.ค. 2555

อสังวร เป็นผู้ไปตามน้ำ สังวร เป็นผู้ทวนกระแสน้ำ

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
munlita
วันที่ 10 ส.ค. 2555

...อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ และเพื่อความหมักหมมด้วยกิเลส ทั้งย่อมเป็นสภาพเป็นไปตามความเกียจคร้าน คือเป็นไปเพื่อยังวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านแปดอย่างให้บริบูรณ์

เรียนถามท่านผู้รู้ว่าแปดอย่างที่ว่านี้ได้แก่อะไรบ้างหรือคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 10 ส.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 21471   ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น   ๘ อย่างที่ว่านั้น ได้แก่ ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านซึ่งจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดมากยิ่งขึ้น ครับ   ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มได้ที่นี่ครับ   ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน : กุสีตวัตถุ ๘ [อัฏฐกนิบาต]   ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
munlita
วันที่ 11 ส.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 4 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ