สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

 
ชะอมทอดกรอบ
วันที่  9 ส.ค. 2555
หมายเลข  21535
อ่าน  7,334

สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ เราใช้อะไรตัดสินครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 ส.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงลักษณะของความเป็นจริงของธรรมไม่ได้ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น แม้แต่ในเรื่องของความควร ความไม่ควร ย่อมไม่พ้นไปจากธรรม

สิ่งที่ควร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นกุศลธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่ไม่ควรนั้น เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดี นี้คือ ความเป็นจริงของธรรม

ทั้งกุศล และ อกุศล ไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ตาม ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น กุศล เป็น กุศล, อกุศล ย่อมเป็น อกุศล แต่เพราะไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงมีการถือผิดจากความเป็นจริง เห็นว่า อกุศลเป็นสิ่งที่ดี เป็นต้น ซึ่งเป็นความเห็นที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม และที่สำคัญลืมไม่ได้เลย คือ สิ่งที่ดี หรือไม่ดี ก็เป็นสัจจธรรม เป็นความจริง ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถึงแม้ว่าคนอื่นจะบอกว่า กุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดี หรือ อกุศล เป็นสิ่งที่ดี สภาพธรรมเหล่านั้น ก็ไม่เป็นไปตามอย่างที่คนอื่นว่า เพราะความจริงเป็นความจริง

สภาพธรรมที่จะรู้ถึงความควร ความไม่ควร นั้น ต้องเป็นปัญญา (ความเข้าใจถูกเห็นถูก) เท่านั้น บุคคลผู้มีปัญญา ย่อมรู้ว่า อะไรควร อะไรไม่ควร แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องยิ่งๆ ขึ้น เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล และเห็นคุณค่าของกุศลธรรม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่ประมาทในการสะสมความดีประการต่างๆ จึงเป็นเสมือนมีเครื่องปกครอง หรือเครื่องนำทางชีวิตที่ดีกว่า สิ่งนี้ท่านควรทำ สิ่งนี้ท่านไม่ควรทำ สิ่งนี้ควรอบรมให้เจริญมากขึ้น เป็นต้น เพราะปัญญาที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นนั่นเอง

แล้วปัญญาจะมาจากไหน ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่ต้องอาศัยเหตุ คือ การฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จากกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา โดยไม่ขาดการฟัง ไม่ขาดการพิจารณาไตร่ตรองพระธรรม เพราะการฟังพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ เท่านั้น จึงจะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งปัญญาในชีวิตประจำวันได้ ครับ.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อะไรเลือก

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การจะตัดสินว่าอะไรควรหรือไม่ควรในชีวิตประจำวัน พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ไว้ นั่นคือ การกระทำทางกาย วาจาและใจ ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนเบียดเบียนกับตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อความเดือดร้อน เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนและเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย นี่คือ สิ่งที่ควรทำ และ สิ่งที่ไม่ควรทำ คือ การกระทำทางกาย วาจาและใจที่เบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนผู้อื่น และเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะฉะนั้น อะไร คือ สิ่งที่ทำให้เดือดร้อนเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น ไม่ใช่ตัวเรา และผู้อื่นแน่นอนครับที่ทำให้เดือดร้อน แต่ คือ สภาพธรรม ที่ไม่ดี คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในจิตใจ ของบุคคลนั้นเอง ที่ทำให้เดือดร้อนเบียดเบียนตนเองในขณะนั้น และกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตใจที่มีกำลังจนทำให้ล่วงออกมาทางกาย วาจา ก็ทำให้เดือดร้อน เบียดเบียนผู้อื่น เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า การกระทำทางกาย วาจาและใจ ที่เกิดเพราะ กิเลส เพราะ อกุศลธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรกระทำ

ส่วนสิ่งที่ควรทำ คือ การกระทำทางกาย วาจาและใจ ที่ไม่เดือดร้อนตนเอง ผู้อื่น คือ สภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็นกุศลธรรม ที่เป็นศรัทธา ศีล เมตตา ปัญญา เป็นต้น เพราะ ขณะนั้นไม่ประทุษร้าย ไม่ทำร้ายใจของบุคคลนั้นเอง และ ขณะที่กิเลสไม่เกิด กุศลเกิด ขณะนั้น ย่อมีการกระทำทางกาย วาจา และใจที่ดีต่อบุคคลอื่นด้วย

พระธรรมของพระพุทธเจ้า ที่เป็นปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธองค์ที่เป็นสัจจะ ความจริง ที่ออกมาจากพระปัญญาแต่ละคำ จะเป็นเครื่องดำเนินชีวิต และ เป็นเครื่องตัดสินความถูกต้อง เพราะ ทำให้ผู้ได้รับฟังเกิดปัญญาความเห็นถูก ครับ ขออนุโมทนา

ประโยชน์ที่ควรได้พิจารณาในเรื่องนี้ คือ ความเข้าใจถูกว่า ไม่มีเราที่จะตัดสินว่าอะไรถูก อะไรผิด แต่มีแต่เพียงธรรมที่เป็นไป ทำหน้าที่ ที่ตัดสินความถูก ผิด คือปัญญา ความเห็นถูก และไม่มีเราที่จะสามารถบังคับได้ว่า จะทำให้ถูก หรือ จะทำให้ผิด แม้จะรู้ว่า ควร หรือ ไม่ควร แต่เป็นเพียงการรู้ในขั้นการฟังเท่านั้น เช่น รู้ว่าโกรธ ไม่ดี แม้รู้ว่าไม่ควร แต่กิเลส ความโกรธก็เกิด หนทางที่ถูก คือ รู้จักความไม่ควร คือความไม่ดีที่เกิดขึ้นในจิตใจที่ถูกต้องว่า ไม่ใช่เราที่ทำสิ่งที่ไม่ดี ทำสิ่งที่ไม่ควร แต่เป็นเพียงธรรม ที่ไม่ใช่เราที่ไม่ดี ทำสิ่งไม่ควร ครับ และ โดยนัยตรงกันข้าม ก็เข้าใจถึงสิ่งที่ควร ที่ทำความดี ว่าไม่ใช่เราที่ทำดี เพราะ หากไม่เข้าใจ ก็ยึดถือความดี การทำสิ่งที่ควรว่าเป็นเรา ก็ไม่พ้นจากความไม่ควร ความไม่ดี คือ ความเห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคลได้ ดังนั้น การรู้จัก การกระทำทางกาย วาจาและใจ ที่เป็นสิ่งที่ควร ไม่ควร ที่เป็นกุศล และ อกุศลตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ย่อมค่อยๆ ละความไม่ควรที่ร้ายแรงที่สุด คือ ความไม่รู้ได้ในที่สุด จนถึง ความเป็นผู้กระทำสิ่งที่ควรได้อย่างหมดจด คือถึงความเป็นพระอรหันต์ด้วยปัญญา ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 11 ส.ค. 2555

หลักธรรม เท่านั้นที่เป็นเครื่องตัดสิน....ผิด ถูก ดี เลว

สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร

ถ้าไม่ศึกษาธรรม ก็ไม่มีหลักใดๆ ไปตัดสินได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kinder
วันที่ 11 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 12 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
daris
วันที่ 12 ส.ค. 2555

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
rrebs10576
วันที่ 14 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
mild
วันที่ 14 ส.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

สภาพธรรมะเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว เกิดดับสืบต่อ จนจำว่ายังมีอยู่เหตุเพราะความไม่รู้ ว่าเกิดตามปัจจัย บังคับให้เป็นไปตามใจไม่ได้ การจะรู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ต้องเป็นผู้ที่ตรงต่อความจริงว่า กุศลมี ผลของกุศลย่อมมี อกุศลมี ผลของอกุศลย่อมมีเช่นกัน แต่ท้ายที่สุดทั้งกุศลและอกุศลย่อมดับไป เช่นนั้นเอง จึงไม่มีเรา ของเราของเขา เป็นแต่เพียงความจริง ถ้ารักสุขก็ต้องสร้างเหตุที่กุศล ไม่ทำชั่ว เพราะกรรมชั่วทำแล้วไม่ตามเดือดร้อนไม่มี

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ