อัปปมาทสูตร.. ความไม่ประมาทเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหมด

 
pirmsombat
วันที่  15 ส.ค. 2555
หมายเลข  21562
อ่าน  2,570

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 35

๕. อัปปมาทสูตร

ว่าด้วยความไม่ประมาทเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหมด

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้า

ก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญา

ก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี พระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงใน

ความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศล-

ธรรมเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปบนแผ่นดิน

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงความรวมลงในรอย

เท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะ

ความเป็นของใหญ่ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความ

ไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเหล่าใดเหล่าหนึ่งของเรือนยอด กลอน

เหล่านั้นทั้งหมด ไปหายอด น้อมไปสู่ยอด รวมที่ยอด ยอด โลกกล่าว

ว่า เป็นยอดของกลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศล

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณา

โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมที่เกิดแต่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง

จันทน์แดง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นแต่แก่นเหล่านั้น

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น

เหมือนกันแล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอก

มะลิ โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมเกิดแต่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาน้อยเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พระราชา

เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอนุยนต์ไปตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักร-

พรรดิ โลกกล่าวว่าเป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แสง

สว่างเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันบัณฑิตแบ่งออกแล้ว ๑๖

ครั้งของแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ โลกกล่าวว่าเป็นยอดแห่งแสงสว่างเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรม

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทฤดู เมื่อฝนขาดปราศจากเมฆแล้ว

ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นสู่ท้องฟ้า กำจัดความมืดที่มีในอากาศทั้งหมดแล้ว ย่อม

ส่องแสง แผดแสงและแจ่มกระจ่าง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่ง คือ แม่น้ำคงคา

ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นสายน้ำไหลไป

สู่สมุทร โน้มไปสู่สมุทร น้อมไปสู่สมุทร มหาสมุทร โลกกล่าวว่าเป็น

ยอดแห่งแม่น้ำเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่า

ใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความ

ไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท

ความไม่ประมาท

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯลฯ

จบอัปปมาทสูตรที่ ๕


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 16 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 16 ส.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่าประมาท และ ไม่ประมาทให้ถูกต้องว่าคืออะไรก่อนครับ

การประมาท คือ ขณะที่ไม่มีสติ ซึ่งสติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ขณะที่ไม่มีสติ ที่ชื่อว่า

ความประมาท หมายถึง ขณะที่เป็นอกุศล ดังนั้น ขณะใดก็ตาม ที่เป็นอกุศลจิต ไม่

ว่าจะมาก หรือ น้อย ชื่อว่าประมาทแล้วในขณะนั้นครับ

ความไม่ประมาท หมายถึง ขณะที่มีสติ เป็นกุศลจิต ดังนั้น ขณะใดที่เป็นกุศลจิต

ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตขั้นใด ไม่ว่าจะเป็นกุศลขั้นทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นชื่อว่าไม่

ประมาท เพราะมีสติ อยู่โดยไม่ปราศจากสติในขณะนั้น ดังนั้น ความประมาท จึง

ไม่ใช่ความหมายทางโลก ที่ทำอะไรด้วยความประมาท ข้ามถนน ไม่ดู ก็กล่าวว่า

ประมาท นั่นไม่ใช่ความหมายของความประมาทที่ถูกต้อง ครับ

แต่ ความไม่ประมาท ที่เป้นกุศลธรรม ก็ยังแบ่งระดับ ความไม่ประมาทที่เป็นยอด

คือ ความไม่ประมาท ทีเ่ป็นไปในการเจริญ สติปัฏฐาน และ การอริยมรรค ที่เป็นไป

ในการดับกิเลส ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...ความไม่ประมาทและความประมาท

บรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท

ขออนุโมทนาคุณหมอ และ ทุกท่านด้วย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 16 ส.ค. 2555

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผเดิม คุณคำปั่น คุณผู้ร่วมเดินทาง และ ทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 16 ส.ค. 2555

ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม เมื่อได้ยินได้

ฟังแล้วควรพิจารณาไตร่ตรองน้อมเข้ามาในตน เพราะคำสอนทั้งหมดเมื่อประมวล

แล้ว รวมลงในความไม่ประมาท พระองค์ทรงเตือนให้พุทธบริษัทเป็นผู้ไม่ประมาท

ชีวิตของแต่ละคน เล็กน้อย สั้นมาก ก้าวไปสู่ความตายเข้าไปทุกขณะๆ ไม่ได้-

ยั่งยืนอะไรเลย ถ้ากุศลจิตไม่เกิด นั่นก็หมายความว่า เป็นการปล่อยโอกาสในกุศล

จิตเกิดขึ้น สะสมกุศลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโทษแก่ตนเองโดยส่วนเดียว เมื่อเป็น

เช่นนี้ จึงไม่ควรที่จะประมาทในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มจากการตั้งใจฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตาม

ลำดับ จึงจะสามารถขัดเกลากิเลสของตนเองได้ และตามความเป็นจริงแล้ว

กุศลทุกประการจะเจริญเพิ่มขึ้นตามระดับของความเข้าใจ ด้วย ครับ.

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kinder
วันที่ 16 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 17 ส.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และทุกๆ ท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ