กระทำกุศลแต่ตั้งความปรารถนาผลไปในอกุศล
ผลของกุศลทำที่ให้มีแต่คนรัก [เรื่องบุตรของเศรษฐีชื่อเขมกะ]
จากการอ่านพระสูตรนี้ นายเขมกะ ท่านกระทำกุศล แล้วตั้งความปรารถนา ไปในทางอกุศล สงสัยว่าการกระทำกุศล ทำไมจึงให้ผลตามการตั้งปรารถนา ที่เป็นอกุศลได้
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จากบุญที่ในอดีตชาติของนายเขมกะที่ทำ และทำให้มีคนรัก คนชอบเพราะผลของบุญ เป็นดังนี้ ครับ
[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 207
ข้อความบางตอนจาก เรื่องบุตรของเศรษฐีชื่อเขมกะ
บุรพกรรมของนายเขมกะ
ถามว่า " ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น เป็นอย่างไร? "
แก้ว่า " ดังได้สดับมา ในสมัยของ พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป เขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด ยกธงทอง ๒ แผ่น ขึ้นไว้ ที่กาญจนสถูป ของพระทศพลแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า "เว้นหญิงที่เป็นญาติสาโลหิตเสีย หญิงที่เหลือ เห็นเราแล้วจงกำหนัด." นี้เป็นบุรพกรรมของเขาด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น หญิงของคนเหล่าอื่น เห็นเขา ในที่เขาเกิดแล้ว จึงไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ดังนี้แล.
- กุศลกรรม เมื่อให้ผลย่อมให้ผลที่ดี และ เป็นไปตามที่ปรารถนา ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้ว วิบาก คือ ขณะที่เห็นสิ่งที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี ลิ้มรสที่ดี ได้กลิ่นที่ดี รู้กระทบสัมผัสที่ดี นี่คือ วิบากที่ดีในชีวิตประจำวัน ที่เกิดจากกุศลกรรมให้ผล เพราะฉะนั้น การกระทำที่ดี มีการบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยยกธงทองบูชา แล้วตั้งความปรารถนาในสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ผลก็ต้องเป็นวิบากที่ดี คือ การเห็นที่ดี ได้ยินสิ่งที่ดี เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อปรารถนาให้คนอื่นรัก การปรารถนาด้วยจิตเป็นอกุศล แต่เป็นคนละขณะ กับ ขณะที่ทำกุศลกรรม คือ บูชาพระพุทธเจ้า ผลย่อมทำให้ได้ตามปรารถนา มีแต่คนรัก ซึ่งหากมองเป็นเรื่องราว ก็จะงงได้ แต่ หากพิจารณาว่า การที่มีคนรัก ก็คือ ทำให้เห็นสิ่งที่ดีๆ จากการนำสิ่งดีๆ มาให้ จากคนที่รัก ได้ยินเสียงดีๆ เพราะๆ จากคนที่ชอบ นั่นก็คือ ผลของกุศลกรรม มีการบูชาพระพุทธเจ้า เป็นต้น ครับ
เพราะฉะนั้น การตั้งความปรารถนา ด้วยอกุศล ก็เป็นขณะหนึ่ง ซึ่งอกุศลจิต ไม่ได้ทำให้เกิดผลที่ดี แต่เพราะ ความตั้งมั่นที่ปรารถนาในสิ่งนั้น ทำให้ผลของบุญสำเร็จ เพราะอำนาจของบุญที่มีกำลัง จากการบูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นขณะก่อนที่จะตั้งความปรารถนา ที่เป็นคนละขณะ ทำให้ได้ผลของบุญนั้น มีการเห็นทีดี ได้ยินเสียงที่เพราะ ที่เป็นวิบากจิตทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันสมมติเป็นเรื่องราวว่า มีคนรักนั่นเองครับ
ดังเช่น ในอดีตชาติของพระเจ้าอโศก ที่ปรารถนาขอให้ ได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ จากผลของบุญที่ถวายน้ำผึ้งกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และบุญนั้นก็ให้ผลสำเร็จ ได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ นั่นก็แสดงว่า ขณะที่ตั้งความปรารถนา ขณะจิตหนึ่ง และขณะที่ทำบุญ ก็อีกขณะจิตหนึ่ง ซึ่งการตั้งความปรารถนานั้น เพื่อการได้มา ซึ่งสิ่งที่ดีที่เป็นวิบาก ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ดี เช่น การได้เป็นพระราชา ผลจึงได้ เพราะ ไม่ได้เป็นไปทางอกุศลกรรม คือ ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นตาย ปรารถนาที่จะได้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยวิธีทุจริต แต่ปรารถนาไปในทางที่ได้รับวิบากที่ดี คือ มีคนรัก ก็คือได้เห็นสิ่งที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี ซึ่งก็ตรงกับเหตุ คือ การทำกุศลกรรม ย่อมเป็นเหตุ ให้เกิดวิบากที่ดี ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อกุศลกรรมนั้นให้ผล คือ บูชาด้วยธงทองกับพระพุทธเจ้า หรือถวายน้ำผึ้ง กับพระปัจเจกพุทธเจ้าในกรณีของพระเจ้าอโศก
นี่คือความละเอียดของกรรม ที่วิจิตร และลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้น แห่งปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง แม้ในเรื่องกรรม และผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่พ้นไปจาก ธรรม เลย ไม่พ้นจากชีวิตประจำวันด้วย ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ย่อมจะเป็นผู้มีความเข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละคน หรือแม้กระทั่งเกิดกับตัวเอง ไม่ว่าดีหรือร้าย น่าปรารถนา หรือ ไม่น่าปรารถนา ก็ตาม ล้วนแล้วแต่ เป็นเพราะกรรมที่เคยได้กระทำมาแล้วทั้งสิ้น ไม่มีใครทำให้เลย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีเหตุ คือกรรม ที่ได้กระทำมาแล้ว ผลที่จะเกิดย่อมมีไม่ได้ แต่เพราะมี เหตุ คือกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อได้โอกาสที่กรรมจะให้ผล ผลจึงเกิดขึ้น เมื่อเหตุดี ผลจึงดี แต่เพราะเหตุไม่ดี ผลจึงไม่ดี ทั้งสองอย่างนี้ ไม่ปะปนกันอย่างเด็ดขาด เป็นคนละส่วนกันอย่างสิ้นเชิง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...