ณ กาลครั้งหนึ่ง ท่านอาจารย์กับทีมนักวิจัยฯ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา
ทีมงานวิจัยจากวัดญาณเวศกวัน ซึ่งทำงานร่วมกับ สถาบันวิจัยพุทธศาสน์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมถึง พระนิสิต และ คณาจารย์จากสถาบันต่างๆ
นำโดย ผศ.ดร.ชมชื่น สมประเสริฐ และ คณะฯ เป็นตัวแทนมาขอพบ และ สัมภาษณ์
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ณ ที่ทำการมูลนิธิฯภายในซอยเจริญนคร ๗๘
เกี่ยวกับหลักจริยธรรมในการดำเนินชีวิต-ความดีความชั่ว รวมถึงเรื่องทรัพย์ภายนอกภายใน
ระหว่างเวลา ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
จึงขอนำข้อความบางตอนจากการสัมภาษณ์มาบันทึกไว้ เพื่อประโยชน์แก่ทุกๆ ท่านดังนี้
ดร.ชมชื่น อาจารย์คงได้รับคำถามแล้ว ดิฉันชื่อ ชมชื่น เป็นทีมนักวิจัย แล้วก็ ท่านประณต
อยู่วัดญาณเวศกวัน และ คุณจงจินต์ เป็นเลขานุการของคณะ ต้องกราบขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ ที่ให้ความเมตตาเรา ให้เรามาสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่อง มุมมองจริยธรรม
ประเด็นแรก คงจะเรียนถามอาจารย์ว่า ในแง่ของหลักจริยธรรมในกรอบของ
พระพุทธศาสนา เป็นอย่างไรบ้าง? ควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างคะ?
ท่านอาจารย์ ค่ะ ก่อนอื่น ก็คงต้องเข้าใจว่า จริยธรรม คือ อะไร?
จริย หรือ จรรยา ก็เป็นความประพฤติ ธรรมะที่ควรประพฤติ คือ ถ้าเรามีความเข้าใจ
สิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงชัดเจน ก็จะทำให้ไม่สับสน แม้แต่จริยธรรมที่ใช้กันอยู่ เราก็ต้องรู้
ก็คือ ความประพฤติปรกติ ธรรมดา ที่เป็นไปในทางคุณธรรม
ดร.ชมชื่น ถ้าเช่นนั้นอาจารย์ขยายความต่ออีกไหมคะ คุณธรรมในที่นี้เป็นอย่างไรบ้าง?
ท่านอาจารย์ ค่ะ ก็ง่ายๆ ตรงๆ นะคะ อย่างใช้คำว่า ความดีใช่ไม๊คะ? ก็ธรรมะฝ่ายดี
ความประพฤติที่เป็นไปในฝ่ายดีทั้งหมด ก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำ
ดร.ชมชื่น พออาจารย์พูดอย่างนี้ ก็ต้องต่ออีก อาจารย์ลองขยายความ สมมติว่า
เราพูดว่าความดีเนี่ย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคนละกิจกรรม หรือ ความประพฤติ นะคะ
อาจารย์ลองขยายความให้เราเข้าใจง่ายๆ
ท่านอาจารย์ ค่ะ แต่ดิฉันคิดว่า เรื่องง่ายๆ คงไม่มี
ดร.ชมชื่น ไม่มี โอเคค่ะ เอาจากง่าย ไปสู่ยากได้ไม๊คะ? อาจารย์
ท่านอาจารย์ อะไรนะคะ?
ดร.ชมชื่น หมายถึงว่า เอาจากคนทั่วไปเข้าใจ แล้วก็ให้ลึกซึ้ง จนอ้างอิง
จากพระไตรปิฎก อะไรอย่างนี้ค่ะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ ถูกต้องค่ะ คือว่า ต้องมีความเข้าใจตามลำดับขั้น
ข้อสำคัญที่สุด คือ ต้องเป็นความเข้าใจ
บางที เราคิดว่า เราเข้าใจ
แต่ความเป็นจริง ไม่ได้เข้าใจ ใช่ไม๊คะ?
อย่างเวลานี้ ถ้าถามว่า มีแต่ปัญหา และ ทุกคนก็คิดที่จะแก้ปัญหา
แล้วก็หลายองค์กร ก็พยายามช่วยกันที่จะแก้ปัญหา
แต่ว่า ยังไม่รู้จัก "ปัญหา" ว่า "ปัญหา" เกิดจากอะไร?
แล้วจะแก้ได้ไม๊คะ?
แก้กันไปเถอะ ไม่ว่าองค์กรไหน ร่วมมือร่วมใจกันสักเท่าไหร่
แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า "ปัญหา" เกิดจากอะไร? และ อะไรเป็นปัญหา แก้ไม่ได้ อย่างไรก็แก้ไม่ได้
อย่างที่พยายามแก้มาตลอด นะคะ แต่ก็ยังไม่ได้ อาจจะรุนแรงขึ้นด้วย
เพราะไม่รู้ว่า ปัญหา เกิดจากอะไร?
เพราะฉะนั้น คนที่จะช่วยกันแก้ปัญหา ต้องมี "ปัญญา"
คือ ความเห็นที่ถูกต้อง คือ รู้ว่าปัญหานั้น อยู่ที่ไหน? แล้วก็ปัญหาเกิดจากอะไร?
แม้แต่เรื่องจริยธรรม คุณธรรม ทั้งหลาย ก็ต้องมีความเข้าใจจริงๆ
เพราะฉะนั้น พอที่จะช่วยกันคิดได้ไม๊คะ? ว่าปัญหา เกิดจากอะไร?
ดร.ชมชื่น ปัญหาของจริยธรรม?
ท่านอาจารย์ ปัญหาที่มีอยู่เวลานี้ทั้งหมดค่ะ เกิดจากอะไร? ที่เรามาคิด มาทำ
มาช่วยกันทำ มาแก้
ดร.ชมชื่น อาจจะเป็นเพราะว่า พฤติกรรมในสังคมเรา เริ่มเบี่ยงเบนไม๊คะ?
คือ เริ่มๆ อย่างเช่น พอดีเราจะวิเคราะห์เกี่ยวกับทรัพย์ (ภายในภายนอก) ท่านอาจารย์
อาจจะมองเห็นภาพขึ้นมาว่า ในแง่ของ ถ้าเป็นเรื่องของจริยธรรม อาจจะตั้งคำถามแล้ว
ว่าอะไร คือ สิ่งที่ควรจะเป็น เพราะว่าที่เราเรียนรู้มายุคหนึ่ง มันเป็นแบบหนึ่ง
อย่างเช่นเรื่องการซื่อสัตย์สุจริต เราถือว่าเป็นคุณธรรม ใช่ไม๊คะ?
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ แต่ปัจจุบันนี้ สังคมเริ่มมีชุดข้อมูล ทำให้เรา
เริ่มสับสนหรือเปล่า? เราเริ่มบอกว่าไม่ซื่อสัตย์ แต่ว่าเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคมได้
หรืออะไรประมาณนี้ค่ะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ ก็คงเป็นส่วนหนึ่งของความคิด เพราะว่าแต่ละคน ก็คิดกันหลายส่วน
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้ายัง "ไม่รู้" ว่าปัญหาเกิดจากอะไร? แก้ไม่ได้
อย่างที่ทุกคน ควรจะได้รู้จริงๆ ก็คือว่า
"ปัญหา" เกิดจาก "จิต"
ชัดเจนที่สุด
ไม่ได้ไปเกิด จากต้นไม้ใบหญ้าใดๆ ทั้งสิ้น แต่ว่า ทุกคนก็รู้คร่าวๆ เพียงแต่ว่ามีจิต
แต่ไม่รู้ความละเอียดว่า จิตในวันหนึ่งๆ แม้แต่ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้
"จิต" อยู่ที่ไหน? แล้วก็ "จิต" กำลังทำอะไร?
และเป็น "ปัญหา" หรือเปล่า?
เนี่ยค่ะ คือ สิ่งที่โลกทั้งโลก อยู่ในพระธรรมคำสอนที่ทรงตรัสรู้ ตามความเป็นจริงทั้งหมด
แล้วก็ "ตรง" ด้วย คือ สามารถที่จะเข้าใจได้
และ ในขณะนี้เอง ไม่ว่าจะพูดถึงอะไร สามารถที่จะเข้าใจได้ ในขณะนี้
เพราะว่า เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แม้แต่ "ปัญหา"
ถ้าไม่มีจิต ไม่มีปัญหาเลย
เพราะฉะนั้น "จิต" ของแต่ละคน มีปัญญา หรือว่า มีอวิชชา?
ถ้า "มีปัญญา" ไม่มีปัญหาเลย
แต่ถ้ามีความไม่รู้
นั่นแหละ คือ ปัญหาทั้งหมด
เพราะฉะนั้น ถ้าจะแก้จริงๆ ต้องแก้ที่ ความเห็นถูก
"...ตราบใดที่ยังไม่ศึกษาพระธรรมชื่อว่าผู้นั้นยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้าและไม่เข้าใจพระธรรม
ถ้าเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมต้องศึกษา ต้องฟัง ถึงแม้ว่าจะยากเมื่อเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องค่อยๆ ฟัง เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นควรเห็นประโยชน์ของปัญญาผู้มีทรัพย์มากก็ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตายต้องมีความทุกข์ ไม่มีใครพ้นไปได้เลย..."
(คัดจาก ธรรมเตือนใจ)
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
"ถ้า มีปัญญา ไม่มีปัญหาเลย"
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณวันชัยที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ
และขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านด้วยครับ
ถ้าไม่มีจิต ไม่มีปัญหาเลย เพราะฉะนั้น "จิต" ของแต่ละคน มีปัญญา หรือว่า มีอวิชชา? ถ้า "มีปัญญา" ไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้ามีความไม่รู้ นั่นแหละ คือ ปัญหาทั้งหมด
ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เนื้อหาน่าจะมีมากกว่านี้ ควรนำมาเผยแพร่ ถอดเป็นคำบรรยายหรือเป็นวีดิท้ศน์ก็ได้ครับ
ขออนุโมทนา
กราบเท้าอนุโมทนาท่านอาจารย์ และกราบอนุโมทนากุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
่กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ และขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ
ขอนอบน้อมแด่ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่วันชัย
และขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านด้วย ครับ
"ถ้า มีปัญญา ไม่มีปัญหาเลย"
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณวันชัยที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ
และขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถ้า "มีปัญญา" ไม่มีปัญหาเลย
แต่ถ้ามีความไม่รู้ นั่นแหละ คือ ปัญหาทั้งหมด
เพราะฉะนั้น ถ้าจะแก้จริงๆ ต้องแก้ที่ ความเห็นถูก
กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่วันชัย
และขออนุโมทนาในกุศลจิตกับทุกๆ ท่านด้วย ครับ