การทำบุญ3อย่าง
๑. การให้ทานเงินแก่พระ-เณรกับคนพิการหรือคนขอทาน บุญต่างกันไหมในปัจจุบัน
๒. การฝากเงินไปให้ทานแก่คนพิการหรือคนที่ขอทานได้บุญเหมือนไปให้ทานเองหรือไม่ครับ
๓. คนที่ป่วยอยากกินของที่ห้ามกินเราหวังดีเตือนไม่ให้กินแต่คนที่ป่วยจะกินให้ได้ ... จะเป็นกรรมไหมเพราะเราห้ามไม่ให้กิน (คนป่วยคนนั้นคือแม่เราเอง)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. การให้ทานเงินแก่พระ-เณรกับคนพิการหรือคนขอทาน บุญต่างกันไหมในปัจจุบัน
- บุญต่างกัน เพราะ จิตที่คิดจะให้ต่างกัน และ ผู้รับที่ต่างกัน ถ้าให้ด้วยจิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา และ ผู้รับมีคุณธรรมก็มีผลบุญมาก แต่ ถ้าให้โดยที่ผู้รับมีคุณธรรมน้อย ก็ผลบุญน้อย ครับ แต่ถ้าให้เงินกับพระภิกษุ ก็เป็นสิ่งที่ผิด มีโทษกับท่านเองที่รับ เจตนาดีให้ กุศลจิตขณะหนึ่ง แต่ให้สิ่งที่ผิดย่อมไม่สมควรอย่างยิ่ง
๒. การฝากเงินไปให้ทานแก่คนพิการหรือคนที่ขอทานได้บุญเหมือนไปให้ทานเองหรือไม่ครับ
- ได้เหมือนกัน เพราะ มีเจตนาให้แล้ว ครับ แต่บุญจะต่างกัน ตามสภาพจิตที่ให้ ครับ แต่การให้ด้วยมือของตนเป็นการเคารพในทาน ครับ
๓. คนที่ป่วยอยากกินของที่ห้ามกินเราหวังดีเตือนไม่ให้กินแต่คนที่ป่วยจะกิน ให้ได้ ... จะเป็นกรรมไหมเพราะเราห้ามไม่ให้กิน (คนป่วยคนนั้นคือแม่เราเอง)
- ด้วยเจตนาดี โดยห้ามไม่ให้ทานของที่มีโทษกับร่างกาย ไม่เป็นกรรมไม่ดี ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องในคำที่กล่าวถึงก่อน คือ คำว่า บุญ
บุญ เป็น สภาพธรรมที่ดีงาม บุญเป็นสภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด (เพราะโดยปกติแล้วจิตสกปรกด้วยอำนาจของอกุศลธรรม) จากที่เป็นอกุศล ก็ค่อยๆ เป็นกุศลขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากขณะที่จิตเป็นกุศล เป็นไปในทาน เป็นไปในศีล เป็นไปในการอบรมเจริญความสงบของจิต และเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปทำบุญ เพราะบุญอยู่ที่สภาพจิต จิตเป็นกุศลเป็นบุญ (ซึ่งก็สามารถกล่าว โดยโวหารของชาวโลกได้ว่า ผู้นั้น ผู้นี้กระทำบุญ) ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตเป็นอกุศล ก็ไม่ใช่บุญ
การให้ทานก็เป็นบุญประการหนึ่ง ซึ่งผู้ที่มีความละเอียด ก็จะพิจารณาได้ว่า สิ่งใดควรให้แก่ใคร ก็ให้ในสิ่งที่สมควรแก่ผู้รับนั้นๆ
คนที่พิการ ยากไร้ ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้น เป็นบุคคลผู้ควรแก่การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นโอกาสของการช่วยไม่ว่าจะเป็นการไปด้วยตนเองหรือไม่สะดวกที่จะเดินทางไป อาจจะฝากไปกับผู้อื่น ก็ได้ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่สมควรทั้งนั้น เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ขณะนั้น จิตใจผ่องใสที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นบุญแล้วในขณะนั้น
ผู้ที่เห็นประโยชน์ของการขัดเกลากิเลส ก็จะไม่ละเลยโอกาสในการเจริญกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะถ้ากุศลไม่เกิด ก็จะเป็นโอกาสให้อกุศลเกิด พอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ
การมีเจตนาดี แนะนำดี ไม่เป็นโทษสำหรับผู้แนะนำ เพราะได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ส่วนผู้ที่ได้รับคำแนะนำ จะเป็นอย่าไรนั้น จะรับฟังพร้อมทั้งน้อมประพฤติตาม หรือ จะคัดค้านปฏิเสธในคำแนะนำนั้น ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจริงๆ
สำหรับประเด็นคำถามที่กล่าวถึงเรื่องมารดานั้น ก็ต้องอาศัยความอดทนอธิบายให้ท่านฟัง ถึงคุณและโทษของอาหารประเภทนั้นๆ บ่อยๆ เนืองๆ ในที่สุดแล้วท่านอาจจะเห็นตามอย่างนั้น ก็ได้ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
การที่จะได้ผลบุญมาก ต้องให้ด้วยมือของตนเอง และ ของที่ได้มาบริสุทธิ์ ผู้รับและผู้ให้มีศีลทั้งคู่
ตั้งใจให้ มีเจตนาให้ กำลังให้จิตผ่องใส ให้ไปแล้วก็ไม่เสียดาย ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"การทำทานที่มีผลมากขึ้นอยู่ที่จิต ๓ ขณะ"
๑. ขณะก่อนให้
๒. ขณะกำลังให้
๓. ขณะที่ให้ไปแล้ว
"ถ้าให้ด้วยจิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา และ ผู้รับมีคุณธรรมก็มีผลบุญมาก"
แต่ ถ้าให้โดยที่ผู้รับมีคุณธรรมน้อย ก็ผลบุญน้อย ครับ"
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ