มงคลสูตร.. พรรณนาคาถาว่าพาหุสจฺจญฺจ

 
pirmsombat
วันที่  17 ต.ค. 2555
หมายเลข  21906
อ่าน  1,987

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาก มงคลสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 184

พรรณนาคาถาว่าพาหุสจฺจญฺจ

บัดนี้ ความเป็นพหูสูต ชื่อว่าพาหุสัจจะในบทนี้ว่า พาหุสจฺจยฺจ.

ความฉลาดในงานฝีมือทุกอย่าง ชื่อว่า ศิลปะ. การฝึกกายวาจาจิต ชื่อว่า

วินัย. บทว่า สุสิกฺขิโตแปลว่า อันเขาศึกษาด้วยดีแล้ว. บทว่า สุภาสิตา

แปลว่า อันเขากล่าวด้วยดีแล้ว. ศัพท์ว่า ยาแสดงความไม่แน่นอน. คำ

เปล่งทางคำพูด ชื่อว่า วาจา. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล. นี้เป็น

การพรรณนาบทในคาถาว่า พาหุสจฺจญฺจนี้.

ส่วนการพรรณนาความ พึงทราบดังนี้. ความเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวัตถุ-

ศาสน์ ที่ทรงพรรณนาไว้ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้ทรงสุตตะ สั่งสม

สุตตะ และว่าภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ มีสุตตะมาก คือ สุตตะ เคยยะ

เวยยากรณะ เป็นต้น ชื่อว่าความเป็นพหูสูต. ความเป็นพหูสูตนั้น ตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุละอกุศลและประสบกุศลและเพราะเป็นเหตุทำให้แจ้ง

ปรมัตถสัจจะตามลำดับ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้สดับแล้ว

ย่อมละอกุศลเจริญกุศลย่อมละสิ่งมีโทษเจริญสิ่ง

ที่ไม่มีโทษบริหารตนให้บริสุทธิ์ดังนี้.

อีกพระดำรัสหนึ่งตรัสว่า

ย่อมพิจารณาความของธรรมทั้งหลายที่ทรงจำไว้

ธรรมทั้งหลายย่อมทนการเพ่งพินิจของเธอผู้พิจารณา

ความอยู่เมื่อธรรมทนการเพ่งพินิจอยู่ฉันทะย่อมเกิด

เกิดฉันทะแล้วก็อุตสาหะเมื่ออุตสาหะดีใช้ดุลย-

พินิจเมื่อใช้ดุลยพินิจก็ตั้งความเพียรเมื่อตั้งความ

เพียรย่อมทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย [นามกาย]

และย่อมเห็นทะลุปรุโปร่งด้วยปัญญาดังนี้.

อนึ่ง แม้พาหุสัจจะความเป็นพหูสูตของคฤหัสถ์อันใดไม่มีโทษ อันนั้น

ก็พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกทั้งสอง.

ศิลปะของคฤหัสถ์ และศิลปะของบรรพชิต ชื่อว่า ศิลปะ. บรรดา

ศิลปะทั้งสองนั้น กิจกรรมมีงานของช่างมณี ช่างทองเป็นต้น ที่เว้นจากการ

ทำร้ายชีวิตสัตว์อื่น เว้นจากอกุศล ชื่อว่า อคาริกสิปปะศิลปะของ

คฤหัสถ์. อคาริกสิปปะนั้น ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์ใน

โลกนี้.

การจัดทำสมณบริขารมีการก็และเย็บจีวรเป็นต้น ซึ่งพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ในที่นั้นๆ โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจ

ที่ควรทำไรๆ ของสพรหมจารี ไม่ว่าสูงต่ำเหล่านั้นใด ภิกษุเป็นผู้ขยันในกิจที่

ควรทำไรๆ นั้น และที่ตรัสว่า เป็นนาถกรณธรรม ธรรมทำที่พึ่ง ชื่อว่า

อนาคาริกสิปปะศิลปะของบรรพชิต. ศิลปะของบรรพชิตนั้น พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกทั้งสองแก่ตนเองและแก่คนอื่นๆ .

วินัยของคฤหัสถ์และวินัยของบรรพชิต ชื่อว่าวินัย. บรรดาวินัยทั้งสอง

นั้น การงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าวินัยของคฤหัสถ์. วินัยของคฤหัสถ์

นั้น คฤหัสถ์ศึกษาดีแล้วในวินัยนั้น ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

สุขในโลกทั้งสอง ด้วยการไม่ต้องสังกิเลสความเศร้าหมอง และด้วยการกำหนด

คุณ คืออาจาระ.

การไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง ชื่อว่าวินัยของบรรพชิต. แม้วินัยของ

บรรพชิตนั้น อันบรรพชิตศึกษาดีแล้ว โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. หรือปาริสุทธิ.

ศีล ๔ ชื่อว่าวินัยของบรรพชิต. วินัยของบรรพชิตนั้น อันบรรพชิตศึกษาดี

แล้ว ด้วยการศึกษาโดยประการที่ตั้งอยู่ในปาริสุทธิศีล ๔ นั้น แล้วจะบรรลุ

พระอรหัตได้ พึงทราบว่าเป็นมงคลเพราะเป็นเหตุประสบสุขทั้งโลกิยะทั้ง

โลกุตระ.

วาจาที่เว้นจากโทษมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่าวาจาสุภาษิตเหมือนอย่าง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔

เป็นวาจาสุภาษิต. หรือว่า วาจาที่เจรจาไม่เพ้อเจ้อ ก็ชื่อว่าวาจาสุภาษิต. เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑

สุภาสิตํอุตฺตมมาหุสนฺโต

ธมฺมํภเณนาธมฺมํตํทุติยํ

ปิยํภเณนาปฺปิยํลํตติยํ

สจฺจํภเณนาลิกํจตุตถํ.

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าวาจาสุภาษิตเป็นวาจา

สูงสุดเป็นข้อที่. บุคคลพึงกล่าวแต่ธรรมไม่กล่าวไม่

เป็นธรรมเป็นข้อที่. พึงกล่าวแต่คำนี้น่ารักไม่กล่าว

คำไม่น่ารักเป็นข้อที่. กล่าวแต่คำสัตย์ไม่กล่าว

คำเหลาะแหละเป็นข้อที่.

๑. ขุ.สุ. ๒๕/ข้อ ๓๕๖

แม้วาจาสุภาษิตนี้ ก็พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

สุขในโลกทั้งสอง แต่เพราะเหตุที่วาจาสุภาษิตนี้นับเนื่องในวินัย ฉะนั้น. ถึง

ไม่สงเคราะห์วาจาสุภาษิตนี้ไว้ด้วยวินัยศัพท์ ก็พึงทราบว่าเป็นวินัย. เมื่อเป็น

เช่นนั้น วาจามีการแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นวาจา

สุภาษิต ในที่นี้ ด้วยความกระอักกระอ่วนนี้หรือ. ความจริงวาจาสุภาษิตตรัสว่า

เป็นมงคล ก็เพราะเป็นเหตุประสบสุขในโลกทั้งสองและพระนิพพานของสัตว์

ทั้งหลาย ก็เหมือนการอยู่ในปฏิรูปเทศ. พระวังคีสเถระกล่าวไว้ว่า๑

ยํพทฺโธภาสตีวาจํเขมํนิพฺพานปตฺติยา

ทุกฺขสฺสนฺตกิริยายสาเววาจานมุตฺตมา.

พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใดอันเกษมเพื่อบรรลุ

พระนิพพานเพื่อทำที่สุดทุกข์พระวาจานั้นแลเป็น

ยอดของวาจาทั้งหลาย.

พระพุทธเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถาไว้ มงคลคือ พาหุสัจจะ

สิปปะวินัยที่ศึกษาดีแล้วและ วาจาสุภาษิตด้วยประการฉะนี้.

ก็ความที่มงคลนั้นเป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้นๆ แล้วทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า พาหุสฺจญฺจ เป็นต้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 18 ต.ค. 2555

ละเอียดมากค่ะ ค่อยๆ อ่านค่อยๆ พิจารณา

ขออนุโมทนาในวิริยะความเพียรของคุณหมอเป็นอย่างมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pirmsombat
วันที่ 18 ต.ค. 2555

ขอบคุณและอนุโมทนาคุณnong มากครับ

ธรรมสอนและเปลี่ยนให้เป็นคนดี มีปัญญา เพี่มขึ้นได้มากจริงๆ ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ