เรียนพระธรรมให้เข้าใจได้งา่ยๆ เรียนอย่างไร เริ่มเรียนจากตรงไหน

 
Phoch
วันที่  17 ต.ค. 2555
หมายเลข  21912
อ่าน  2,084

สวัสดีค่ะ พยายามทำความเข้าใจ ในการฟังคำบรรยายธรรม แต่หลายครั้งก็ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเ้จ้าพระองค์นั้น

ในความเป็นจริง พระธรรมเป็นสิ่งที่ยาก ลึกซึ้ง เพราะ เป็นสิ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ด้วยปัญญา พระพุทธองค์กว่าจะค้นพบสัจจธรรม ใช้เวลานับชาติไม่ถ้วน ด้วยเหตุที่ว่าสัตว์โลกสะสมอวิชชา ความไม่รู้ และ กิเลสประการต่างๆ มามากมาย เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อันเป็นธรรมที่ทวนกระแสกิเลส ย่อมยากที่จะเข้าใจแต่ไม่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ แต่จะต้องอาศัยความอดทนและกาลเวลายาวนาน ซึ่งในความเป็นจริง ความเข้าใจคือปัญญา เป็นพืชที่เติบโตช้า ไม่ใช่เพียง ๑ วัน ๒ วัน หรือ เพียงไม่กี่ปีก็จะเข้าใจได้มาก ครับ แต่การเจริญขึ้นของความเข้าใจ จะค่อยๆ เข้าใจได้ทีละน้อยคือค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละนิดทีละหน่อยโดยที่ไม่รู้ตัวเลย หากย้อนกลับไป ที่ยังไม่เริ่มศึกษากับปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ความเข้าใจก็มากขึ้น คือรู้ขึ้น แม้จะไม่มาก แต่ก็รู้มากขึ้นแน่นอน เพราะได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยรู้ จนรู้ขึ้น ครับ นี่แสดงว่าปัญญา ความเข้าใจ เกิดขึ้นแล้ว แต่เล็กน้อยมาก

ดังนั้น การจะเรียนพระธรรมให้เข้าใจง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้ เพราะพระธรรมไม่ง่าย ตามที่กล่าวมา ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ทวนกระแสกิเลส และตัวเราเองก็สะสมอวิชชามามากด้วย ครับ แต่ หนทางมี คือค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไป ฟังนิดนึง ขณะที่เข้าใจก็คือเพิ่มความเข้าใจแล้ว แม้จะดูไม่มากแต่ก็เกิดความเข้าใจแล้ว การเริ่มเรียนให้เข้าใจจึงเป็นผู้ที่ตั้งใจฟังและ มั่นคง ไม่ลืมว่าสะสมกิเลสมามาก สะสมปัญญามาน้อย จึงค่อยๆ เข้าใจได้ทีละน้อย เมื่อ ไม่หวังที่จะเข้าใจมาก อยากจะเข้าใจมาก ก็เบา เพราะเมื่อไหร่ที่ฟังไม่เข้าใจ ก็รู้ว่าเปลี่ยนไม่ได้ ก็คือไม่เข้าใจ แต่ไม่ท้อ อดทนที่จะฟังต่อไป ในอนาคตก็จะทำให้เป็นผู้ที่เข้าใจมากขึ้น เพราะ ได้สะสมเป็นเวลาที่ยาวนานมากขึ้นนั่นเองครับ วิธีอื่นไม่มีที่จะเข้าใจพระธรรมได้ง่าย ได้เร็ว นอกเสียจากการฟัง การศึกษาพระธรรมต่อไปเรื่อยๆ ครับ ซึ่งเริ่มเรียนจากการฟังคำบรรยาย ของผู้ที่รู้ที่อธิบายตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มี ท่านอาจารย์สุจินต์ เป็นต้น ครับ

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ

จะเริ่มต้นศึกษาธรรมะอย่างไร

ศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจอะไร

ธรรมะ ปรมัตถธรรม อภิธรรม

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

ควรเริ่มต้นอย่างไร

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

พระธรรมไม่ใช่ของง่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 44

พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า ' ธรรมของเรา อันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง? '

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อันบุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ

พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.

อานนท์. เพราะเหตุไร? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อานนท์ บทว่า 'พุทฺโธ' ก็ดี 'ธมฺโม' ก็ดี 'สงฺโฆ' ก็ดี อันสัตว์เหล่านั้นไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก: เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้: แต่ในสงสาร มีที่สุดอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล มาแล้ว: เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลาย มีโรงดื่มสุรา และ สนาม เป็นที่เล่นเป็นต้น. จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้.

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่น อาศัยอะไร จึงไม่สามารถ?

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า "อานนท์ อุบาสกเหล่านั้น อาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Phoch
วันที่ 17 ต.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 17 ต.ค. 2555

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 17 ต.ค. 2555

ประสบการณ์ส่วนตัวของผมครับ การสะสมเรียนรู้ศัพท์ ช่วยได้ ครับ หมายความว่า ศัพท์ในภาษาไทยกับในพระศาสนามักมีความหมายไม่ตรงกันเสมอไป เช่น อารมณ์ ในภาษาไทย กับคำว่าอารมณ์ในทางธรรมะต่างกัน และจะมีคำศัพท์ลักษณะนี้มาก ขนาดผม สะสมคำศัพท์มาบ้าง เวลาฟังธรรมบรรยาย บางศัพท์ที่เป็นบาลี ผมไม่รู้เลยว่าหมายความว่าอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ศัพท์สำคัญควรทำความเข้าใจ ศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ ครับ เช่น กรรม วิบาก กุศล อกุศล จิต เจตสิก อารมณ์ อายตนะ รูป นาม ปัจจัย เป็นต้น ครับ แต่ถ้าฟังธรรมบรรยายมากๆ ก็จะมีช่วงที่อธิบายศัพท์ แทรกอยู่ตลอดครับ ค่อยๆ สะสมไปครับ

ขออนุโมทนาในความพยายามทำความเข้าใจพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
WS202398
วันที่ 17 ต.ค. 2555

การหมั่นนำข้อธรรมที่ได้ฟัง มาพิจรณา กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับตัวเอง ก็ช่วยได้ครับ พิสูจน์ความจริง แต่ต้องตรงครับ คือ ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่ยึดมั่น ในความเห็นมากเกินไป แต่ต้องพิจารณาความเห็นต่างๆ ที่มีอยู่ ว่าเป็นอย่างไร ยิ่งความรู้ ความเห็น ที่ขัดกับหลักธรรมแล้ว ต้องพิจารณาให้ถึงที่สุดครับ ถ้ายังสงสัยเช่นผม ก็มาถามในเว็บนี้ได้ครับ มีผู้รู้ที่สามารถตอบได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 18 ต.ค. 2555

หมั่นพิจารณาสิ่งที่ฟังบ่อยๆ ค่ะแล้วจะเข้าใจขึ้น และไม่พยายามอยากรู้อยากเข้าใจในส่วนที่เหลือวิสัย (เกินกำลังของปัญญา)

ข้อสำคัญ ... ศึกษาสภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ ในชีวิตประจำวันมีประโยชน์กว่าอย่างอื่นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 18 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับ ธรรม นั้น เป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง บางครั้งก็ได้ยินคำภาษาบาลีบ้าง ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า คำนั้น หมายถึงอะไร ขอเพียงฟังบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ปล่อยมือจากพระธรรม ความเข้าใจถูกเห็นถูก ย่อมจะเจริญขึ้นอย่างแน่นอน ดังคำที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้กล่าวไว้ อันเป็นกำลังใจสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาพระธรรมเป็นอย่างดี ว่า

"มดยังปีนขึ้นภูเขาได้ มีหรือ ผู้ที่ตั้งใจฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมแล้ว จะไม่เข้าใจ [หมายความว่า ย่อมเข้าใจอย่างแน่นอน] ",

"ธรรม เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าไม่เริ่มฟัง แล้วเมื่อไหร่จะเข้าใจ"

ขอเป็นกำลังใจให้ คุณ Phoch ได้ฟังพระธรรมต่อไป นะครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 18 ต.ค. 2555

ธรรมเป็นเรื่องยาก ไม่ใช่ฟังครั้งเดียวจะเข้าใจ ต้องใช้เวลานานเป็นปี เป็นชาติๆ เป็นกัปป์ๆ จนกว่าจะรู้ว่า ไม่มีอะไรที่เที่ยง ที่จะยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็นเรา ถ้าฟังแล้วยังไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร ฟังอีก ฟังซ้ำๆ วันหนึ่งก็จะค่อยๆ เข้าใจยิ่งขึ้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 19 ต.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
rrebs10576
วันที่ 20 ต.ค. 2555

เป็นกำลังใจให้คุณPhoch ศึกษาพระธรรมต่อไปนะคะ และอนุโมทนาทุกๆ ท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
อารทธวิริโย
วันที่ 23 ต.ค. 2555

โปรดอ่านข้อความนี้

มีคำถามว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาตลอด ๗ คืน ๗ วัน ได้มีประมาณเท่าไร?

ตอบว่า หาประมาณมิได้.

นี้ชื่อว่า เทศนาด้วยพระหฤทัยก่อน ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น ใครๆ ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า ก็พระศาสดาเมื่อทรงเปล่งพระวาจาแสดงธรรมอันพระองค์คิด ด้วยพระทัยตลอด ๗ วันอย่างนี้ โดยล่วงไปร้อยปีก็ดี พันปีก็ดี แสนปีก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อให้ถึงที่สุดได้ ดังนี้.

จริงอยู่ ในกาลอันเป็นส่วนอื่น พระตถาคตเจ้าประทับนั่งท่ามกลาง เหล่าเทพหมื่นจักรวาลเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริชาต ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อทรงแสดงธรรมทรงทำพระพุทธมารดาให้เป็นกายสักขี ก็ทรงย่อแล้วๆ ซึ่งลำดับธรรม จากระหว่างธรรมแล้วแสดงโดยส่วนแห่งร้อย โดยส่วนแห่งพัน โดยส่วนแห่งแสน เทศนาที่พระองค์ให้เป็นไปติดต่อกันสามเดือน เป็นอนันตเทศนาประมาณมิได้ ประดุจคงคาในอากาศที่ไหลลงมาอย่างเร็ว และประดุจสายน้ำที่ไหลออกจากหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉะนั้น.

จริงอยู่ แม้ในกาลเป็นที่อนุโมทนาภัตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงอนุโมทนาอยู่ขยายออกหน่อยหนึ่ง ก็จะได้ประมาณเท่ากับ ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย. อนึ่ง เมื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกันภายหลังแห่งภัต เทศนาก็มีประมาณเท่านิกายใหญ่ทั้งสอง คือ สังยุตตนิกายและอังคุตตรนิกาย.เพราะเหตุไร? เพราะภวังคปริวาส (การอยู่อาศัยภวังคจิต) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เร็ว ริมพระโอษฐ์เรียบสนิทดี พระชิวหาอ่อนคล่องพระโอษฐ์ พระสุรเสียงไพเราะ พระวาจาเปล่งได้เร็ว เพราะฉะนั้น แม้ธรรมอันพระองค์แสดงแล้ว เพียงครู่หนึ่งนั้น จึงได้มีประมาณเท่านี้ ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว ตลอดไตรมาส จึงประมาณไม่ได้เลย.

จริงอยู่ พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎกยืนอยู่แล้วโดยท่าที่ยืนนั่นแหละ ย่อมเรียน ย่อมบอก ย่อมแสดงคาถา ๑๕,๐๐๐ คาถา บทธรรม ๖๐,๐๐๐ บท เหมือนชนผู้ดึงดอกไม้ทั้งกิ่ง ธรรมมีประมาณเท่านี้ ชื่อว่าเป็นอุเทศมรรค (ทางแห่งอุเทศ) หนึ่งของพระเถระ เพราะว่า บุคคลอื่น เมื่อให้อุเทศตามลำดับบทแก่พระเถระ ย่อมไม่อาจเพื่อจะให้ คือบอกให้ไม่ทัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น พึงให้สมบูรณ์ พระสาวกผู้มีสติมากยิ่ง มีคติมากยิ่ง มีธิติมากยิ่งอย่างนี้ แม้เรียนเทศนาที่พระศาสดาแสดงแล้ว ตลอดไตรมาส โดยทำนองนี้ สิ้นพันปี ก็ไม่อาจให้ถึงที่สุดได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
อารทธวิริโย
วันที่ 23 ต.ค. 2555

จาก อัฎสาลินี ธรรมสังคณี นิทานกถา ว่าด้วยพระฉัพพรรณรังสี

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
อารทธวิริโย
วันที่ 23 ต.ค. 2555

จาก อัฎสาลินี ธรรมสังคณี นิทานกถา ว่าด้วยพระฉัพพรรณรังสี

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Phoch
วันที่ 1 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 23 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ