ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๖๑

 
khampan.a
วันที่  21 ต.ค. 2555
หมายเลข  21939
อ่าน  1,551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้

[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๖๑]

ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ที่จะไม่ให้มีใคร

โกรธกันเลย ไม่ขัดใจกันเลย ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ก็ย่อมจะมีบ้าง แม้แต่ในระหว่าง

สัตบุรุษ ก็คงจะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้ขุ่นข้องหมองใจกันบ้าง แต่ก็กลับเชื่อมกันได้

สนิทโดยเร็ว นี่คือผู้ที่เป็นบัณฑิต ผู้ที่เห็นว่า ในที่สุดแล้ว ก็ต้องตาย คือ ทุกคนที่

เกิดมา จะรัก จะชังกันมากสักเท่าไร แล้วก็ตาย แล้วก็ลืมหมดทุกอย่างในชาตินี้ แต่ใน

ระหว่างที่ยังไม่ตาย ยังไม่ลืมก็ยังจำไว้ แต่ว่าจะจำโดยฐานะของบัณฑิต หรือว่าจะจำ

โดยฐานะของคนพาล?

ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับธรรมได้เลย ไม่ว่าอกุศลธรรมและกุศลธรรม บางกาล

กุศลธรรมก็มีปัจจัยที่จะเกิดมาก บางกาลอกุศลที่ยังไม่ได้ดับ ก็มีปัจจัยที่จะเกิด เพราะ

ฉะนั้น แม้ว่าในชาติหนึ่ง จะเป็นผู้ที่ได้พยายามอบรมตน ฝึกตน ขัดเกลากิเลส แต่เมื่อ

กิเลสยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท (ตัดได้อย่างเด็ดขาด) ยังมีเชื้อที่จะทำให้เกิดขึ้น ก็จะ

ทำให้มีการกระทำซึ่งเป็นไปตามกำลังของกิเลสนั้นๆ

ไม่มีอะไรในชีวิตที่ประเสริฐเท่ากับ การที่จะได้รู้ความจริง ของสิ่งทั้งปวง เพราะ

เหตุว่าไม่ใช่การหลอกลวง ไม่ใช่การเข้าใจผิด ไม่ใช่การเห็นผิด แต่ก็เป็นสิ่งซึ่งไม่ง่าย

ในการที่จะรู้สัจจธรรม เพราะว่าต้องเป็นผู้ที่ตรง และเป็นผู้จริงใจ ต่อการอบรมเจริญ

ปัญญาเพื่อที่จะเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ด้วย

การเอาใจใส่ด้วยเมตตา ย่อมสะอาด และย่อมไม่เกิดโทษภัยใดๆ ทั้งสิ้น แต่

ถ้าทำด้วยความรักก็จะเกิดเสียใจ จะเกิดน้อยใจ จะเกิดขุ่นเคืองใจได้ ซึ่งก็เป็นโทษ

ของโลภะนั่นเอง ตราบใดที่ยังไม่เห็นโทษ ความเป็นผู้ตรง ไม่เกิดไม่พิจารณา กุศล

ทั้งหลาย ก็เจริญขึ้นไม่ได้

การเรียนน้อย หรือเรียนมาก ไม่สำคัญเลย สำคัญที่ความเข้าใจ สิ่งที่เรียนหรือ

สิ่งที่ได้ฟัง ลึกซึ้งและถูกต้องแค่ไหน เช่นคำว่า “ธรรม” แสดงว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล

ไม่มีตัวตน มีแต่สภาพธรรมแต่ละอย่าง เช่น การเห็น เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

ไม่ว่าจะ เป็นนก เป็นเป็ด เป็นคน เป็นเทพ การเห็น เป็นแต่เพียงการเห็น การได้ยิน

ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าในนรก ในมนุษย์ บนสวรรค์ ก็จะต้องมีการได้ยิน ซึ่งเป็นสภาพ

ธรรมอย่างหนึ่งซึ่งอาศัย เหตุ ปัจจัย จึงเกิดขึ้น

พระธรรมทั้งหมด เพื่อการละ เพื่อการขัดเกลา แต่ในขณะที่บุคคลนั้นหวังผล

หรือหวังอานิสงส์ของกุศล ขณะนั้นไม่ใช่เพื่อการขัดเกลา

หนทางเดียว ที่จะทำให้กิเลสค่อยๆ ลดกำลังลง ก็คือ การเป็นผู้ที่ไม่ทอดทิ้ง

การศึกษา การฟังพระธรรม การพิจารณาพระธรรมโดยละเอียด เพื่อที่จะให้เกิดปัญญา

ที่สามารถจะระลึกได้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมในชีวิตประจำวันจริงๆ ซึ่งการดำเนิน

ชีวิตในแต่ละวัน ก็ย่อมแสดงถึงการเคยได้ฟังพระธรรม การเคยได้พิจารณาพระธรรม

และการเข้าใจธรรมในอดีตด้วย

ผู้ที่มารดาบิดายังมีชีวิตอยู่ ก็ทราบว่าวันหนึ่งท่านก็จะต้องจากไป แต่ถ้าไม่เลี้ยง

ดูท่าน ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ เป็นผู้ไม่เห็นคุณของ มารดาบิดา แล้วผู้นั้นจะ

เห็นคุณของบุคคลอื่น ได้อย่างไร แม้แต่ผู้ที่เป็นมารดาบิดา ซึ่งเลี้ยงดู ให้ทุกสิ่งทุก

อย่างมา ให้ความสุขสบายมาตั้งแต่เกิด ผู้นั้นก็ยังไม่เห็นคุณ ยังไม่ทำตอบแทน คุณ

ของท่าน เพราะฉะนั้น จะคิดถึงคุณของบุคคลอื่น ก็คงยาก เพราะแม้แต่คุณของ

มารดาบิดา ก็ไม่เห็น

ทุกคนมีจิต แต่ไม่รู้จักจิต จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม

ธรรมฝ่ายดี ก็ไม่ได้อยู่นอกจิต ธรรมฝ่ายที่ไม่ดี ก็ไม่ได้อยู่นอกจิต เพราะจะต้อง

เกิดร่วมกับจิต เป็นไปตามเหตุปัจจัย

อาจหาญที่จะรู้ว่าทุกขณะของชีวิตเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

มีชีวิตอยู่ตามปกติ แต่มีความเข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งขึ้น

เพียงครึ่งวันที่ผ่านมา อกุศลก็มากแล้ว แล้วตลอด อดีตชาติที่ผ่านๆ มา อกุศล

ที่สะสมมาจะมากสักแค่ไหน?

ขณะที่ไม่รู้ ก็ไม่สามารถที่จะละคลายความไม่รู้ได้ เพราะขณะนั้นไม่รู้

สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก ยิ่งขึ้น ยังมีโลภะ อยู่ ก็ขัดเกลาโลภะได้ เพื่อถึง

ความไม่มีโลภะ

ทุกข์มาก เพราะติดข้องมาก

ถ้าหากสามารถที่จะทำให้คนอื่นได้เข้าใจถูกเห็นถูกในธรรม ย่อมเป็นประโยชน์

อยากเข้าใจธรรมมากๆ ก็เดือดร้อนได้

อยากไม่มีโลภะ ไม่มีทางหมดโลภะ เพราะขณะที่อยาก เป็นการสะสมโลภะให้มี

มากขึ้น

กุศลไม่คลุกคลี อยู่ด้วยเมตตา ขณะนั้นไม่คลุกคลี จะปราศจากการคลุกคลี

ได้ ก็ด้วยกุศลธรรม

มีชีวิตอยู่ ... เพื่อเข้าใจพระธรรม

ห้ามอะไรไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ แต่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเกิด

เพราะเหตุปัจจัย ได้

สัญญาที่มั่นคง ไม่ได้เอามาจากที่ไหน แต่ก็มา จากการได้ยิน ได้ฟังพระธรรม

จนกระทั่งมีความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ

ตนเองไม่สามารถที่จะพึ่งตนเองด้วยความไม่รู้ ได้ จึงต้องพึ่งพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ด้วยการฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง

ถ้าเกิดมาแล้ว ไม่ได้ฟังพระธรรม อยู่ไปๆ จนกระทั่งตายไป ก็เหมือน

กับขณะที่เกิดมา คือ ก็ยังคงไม่รู้อยู่เหมือนเดิม.

ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ ๖๐ ได้ที่นี่ครับ

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๖๐...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่งและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมปันธรรม ด้วยครับ

- ผู้ที่เห็นคุณค่าของพระธรรมจริงๆ เห็นประโยชน์จริงๆ ก็จะไม่ไปติดในคำ แต่จะรู้

ตามความเป็นจริงว่า ชีวิตประจำวันที่ได้ฟังพระธรรม มีความนอบน้อม ที่จะบูชา

ด้วยการปฏิบัติอย่างไร บูชาสูงสุดในการปฏิบัติ ก็คือ ประพฤติตามคำสอน ที่จะ

อบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม - แต่นอกจากนั้น ทรงแสดงพระธรรมอีกด้วย ไม่ใช่เฉพาะเรื่องสติปัฏฐาน ไม่

ใช่เฉพาะเรื่องปรมัตถธรรม เพราะรู้ว่า ยิ่งได้ยินได้ฟังมาก ยิ่งเห็นโทษของอกุศล

มาก จิตใจของคนที่พิจารณา ถึงจิตของตนเอง ก็เริ่มปฎิบัติบูชา แม้ในขั้นของศีล

ในขั้นของความสงบของจิต และการอบรมเจริญปัญญาด้วย มิฉะนั้นแล้ว ชีวิตของ

เรา จะศึกษาธัมมะโดยเปล่าประโยขน์ โดยไร้ประโยชน์ ไม่ได้อะไรเลย นอกจาก

ชื่อ หรือว่าเป็นผู้ได้ยินได้ฟังแล้ว ก็เป็นผู้ที่บูชาพระองค์ ด้วยการประพฤติปฏิบัติ

ตามเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ตัวตนปฏิบัติตาม แต่เป็นธัมมะที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตาม

- ทำไมเราจึงให้คำพูด หรือที่เรียกว่า คำทำนาย ของใครก็ไม่รู้ มากำหนดชีวิตของ

เรา ทุกชีวิตถูกกำหนดแล้ว ด้วยกรรมของแต่ละคน ถ้ามั่นคงในเรื่อง กรรม และผล

ของกรรม เราก็จะไม่หวั่นไหว ในคำทำนายของคนที่มีอาชีพหมอดู หรือแม้แต่คิดว่า

จะไปหาหมอดู เราก็จะไม่คิดให้เสียเวลาและเสียเงิน

- เคยได้ฟังผู้เปรียบเทียบว่า ศึกษาปริยัติ เหมือนศึกษาแผนที่ ก่อนจะเดินทาง และ

การได้เดินทางจริงๆ คือ การปฏิบัติธรรม ซึ่งถ้าฟังดูเผินๆ เหมือนว่าจะเป็นจริง

ตามนั้น แต่....ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะถ้าเป็นไปตามคำเปรียบเทียบนั้น

แสดงว่าแยก ปริยัติ ออกจาก ปฏิบัติ โดยสิ้นเชิง การศึกษาปริยัตินั้น เมื่อมีความ

เข้าใจ ก็เป็นปัญญาที่เข้าใจ ขณะนั้นปัญญา ก็ทำหน้าที่เข้าใจ เป็นความเข้าใจขั้น

การฟัง (สัจจญาณ) ปัญญาเจตสิก ปฏิบัติกิจของปัญญา (ไม่ใช่เราปฏิบัติ) และ

สติปัฏฐานก็เกิดได้ในขณะที่ฟังด้วย เป็นปัญญาขั้นกิจญาณนั่นเอง ไม่แยกจากกัน

ปริยัติ กับ ปฏิบัติ จึงไม่แยกกัน

- อะไรก็ตามที่จะเตือนให้ได้พิจารณาธรรม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แม้ว่าจะเป็นวัน

เดือน ปี ที่ผ่านไป และชาวโลกนิยมนับถือกันว่าปีใหม่และปีเก่าก็ตาม แต่ว่าสำหรับ

ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมก็ยังอาศัยเหตุนั้นเป็นเครื่องระลึกได้ว่า ได้มีความเข้าใจ

ในสภาพธรรมมากน้อยแค่ไหน เพิ่มขึ้นแล้ว มากน้อยแค่ไหน เพราะคำว่า “พหูสูต”

คือ ผู้ที่ฟังพระธรรม แล้วเข้าใจอรรถของพระธรรม ถึงแม้จะเป็นผู้ที่ฟังน้อย เพราะ

คงจะมีส่วนมากทีเดียว ที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกจบ ทั้งอรรถกถา ฎีกา แต่เป็นผู้ที่

พิจารณาข้อความที่ได้ฟัง แม้น้อย โดยที่ ไม่ผ่านไป

- โดยมาก เรามักจะโทษ สภาพแวดล้อม หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น อาชีพการงาน

ว่าทำให้เราทุกข์ แต่ลืมพิจารณาไปว่า เหตุที่ทุกข์ใจนั้น เพราะกิเลสของเราเอง

เพราะปรารถนาที่จะได้วิบากที่ดีๆ แต่ขอเรียนให้ทราบว่า ไม่มีใคร สามารถเอาชนะ

วิบากกรรมได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร เพราะฉะนั้น การศึกษาพระธรรม

จึงเป็นหนทางเดียว ที่จะทำให้เข้าใจชีวิต ได้อย่างถูกต้อง และความทุกข์ใจ ก็จะ

เบาบางลงไปตามลำดับ

- จะต้องพิจารณาให้รู้ว่า เราต้องการอะไรอย่างแท้จริงในชีวิต เราอยากจะหลงยึด

ถือร่างกายและจิตใจเป็น ตัวตน ต่อไปอีกกระนั้นหรือ? เราอยากจะมีชีวิตอยู่ในความ

มืดมน หรือว่า ใคร่จะเจริญปัญญาให้ถึงความสิ้นทุกข์ ถ้าเราตัดสินใจว่า จะดำเนิน

หนทาง ที่นำไปสู่ ความสิ้นทุกข์แล้ว เราก็จะต้องเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ใน

ขณะที่ เห็น ได้ยิน คิดนึก เป็นทุกข์ เป็นสุข ทางนี้เป็นทางเดียว ที่จะรู้แจ้งว่า อะไร

เป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นธรรมที่ดับทุกข์ และอะไรเป็นทางปฏิบัติ

ให้ถึงธรรม ที่ดับทุกข์ เมื่อรู้ว่า อวิชชา ความไม่รู้ มีมาก หนาแน่นเพียงใด และหลงยึด

มั่น ในตัวตน มากเพียงใดแล้ว ก็เป็นผู้ไม่ประมาท ที่จะเห็นประโยชน์ของชีวิตที่มีอยู่

ในการเกิดเป็นมนุษย์ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมและเจริญกุศลทุกๆ ประการ

- พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธบริษัท

จะรักษา และปกป้องพระพุทธศาสนา ก็ต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจว่า พระพุทธเจ้า

ตรัสรู้อะไร พระองค์ทรงสอนให้สาวกรู้อะไร เมื่อศึกษาเข้าใจ ควรน้อมประพฤติปฏิบัติ

ตามพระธรรม คำสอน จึงชื่อว่าช่วยกันรักษา มิให้เสื่อมสูญ และปกป้องมิให้ใคร มาบิด

เบือนคำสอน ว่าเป็นอย่างอื่น เป็นเหมือนสัทธรรมปฏิรูป พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุ

แห่งการเสื่อมสูญ ของพระศาสนาไว้ว่า ศาสนาจะเสื่อมสูญ เพราะ พุทธบริษัท ๔

เท่านั้น บุคคลภายนอก ไม่สามารถทำลายคำสอนได้ โดยนัยตรงกันข้าม พระศาสนา

จะเจริญ ก็อยู่ที่พุทธบริษัทเท่านั้น คือ จะเจริญด้วยการศึกษา และประพฤติปฏิบัติตาม

ฉะนั้น การปกป้องรักษา พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น แต่อยู่ที่เราศึกษา และ

เข้าใจคำสอน ย่อมอยู่ที่ใจของเรา ผู้อื่นไม่สามารถทำลายได้

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Lamphun
วันที่ 21 ต.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

เตือนใจได้ดีมากเลยครับ โดยเฉพาะข้อแรก คนที่รู้จักกัน ยิ่งสนิทกัน ก็ย่อมต้องมี

เรื่องกระทบกระทั่งกันบ้าง ก็เป็นธรรมดาของผู้ยังมีกิเลส จึงไม่ควรผูกโกรธกันต่อไปจนตาย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 21 ต.ค. 2555

มีชีวิตอยู่ตามปกติ แต่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น

- ผู้ที่เห็นคุณค่าของพระธรรมจริงๆ เห็นประโยชน์จริงๆ ก็จะไม่ไปติดในคำ แต่จะรู้

ตามความเป็นจริงว่า ชีวิตประจำวันที่ได้ฟังพระธรรม มีความนอบน้อม ที่จะบูชาด้วย

การปฏิบัติอย่างไร บูชาสูงสุดในการปฏิบัติ ก็คือประพฤติตามคำสอน ที่จะอบรม

เจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม

...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. คำปั่น และ อ. เผดิม ด้วยค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
aurasa
วันที่ 21 ต.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Noparat
วันที่ 22 ต.ค. 2555

มีชีวิตอยู่ตามปกติ แต่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น

ทุกข์มาก เพราะติดข้องมาก

ถ้าเกิดมาแล้ว ไม่ได้ฟังพระธรรม อยู่ไปๆ จนกระทั่งตายไป ก็เหมือน

กับขณะที่เกิดมา คือ ก็ยังคงไม่รู้อยู่เหมือนเดิม.

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 22 ต.ค. 2555

ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับ ธรรม ได้เลย ไม่ว่า อกุศลธรรม และ กุศลธรรม บางกาล

กุศลธรรมก็มีปัจจัยที่จะเกิดมาก บางกาลอกุศลที่ยังไม่ได้ดับ ก็มีปัจจัยที่จะเกิด เพราะ

ฉะนั้น แม้ว่าในชาติหนึ่งจะเป็นผู้ที่ได้พยายาม อบรมตน ฝึกตน ขัดเกลากิเลส แต่เมื่อ

กิเลสยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท (ตัดได้อย่างเด็ดขาด) ยังมีเชื้อที่จะทำให้เกิดขึ้น ก็จะ

ทำให้มีการกระทำซึ่งเป็นไปตามกำลังของกิเลสนั้นๆ ....ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 22 ต.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
หลานตาจอน
วันที่ 22 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kinder
วันที่ 22 ต.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
rrebs10576
วันที่ 23 ต.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pat_jesty
วันที่ 24 ต.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
boonpoj
วันที่ 7 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ