ความคิด

 
ckannikar
วันที่  22 ต.ค. 2555
หมายเลข  21944
อ่าน  1,247

ดิฉันเป็นมือใหม่ (มากๆ ) ในทางธรรม ได้พยายามจะอ่านหนังสือปรมัตถธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ (ซึ่งพบจากเว็บนี้โดยบังเอิญ-เป็นโชควาสนา) แต่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ยังพยายามจะอ่าน (เพราะมีข้อสงสัยของตัวเอง พยายามจะหาคำตอบจากหนังสือ เผื่อว่าจะเจอ) และหวังว่าการอ่านซ้ำๆ น่าจะช่วยขยับ เพิ่มความเข้าใจได้ทีละนิด ขณะนี้ยังอ่านไม่ถึง ๑ จบ และยังไม่ได้คำตอบต่อข้อที่สงสัย เพื่อให้ดิฉันมีกำลังใจอ่านต่อ (ขอโทษที่นึกเพื่อตัวเองอย่างเดียวเลย) จึงขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ที่มีเมตตาด้วย

คือดิฉันสงสัยว่า

๑. "ความคิดนึกเป็นจิต" หรือคะ ดิฉันเห็นจากในหนังสือปรมัตถธรรม หรือว่าดิฉันเข้าใจผิด เพราะยอมรับว่าบางครั้งอ่านข้าม เนื่องจากเป็นเด็ก (ทางธรรม) ที่ข้ามมาอ่านหนังสือผู้ใหญ่ จึงไม่ค่อยรู้เรื่อง บางครั้งจึงข้ามบ้าง

๒. ดิฉันรู้สึกว่า บางครั้งเคยเห็นความคิดของตัวเองที่เรื่อยเปื่อยไร้สาระและไม่เกี่ยวกับตัวเองเลย เหมือนคนแต่งนิยายไม่มีราคา เวลาที่ใกล้หลับหรือเหม่อ แต่พอมีสติรู้ตัว ความคิดเรื่อยเปื่อยนั้นก็หยุด ไม่ว่าความคิดจะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ตาม ดิฉันสงสัยว่า ทำไมมันจึงฟุ้งไปสร้างเรื่องราว ที่ไม่เกี่ยวกับตัวเองเลยแม้แต่นิดเดียว ดิฉันไม่เข้าใจสิ่งนี้เลยค่ะ

ขอบพระคุณมากนะคะ หากจะมีคนกรุณาคนหน้าใหม่และมือใหม่ (จริงๆ )


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็น ด้วยครับ

ประโยชน์จากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง ที่กำลังมี กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ซึ่งสิ่งที่ศึกษานั้น ไม่พ้นจากขณะนี้เลย ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ถึงแม้จะมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ แต่เพราะไม่รู้ จึงต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ก่อนอื่น เมื่อกล่าวถึงคำอะไร ก็ต้องเข้าใจให้ชัดเจนในคำที่กล่าวถึงด้วย จึงจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาอย่างแท้จริง แม้กระทั่งคำว่า ความคิดนึก

ขณะที่คิด เป็นธรรมที่มีจริงเป็น จิต ที่คิด คิดถึงเรื่องราวต่างๆ จากการได้เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง รวมไปถึงในขณะที่ฝันด้วย ดังนั้น ขณะที่คิด อะไรที่มีจริง ก็ต้องเป็น จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง (และเมื่อจิตเกิดขึ้น ก็ต้อง มีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต คือ เจตสิก ด้วย) ส่วนเรื่องราวที่ จิต คิดนั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีจริง ไม่ใช่รูปธรรมและนามธรรม แต่เป็นบัญญัติเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่จิตรู้ เรื่องราวจึงเป็นอารมณ์ของจิต ที่กำลังคิดในขณะนั้น ซึ่งก็จะเข้าใจไปถึงคำว่า อารมณ์ ด้วย เพราะสิ่งใดก็ตามที่จิตรู้ สิ่งนั้นเป็น อารมณ์ของจิต

เมื่อฟังบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ความเข้าใจถูก เห็นถูก ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นเพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ที่มีจริงยิ่งขึ้น ว่ามีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนแทรกอยู่ในสภาพธรรมเหล่านั้นได้เลย แม้แต่ในขณะที่คิด ก็ไม่ใช่ตัวเราที่คิด แต่เป็นธรรม คือจิต เกิดขึ้นคิด ในขณะนั้น เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะ เหตุ ปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

- เมื่อกล่าวถึงความฟุ้งซ่าน ก็ต้องเข้าใจในความละเอียดด้วยว่า คืออะไร ขณะนั้นจะปราศจากจิตไม่ได้ จะปราศจากเจตสิกไม่ได้ ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นเป็นไปในขณะที่จิตเป็นอกุศล ขณะที่จิตเป็นอกุศล จะมีเจตสิกประเภทหนึ่ง คือ อุทธัจจเจตสิก เกิดร่วมด้วย เป็นสภาพธรรมที่ฟุ้งไป ไม่สงบ อกุศลจิตทุกประเภทไม่ว่าจะประกอบด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ก็ไม่ปราศจากความฟุ้งซ่าน ที่เป็นอุทธัจจเจตสิกเลย แต่จะปรากฏชัดในขณะที่อกุศลนั้นเกิดบ่อย และมีกำลัง แต่ถ้าเป็นในที่เพลิดเพลินติดข้องในสิ่งต่างๆ อาจจะเข้าใจผิดว่าไม่มีความฟุ้งซ่าน แต่ขณะนั้น มีความฟุ้งซ่านเกิดร่วมด้วย เพราะเป็นอกุศล ขณะนั้นไม่สงบ ขณะที่คิดถึงเรื่องราวต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นไปด้วยกับอกุศล ก็ไม่พ้นไปจากความฟุ้งซ่าน นอกจากว่าขณะนั้นคิดไปในทางที่ดี เป็นกุศล จะไม่ฟุ้งซ่าน ตรงกันข้ามกับขณะที่เป็นอกุศลอย่างสิ้นเชิง

การศึกษาพระธรรมเท่านั้น ที่จะทำให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เพราะธรรมไม่ได้อยู่ในตำรา ความฟุ้งซ่านไม่ได้อยู่ในตำรา แต่มีจริง ในขณะที่จิตเป็นอกุศล ซึ่งถ้าไม่ศึกษาก็จะไม่มีทางเข้าใจเลยว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ก็ขอให้คุณ ckannikar ได้อ่านหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปต่อไป และ ฟังพระธรรม เพิ่มเติม ด้วยนะครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 23 ต.ค. 2555

คิดมีจริงเป็น นามธรรม เป็น ธาตุรู้ อาการรู้ เช่น กุศลจิต เกิดร่วมกับเจตสิกที่ดี และอกุศลจิต เกิดร่วมกับเจตสิกที่ไม่ดี ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 23 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. "ความคิดนึกเป็นจิต" หรือคะ ดิฉันเห็นจากในหนังสือปรมัตถธรรม หรือว่าดิฉันเข้าใจผิด เพราะยอมรับว่า บางครั้งอ่านข้าม เนื่องจากเป็นเด็ก (ทางธรรม) ที่ข้ามมาอ่านหนังสือผู้ใหญ่ จึงไม่ค่อยรู้เรื่อง บางครั้งจึงข้ามบ้าง

- ความคิดนึก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนามธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ หมายถึงว่า เมื่อความคิดเกิดขึ้น จะต้องรู้อะไรบางอย่าง นั่นคือ ขณะที่มีความคิดนึกเกิดขึ้น จะต้องมีสิ่งที่ถูกคิด สิ่งที่ถูกคิด เรียกว่า อารมณ์ เพราะฉะนั้น ความคิดนึกจึงเป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรม ที่รู้อารมณ์ ซึ่งความคิดนึก ก็ไม่พ้นจากนามธรรม คือ จิต เจตสิก อาศัยจิตที่เป็นใหญ่ในการรู้ ก็ทำให้มีการคิดนึก เพราะ อาศัยจิต และอีกนัยหนึ่ง วิตกเจตสิกก็ทำหน้าที่ตรึกนึกคิดได้ ครับ


๒. ดิฉันรู้สึกว่า บางครั้งเคยเห็นความคิดของตัวเองที่เรื่อยเปื่อยไร้สาระ และไม่เกี่ยวกับตัวเองเลย เหมือนคนแต่งนิยายไม่มีราคา เวลาที่ใกล้หลับหรือเหม่อ แต่พอมีสติรู้ตัว ความคิดเรื่อยเปื่อยนั้นก็หยุด ไม่ว่าความคิดจะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ตาม ดิฉันสงสัยว่า ทำไมมันจึงฟุ้งไปสร้างเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับตัวเองเลยแม้แต่นิดเดียว ดิฉันไม่เข้าใจสิ่งนี้เลยค่ะ

- พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับว่า วิตกเจตสิก ที่เป็นสภาพธรรมที่ ตรึก นึกคิด และอาศัยจิตด้วยนั้น ท่านเปรียบเหมือนเท้าของโลก คือ ก้าวไปทุกที่ ทุกเวลาได้ คิดเรื่องต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว และจิต เมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมคิดนึกไปในเรื่องราวต่างๆ ตามความทรงจำไว้ ที่เคยจำไว้ จำไว้ในเรื่องอะไร ก็คิดไปในเรื่องนั้น เพียงแต่ว่า จะคิดด้วย กุศล หรือ อกุศล ซึ่งเพราะอาศัยกิเลสเป็นปัจจัย ก็ทำให้คิดไปในเรื่องราวต่างๆ ที่อยู่รอบตัว และคิดเรื่องตนเองก็ได้แต่คิดด้วยจิตที่เป็นอกุศล ด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะอาศัยเหตุ คือ กิเลส เป็นสำคัญ ครับ

ท่านเปรียบ จิต ดังเช่น ลิง คือ ลิงย่อมอยู่ไม่สุข เที่ยวไป เที่ยวมาในที่ต่างๆ จิตที่มากด้วยกิเลส ก็เช่นกัน เปรียบเหมือน ลิง ที่อยู่ไม่สุข เที่ยวไปมาในอารมณ์ต่างๆ ทาง ตา หู จมูก ลิ้กายและใจ คิดไปในเรื่องราวต่างๆ

ซึ่งการจะจับลิง ห้ามไม่ให้ลิงไปที่ไหน หรือ ห้ามจิต ไม่ให้ฟุ้งซ่านด้วยอกุศล ไม่ใช่ตัวเราที่จะห้ามได้ แต่มี สภาพธรรม อย่างหนึ่ง คือ ปัญญาที่สามารถตัดกิเลสได้จนหมดสิ้น ห้ามจิตที่เคยคิดไม่ดีไปในอารมณ์ต่างๆ เป็นจิตที่ไม่มีอกุศล คิดไปในทางที่ดีได้ครับ

ดังนั้น จิตเมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องคิดเป็นไปในอารมณ์ต่างๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะคิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้น อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ย่อมที่จะทำให้ คิด ตรึกไปในทางกุศล ในทางที่ดี แทนที่การคิดด้วยอกุศลได้มากขึ้น ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ckannikar
วันที่ 24 ต.ค. 2555

ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาสอนสั่ง สิ่งที่ดิฉันถาม เป็นสิ่งที่สงสัยมานานมาก และเฝ้าหาคำตอบ ทั้งโดยการพยายามคิดเอาเอง (โดยใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ของตัวเองมาพยายามอธิบาย ก็ได้คำตอบประมาณหนึ่ง แต่ไม่มีใครยืนยันความถูกผิดให้ได้) และการพยายามถามคนอื่น (แต่ดูเหมือนไม่มีใครเข้าใจคำถามของดิฉันเท่าไร) จนกระทั่งเร็วๆ นี้ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแนะนำให้ดิฉันเข้ามาถามในเว็บนี้ และก็ได้คำตอบจริงๆ แม้ว่าด้วยพื้นฐานความรู้ที่จำกัด จะทำให้ดิฉันไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก็จะพยายามเอาไปคิดวิเคราะห์ต่อ (ไม่ทราบเป็นวิธีที่ถูกไหม) และจะพยายามอ่านหนังสือหาความรู้เพิ่มเติม อย่างน้อยครั้งนี้ ก็ทำให้ดิฉันรู้สึกไม่อ้างว้าง เพราะรู้สึกว่ายังมีผู้รู้เป็นที่พึ่งพาทางปัญญาได้

ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ckannikar
วันที่ 26 ต.ค. 2555

เนื่องจากดิฉันมีพื้นฐานน้อยมาก จึงยังไม่ค่อยเข้าใจ สิ่งที่ได้รับความกรุณาสอน

ขออนุญาตขอการอธิบายเพิ่มเติมค่ะ

ดิฉันสรุปได้จากทั้งสามผู้รู้ ที่เมตตา คือ การคิดมีจริง เป็นนามธรรมเป็นธาตุรู้ แต่ความฟุ้งซ่านเป็นเจตสิก ถูกต้องไหมคะ

แต่จากประสบการณ์ของดิฉัน รู้สึกว่า การคิด ไม่ใช่การรู้น่ะค่ะ เป็นเหมือนการปรุงไปเรื่อยๆ เอาประสบการณ์เดิมต่างๆ มาประมวลเพื่อให้ได้คำตอบ

กรณีคิดเพื่อหาคำตอบ ผลลัพธ์คือการรู้ แม้ว่าอาจเป็นการรู้ที่ถูกต้องหรือผิดพลาดก็ได้ เพราะเป็นผลจากการปรุงเอาเอง สรุปว่า จิต (การรู้) เกิดขึ้นภายหลังการปรุง (เจตสิกทำงาน) ใช่หรือไม่คะ

แต่บางกรณี (ซึ่งอาจเป็นความฟุ้งซ่าน) คือคิดถึง เรื่องโน้น เรื่องนี้ ไปเรื่อยๆ เช่น คิดถึงงานที่ทำมา หรือต้องทำ แล้วนึกได้ว่า ต้องทำโน่น ทำนี่เพิ่ม หรือต้องกลับไปแก้ไข อะไรอย่างนี้ก็ยังเป็นจิตที่เกิดหลังการทำงานของเจตสิกใช่ไหมคะ

ส่วนความฟุ้งซ่านที่ดิฉันเคยมีประสบการณ์ขณะใกล้หลับหรือเหม่อ ไม่เกิดคำตอบอะไรขึ้นมาเลยนั้น แสดงว่าหากสติเจตสิกไม่เกิดขึ้น (ที่ทำให้รู้ตัวว่ากำลังฟุ้งซ่าน แล้วหยุดความฟุ้งซ่านนั้น) ก็ไม่มีจิตเกิดขึ้นหรือคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ