ถ้าจะเรี่มพิจารณา ลักษณะของ โลภะ ที่เกิด จะเป็นประโยชน์มาก

 
pirmsombat
วันที่  3 พ.ย. 2555
หมายเลข  22005
อ่าน  1,273

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

อธิปติปัจจัย

อธิปติมี ๒ อย่าง นะคะ คือ สหชาตาธิปติปัจจัย ๑ อารัมมณาธิปติปัจจัย ๑

สหชาตาธิปติ หมายความถึง นามธรรม ได้แก่ ฉันทะ ๑ หรือวิริยะ ๑ หรือจิตตะ ๑ หรือวิมังสะคือปัญญา ๑

เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในหมู่ของสหชาตธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน เพราะเหตุว่าเวลาที่จิตขณะ ๑ เกิดขึ้นต้องประกอบด้วย สหชาตธรรม คือเจตสิก ซึ่งเป็นนามธรรมเกิดร่วมด้วย และในบรรดาสหชาตธรรมหรือสัมปยุตตธรรมซึ่งเกิดร่วมกันนั้น สภาพธรรมใดเป็นใหญ่ในขณะนั้น จะต้องเป็นสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดใน ๔ คือ เพราะฉันทะ เป็นใหญ่ หรือวิริยะ เป็นใหญ่ หรือจิต เป็นใหญ่ หรือวิมังสะคือปัญญา เป็นใหญ่ แต่สำหรับโลภมูลจิต ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ในขณะที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ แล้วแต่ว่าจะมี ฉันทะ เป็นอธิบดี หรือว่ามี วิริยะ เป็นอธิบดี หรือมี จิต เป็นอธิบดี แต่ว่าจะไม่มี วิมังสะคือปัญญา เพราะเหตุว่า ปัญญา เป็นโสภณธรรม

พอที่จะสังเกตได้ไหมคะ โลภะ ในวันหนึ่งๆ ซึ่งมีมากเหลือเกิน ไม่มีใครจะกล่าวได้ว่า วันนี้ ไม่มีโลภะ แต่ว่าโลภะมากทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

แต่ถ้าจะเริ่มพิจารณาลักษณะของโลภะที่เกิด จะเป็นประโยชน์มากที่จะสามารถรู้ได้ว่า ในขณะที่ โลภะ นั้นกำลังเกิดขึ้นปรากฏ มีฉันทะ หรือวิริยะ หรือจิตตะ เป็นอธิบดี ซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะบอกได้เลย นอกจากสติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น

พอที่จะมีตัวอย่างบ้างไหมคะ สำหรับท่านผู้ฟังเองว่า ในขณะไหนมี ฉันทะเป็นอธิบดี ขณะไหนมี วิริยะเป็นอธิบดี หรือว่าขณะไหนมี จิตเป็นอธิบดี

ผู้ฟัง ขณะที่ไตร่ตรองเหตุผลจากธรรม ก็มีจิตเป็นใหญ่ สิครับ

ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่ใช่ โลภมูลจิต นะคะ

ผู้ฟัง ไตร่ตรองเหตุผล

ท่านอาจารย์ ขณะนั้นต้องเป็น มหากุศล ค่ะ เคยจำเป็นจะต้องทำอะไรที่ไม่ค่อยชอบเลยไหมคะ แต่ก็ทำบ้างไหมคะ ขณะนั้นอะไรเป็นอธิบดี ฉันทะหรือเปล่าคะ ไม่ใช่แน่ อะไรเป็นอธิบดีคะ ถ้าต้องอาศัยความเพียร “วิริยะ” อย่างถ้ามีปมเชือกนี่นะคะ อยากจะตัดหรือว่าอยากจะแก้ ทำอะไรจะง่ายกว่ากัน แค่ทีนี้ถ้าเกิดเพียรที่จะแก้ ขณะนั้นไม่ใช่ มหากุศล แน่ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นในขณะที่พยายามที่จะแก้ปมนั้น ก็เป็นโลภมูลจิตที่มีวิริยะ เป็นอธิบดี แต่ในขณะนี้กำลังกล่าวถึง โลภมูลจิต ดวงที่ ๑ ทิฏฐิคตสัมปยุต ไม่ใช่กล่าวถึงโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุต ในขณะนั้น ที่กำลังแก้ปมเชือก ด้วยวิริยะก็ควรที่จะเป็น โลภทิฏฐิคตวิปปยุต มากกว่า แต่ถ้าเป็นการกระทำที่จะต้องทำ เพราะมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย มีความยากลำบากที่จะต้องทำตามความเห็นผิดนั้นๆ ในขณะนั้นก็สามารถที่จะพิจารณาได้อีกว่า เพราะฉันทะหรือเพราะ วิริยะ เป็นอธิบดี

นี่ก็เป็นการที่ถ้าเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ย่อมสามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏในวันหนึ่งๆ ตามความเป็นจริงได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 4 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 4 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 5 พ.ย. 2555

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 5 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
rrebs10576
วันที่ 6 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนัตถ์กานต์
วันที่ 7 พ.ย. 2555

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียดค่ะ

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 7 พ.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 9 พ.ย. 2555

อธิปติ หมายถึง ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน สภาพที่เป็นใหญ่ เช่น กุศลจิตที่เกิดขณะนั้นมีปัญญา หรือวิริยะ หรือฉันทะ หรือชวนจิต เป็นใหญ่ในขณะนั้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
napachant
วันที่ 9 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pirmsombat
วันที่ 10 พ.ย. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทาง และ ทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ