ฟังธรรมก็เข้าใจ แต่ไม่กล้าปฎิปัตติ
ฟังธรรมก็เข้าใจ กล่าวคือ เมื่อจำได้ว่าขณะนี้เป็นธรรม เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ก็น้อมไปเพื่อที่จะเข้าใจในลักษณะที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นก็มีธรรมอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้คิดว่าเป็นการจดจ้อง
ก็ขอทราบลักษณะของปฏิปัตติ และลักษณะของจดจ้อง ว่าแตกต่างกันอย่างไร
การเจริญสติปัฏฐาน คือ ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าแป็นแต่เพียง ธรรรม ไม่ใช่เรา ซึ่งขณะนั้นกำลังมีสติที่ระลึกรู้ลักษณะ ในขณะที่เป็นปฏิบัติ คือขณะที่สติกำลังระลึกรู้ลักษณะ โดยไม่ได้จดจ้อง คือขณะนั้นกำลังมีตัวธรรมที่มีลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ โดยไม่ใช่การคิดนึก เพราะกำลังรู้ตรงลักษณะ โดยสติและปัญญา
ส่วนการจดจ้อง คือขณะที่สภาพธรรมดับไปนานแล้ว แต่ก็พยายามตามรู้ ตามจดจ้อง พยายามที่จะคิดตาม หลังจากสภาพธรรมดับไป โดยเป็นการคิดนึกว่าเป็นแต่เพียงธรรมะ ซึ่งเป็นการคิดนึก ไม่ใช่ระลึกรู้ตรงลักษณะ และที่สำคัญ ขณะที่จดจ้องเป็นขณะที่มีความต้องการ เป็นโลภะอย่างละเอียดที่จะตามดูสภาพธรรมโดยไม่รู้ตัว
การเจริญสติปัฏฐาน จึงเป็นเรื่องละเอียด เป็นหนทางที่ยาก เพราะเป็นหนทางละ หนทางที่ถูกคือการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ปัญญาที่เจริญขึ้นย่อมทำกิจปฏิบัติหน้าที่เอง เมื่อใดสติเกิดก็เกิด สติไม่เกิดก็ไม่เกิด ครับ
ขอนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สําคัญที่การเริ่มต้นจากการได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอย่างแท้จริง ไม่ต้องห่วงเรื่องปฏิปัตติ ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เพราะเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ย่อมเป็นเหตุให้ความรู้ความเข้าใจในขั้นของปฏิปัตติ ซึ่งเป็นการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมี กำลังปรากฏ ก็ย่อมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ความรู้ความเข้าใจต้องเจริญขึ้นไปตามลำดับจริงๆ ถ้ายังไม่รู้อะไรเลย ปฏิบัติก็ผิด ไม่สามารถเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ได้เลย
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...