พระพุทธองค์ทรงเป็นนักเล่านิทาน?

 
Nop.p
วันที่  23 ธ.ค. 2555
หมายเลข  22218
อ่าน  7,745

ในพระสุตตันตปิฎก มีพระสูตรหลายๆ สูตร ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมโปรดชนทั่วๆ ไปต่างกาล ต่างเวลา สถานที่ ต่างชั้นวรรณะ ต่างสติปัญญา ของชุมชนทั่วชมพูทวีป เพื่อทำความสว่างแจ้งในธรรมแก่ชนเหล่านั้น พระพุทธองค์จึงทรงยกตัวอย่างชี้ให้เห็นเป็นบุคคลาธิษฐานบ้าง ธรรมมาธิษฐานบ้าง แล้วแต่สถาณะการณ์ ... จึงได้ชื่อว่า นิทานธรรมบท นิทานชาดกบ้าง พระเจ้า ๑๐ ชาติบ้าง พระเจ้า ๕๐๐ ชาติบ้าง ซึ่งมีอยู่หลายร้อยเรื่องที่กล่าวถึง สัตว์ บุคคล สิ่งของ สถานที่ ธรรมชาติฯ

(ในความคิดผมตามหลักกาลามสูตร)

- นิทานก็คือนิทานใช่หรือไม่ (แต่งขึ้นตามสถานการณ์นั้นๆ )

- ในพระไตรปิฎกใช่ว่าจะเป็นพุทธวจนะทั้งหมดใช่หรือไม่

- ผู้ศึกษาควรจะเชื่อตามพระไตรปิฎกทั้งหมดหรือไม่

- อันบุคคลหมายรวมทั้งพระอริยะต่างกันด้วยสติปัญญาใช่หรือไม่

- พระอริยเจ้าจนถึงพระอรหัตเจ้าทั้งหลาย ยังมีความขัดแย้งกันทางด้านความคิดเห็นใช่หรือไม่

- การสังคยานาครั้งแรกจนถึงมีการจารึกเป็นตัวอักษรไม่มีการผิดพลาดเลยหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- นิทานก็คือนิทานใช่หรือไม่ แต่งขึ้นตามสถานการณ์นั้นๆ

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ในส่วนที่เป็นเรื่องราวที่กล่าวกับบุคคลต่างๆ ไม่ใช่เรียกว่า นิทาน ครับ แต่เรียกว่า พระสูตร ส่วนที่พระองค์ทรงตรัสในเรื่องอดีตชาติของพระองค์ เรียกว่า ชาดก ไม่ใช่ นิทาน อีกเช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้น แต่เป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นแล้ว นานมาแล้วครับ

- ในพระไตรปิฎกใช่ว่าจะเป็นพุทธวจนะทั้งหมดใช่หรือไม่

พระไตรปิฎก เป็นพระธรรมที่แสดงโดยผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง นั่นคือพระพุทธเจ้าที่ล้วนแล้วแต่เป็นพุทธวจนะ ทั้งสิ้นครับ

- ผู้ศึกษาควรจะเชื่อตามพระไตรปิฎกทั้งหมดหรือไม่

ผู้ศึกษา ชื่อก็บอกแล้วว่าศึกษา เพราะฉะนั้น เมื่ออ่านเรื่องใด ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก วิชาการทั้งโลก ก็ต้องพิจารณาเหตุผลในสิ่งที่ได้อ่าน จึงเชื่อด้วยปัญญา ไม่ใช่เชื่อเพราะสิ่งนั้นเป็นพระไตรปิฎก แต่เพราะเกิดปัญญาความเข้าใจถูก จึงเชื่อครับ

- อันบุคคลหมายรวมทั้งพระอริยะต่างกันด้วยสติปัญญาใช่หรือไม่

บุคคลทั้งหลาย ก็หมายรวมสัตว์โลกทั้งหมด ทั้งที่เป็นปุถุชน และ พระอริยเจ้า ที่เรียกว่าปุถุชน เพราะหนาด้วยกิเลส ที่เรียกว่าพระอริยเจ้า เพราะ เป็นผู้ประเสริฐ ซึ่งแตกต่างกันตามระดับปัญญา ถูกต้อง ครับ

- พระอริยเจ้าจนถึงพระอรหัตเจ้าทั้งหลายยังมีความขัดแย้งกันทางด้านความคิดเห็นใช่หรือไม่

พระอริยเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่ขัดแย้งกันในหนทางข้อฏิบัติและที่เกี่ยวกับสัจจะความจริง เพราะประจักษ์ความจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเช่นกัน ความคิดจึงคล้อยตามกันครับ

- การสังคยานาครั้งแรกจนถึงมีการจารึกเป็นตัวอักษรไม่มีการผิดพลาดเลยหรือไม่

ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่จะรู้ว่าผิดพลาดหรือไม่ผิดพลาด แต่ผู้ที่ศึกษาย่อมจะต้องศึกษาเรื่องนั้นก่อนและตัดสินด้วยการพิจารณา และไตร่ตรองตามความเป็นจริงว่าตรงตามสัจจะความจริงหรือไม่ ถ้าขัดแย้งก็ไม่ตรง ถ้าไม่ขัดแย้งก็ตรง เพราะฉะนั้นสำคัญที่ผู้นั้นจะต้องศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ก็จะได้สาระจากพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 24 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 24 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธเจ้าทรงแสดงนิทานที่เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์หรือสังสารวัฏฏ์คืออวิชชา ซึ่งเป็นเบื้องต้นของสังสารวัฏฏ์จริงๆ นี้คือความหมายหนึ่งของคำว่านิทาน คือต้นเหตุ นอกจากนั้นพระองค์ทรงแสดง นิทาน ที่มีความหมายว่า เหตุที่จะทำให้เกิดวิบากข้างหน้า ได้แก่กรรมที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม นี้ก็เป็นอีกความหมายหนึ่งของนิทาน และอีกความหมายหนึ่งคือ เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ก็เรียกว่านิทานได้ เช่นเหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองสาวัตถี ก็เรียกว่าสาวัตถีนิทาน นิทานจึงไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นหรือเป็นเรื่องเล่าแต่อย่างใด ถ้าเป็นการแสดงอดีตประวัติความประพฤติเป็นไปของพระพุทธองค์และพระอริยสาวกท่านอื่นๆ อย่างนี้เรียกว่าชาตกะหรือชาดก

- การที่จะเข้าใจธรรมได้ ต้องศึกษาพระไตรปิฎกที่เป็นพระพุทธพจน์ คำที่แสดงความจริงเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นพระพุทธพจน์ เพราะคำจริงย่อมจริงโดยตลอดนั่นเองครับ

- ที่เรียกว่าสัตว์โลก หรือเป็นบุคคลต่างๆ ก็เพราะมีสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เกิดขึ้นเป็นไป ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

- พระอริยบุคคล เป็นผู้ที่ได้ตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง หมดสิ้นความสงสัย ไม่มีความเห็นผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของสภาพธรรม จึงไม่มีความขัดแย้งกันทางความคิด เพราะได้ธรรมตรงตามความเป็นจริง ตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

- พระไตรปิฎกที่เป็นพระพุทธพจน์สืบทอดมาถึงยุคนี้ มีความบริบูรณ์อย่างครบถ้วนซึ่งจะเป็นประโยชน์เพียงพอแก่ความเข้าใจสำหรับผู้ที่ได้ศึกษาอย่างแท้จริง เพราะถ้าได้ศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 24 ธ.ค. 2555

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าคือพระไตรปิฎก และไม่มีใครเขียนพระไตรปิฎกได้เอง นอกจากเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Nop.p
วันที่ 25 ธ.ค. 2555

พระธรรมบทหรือพระชาดก ล้วนสื่อให้เห็นสามัญญลักษณะที่ดีงามในกรรมที่ทำไว้ทั้งในอดีต-ปัจจุบันและเชื่อมไปถึงอนาคต กระผมไม่ติดใจสงสัยในสิ่งที่ดีงาม ...

- ปัจจุบันภิกษุย่อมเอ่ยอ้างต่อทายก ทายิกาว่า ธรรมนั่น-นี่เป็นพุทธวจนะ ใช่หรือไม่?

- พระไตรปิฎกย่อมเป็นพระไตรปิฎก จะแบ่งแยกออกมาเป็นกี่เล่ม กี่สำนักพิมพ์ก็ตาม แต่ในพระพุทธวจนะนั้นยังประกอบไปด้วยคำอธิบายต่างๆ ของพระอรรถกถาจารย์ ฎีกาและอนุฎีกา มาขยายความต่อกันเป็นทอดๆ จะสั้นก็ดี จะยาวก็ดี จะได้ชื่อว่าพระพุทธพจน์ได้อย่างไร?

- ดังนั้น ในพระไตรปิฎกจึงประกอบไปด้วยคณาจารย์ทั้งหลายรจนาขึ้นต่างกรรมต่างเวลา ต่างสถานที่ ใช่หรือไม่?

ขอบคุณครับอาจารย์ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

เรียน ความเห็นที่ 5 ครับ

ในความเป็นจริง อรรถกถา ก็เป็นพระธรรมของพระพุทธเจ้านั่นเองครับ เพียงแต่ว่ากล่าวโดยพระสาวก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับรองคำนั้น ก็ชื่อว่า เป็นพระพุทธพจน์แล้ว ดังนั้น อรรถกถาที่อธิบายเพิ่มเติมก็เป็นคำที่สาวกของพระพุทธเจ้าไม่ได้แต่งขึ้นใหม่ดังพระสูตรที่อ้างถึง ที่มีคำว่านักกวีแต่งขึ้นใหม่ แต่อรรถกถา เป็นการอธิบายพระธรรมตามแนวของพระพุทธเจ้า คือตามพระบาลี ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอยู่แล้ว ไม่ได้แต่งให้นอกเหนือจากคำสอนของพระองค์ แต่ที่พระสาวกผู้มีปัญญาได้อธิบายเป็นอรรถกถา ก็เพื่อความละเอียด เพื่อความเข้าใจของสาธุชนรุ่นหลังให้เข้าใจได้ถูกต้องไม่เผินในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งสุดประมาณ ยากต่อการเข้าใจกับหมู่สัตว์ผู้มากไปด้วยความไม่รู้ครับ

ดังนั้น การจะปฏิเสธถ้อยคำของใคร ผู้ใด นั้น ก็จะต้องศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดให้เข้าใจถูกต้อง และเมื่อเข้าใจพระธรรมแล้ว เมื่อได้ยินคำใด จากผู้ใด ก็ย่อมรู้ถึงคำนั้น คือ ไม่ได้ติดที่พยัญชนะว่าจะต้องตรงตามพระไตรปิฎก จึงจะเป็นพระพุทธพจน์ แต่ถ้อยคำนั้น สื่อความหมายเป็นไปแนวทางเดียวกับพระธรรมหรือไม่ เมื่อความหมายอรรถเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คำนั้นก็ชื่อว่าคล้อยตามพระพุทธพจน์ เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้าด้วย เพราะว่าอาศัยพระพุทธพจน์ที่ได้ศึกษาเข้าใจมาอธิบายเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจละเอียดเพิ่มขึ้นครับ

อรรถกถา ก็เช่นกันที่แต่งขึ้นโดยพระสาวกผู้มีปัญญา ท่านเหล่านั้นก็ยึดหลักพระธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะท่านได้ศึกษาเข้าใจแล้วจึงอธิบายพระพุทธพจน์เพิ่มเติมให้มีความเข้าใจพระธรรมละเอียดเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ พระสาวกทั้งหลาย หากได้อ่านรายละเอียด ท่านจะกล่าวเสมอว่า ท่านได้อธิบายแต่งอรรถกถาเพิ่มเติมโดยยึดแนวหลัก คือ พระพุทธพจน์เดิม ไม่ได้แต่งนอกเหนือไปจากนี้ และเมื่อพระสาวกกล่าวธรรมแล้วมีคนเลื่อมใส และ ผู้นั้นถามพระสาวกว่า คำนี้เป็นคำของท่านหรือไม่ ท่านก็กล่าวว่า ไม่ใช่คำของท่าน แต่เป็นคำของพระพุทธเจ้า นี่ก็แสดงถึงคำที่กล่าว แม้สาวกกล่าวก็กล่าวมาจากความเข้าใจของตนเองที่ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ท่านพระอรรถกถาจารย์ มีพระสาวกรุ่นหลังก็เช่นเดียวกัน

ดังนั้น พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งสุดประมาณ หากมีผู้ที่มีปัญญามาก มีพระอริยสาวกที่อธิบายพระธรรมให้เข้าใจขึ้น ก็ควรศึกษาเพิ่มเติม คือควรอ่าน ศึกษาจากพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ในการเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้อง ดังเช่น มงคล คือ การคบกัลยาณมิตร ย่อมได้คุณวิเศษ มีการได้ความเข้าใจพระธรรมและได้บรรลุธรรมครับ

คิดเอง กับ อาศัยผู้อื่นอธิบายที่มีปัญญา มีความเข้าใจ อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 26 ธ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เพียงดิน
วันที่ 28 ธ.ค. 2555

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 28 ธ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"คิดเอง กับ อาศัยผู้อื่นอธิบายที่มีปัญญา มีความเข้าใจ อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน"

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Suwathawornsakul
วันที่ 21 ธ.ค. 2559

k.padern ตอบคำถามได้มีลึกซึ้งมากครับ ท่านใด ศึกษาและรู้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเข้าใจว่าท่านมีเมตตาต่อสัตว์โลกเพียงไหน

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านครับ

ชัยยุทธ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ