เดินหนอ นั่งหนอ

 
email
วันที่  1 ต.ค. 2549
หมายเลข  2223
อ่าน  1,733

เดินหนอ นั่งหนอ เป็นวิธีการทำวิปัสสนาใช่ไหม มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกบ้างไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 ต.ค. 2549

ยังไม่พบคำดังกล่าวในพระไตรปิฎกและอรรถกถาว่าเป็นวิธีปฏิบัติวิปัสสนา โปรดศึกษาโดยตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา หรือ ผู้ที่แสดงพระธรรมที่นำมาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาจะถูกต้องกว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
vipanapa
วันที่ 4 ต.ค. 2549

เดินหนอ นั่งหนอ เห็นหนอ แล้ว "หนอ" แปลว่าอะไร มีลักษณะสภาพธรรมอะไร? ถ้าเป็นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วไม่ต้องมี "หนอ" จะสติจะเกิดได้ไหม?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 19 พ.ค. 2550

ขณะที่คิดนึก ขณะนั้นกำลังคิดคำว่า เดินหนอ ...แต่ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธัมมะที่กำลังปรากฎ ดังนั้น การคิดนึกจึงไม่ใช่สติปัฏฐานครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 22 พ.ค. 2550

ถ้ายังเดินหนอ นั่งหนอ ไม่ใช่วิปัสสนาค่ะ เพราะยังมีเราเดิน สภาพธรรมจริงๆ แล้วขณะนั้นไม่มีเรา ที่คิดว่าเดินหนอ เป็นบัญญัติไปแล้ว ไม่ใช่ปรมัตถธรรม ลักษณะธรรมที่ปรากฏเป็น เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง เป็นธรรมที่มีจริงที่ปรากฏขณะนั้น ต้องเป็นปัญญาที่รู้ ไม่ใช่เราเดินหนอ ไม่ใช่เรานั่งหนอ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เก็บมาฝาก
วันที่ 23 พ.ค. 2550

ธรรมต้องสอดคล้องกันทั้ง 3 ปิฎก การศึกษาอภิธรรมก็เพื่อให้เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อเข้าใจถูก ดังนี้ก็จะทำให้เข้าใจในพระสูตร เช่น ในเรื่องการเจริญสติปัฏฐานว่า ไม่มีเราที่จะทำหรือบังคับให้สติเกิด เพราะได้ศึกษาว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เราดังนั้น การศึกษาพระอภิธรรมที่ถูกไม่ใช่ให้ไปจำชื่อว่า มีจิต เจตสิกเท่าไหร่ แต่เพื่อให้รู้ให้เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมเพื่อเป็นประโยชน์ในการเจิญสติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เก็บมาฝาก
วันที่ 23 พ.ค. 2550

พุทธศาสนิก ควรพิจารณาและศึกษาให้รู้ว่า ธรรมและความจริง ที่พระองค์ตรัสรู้นั้นคืออะไร ความจริงที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ต่างกับความจริงที่เราคิดนึกหรือเข้าใจอย่างไรบ้าง ความจริงที่พระองค์ทรงตรัสรู้ และทรงเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัทให้เข้าใจ และปฏิบัติตามจนเห็นความจริงนั้นๆ ก็คือ สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏนั้น เป็นธรรมแต่ละชนิดแต่ละประเภท ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นเพราะปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นได้ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความเสียใจ ความทุกข์ ความสุข ความริษยา ความตระหนี่ ความเมตตาความกรุณา การเห็น การได้ยิน เป็นต้น ล้วนแต่เป็นสภาพธรรมแต่ละชนิด สภาพธรรมแต่ละชนิด แต่ละประเภทนั้นต่างกัน เพราะเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ กัน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เก็บมาฝาก
วันที่ 23 พ.ค. 2550

การศึกษาพระอภิธรรม เพื่อให้เกิดความเห็นถูกเข้าใจถูกว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ต้วตน เป็นเพียงนามธรรมและรูปธรรม ที่เกิดดับสืบต่อกันไป ไม่มีที่สิ้นสุดตราบใด ที่ยังมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นจริงๆ โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจ จะขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลย ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการปฏิบัติ เพราะปัญญาจะทำกิจของปัญญา ไม่มีตัวเราที่จงใจหรือตั้งใจที่จะแสวง หาวิธีที่จะปฏิบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 พ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คำว่า อนัตตา คืออะไรครับ บังคับบัญชาไม่ได้ ทุกอย่างเป็นธรรม โกรธบังคับให้ไม่โกรธได้ไหม ไม่ได้ เพราะเป็นธรรม ที่กล่าวว่ากำหนด หมายถึง สติที่กำหนด สติเป็นธรรมหรือเปล่าครับ เป็นแน่นอน บังคับให้เกิดตามใจชอบได้ไหม ถ้าได้ การบรรลุธรรมก็คงไม่ยาก และที่สำคัญก็น่าคิดว่า ถ้าบังคับให้สติเกิดได้ ก็คงไม่ต้องมีความโกรธเพราะก่อนจะโกรธก็ให้สติเกิด โดยกำหนดไปเลยว่า อย่าโกรธหนอ?

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 26 พ.ค. 2550

ความเข้าใจธรรมะ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นค่ะ ขั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ไม่ใช่ตัวตนที่จะกำหนด ธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ไม่ใช่เรื่องรีบร้อน แต่เป็นเรื่องของการอบรมปัญญาที่ใช้เวลานานแสนนาน เป็นกัลป์ๆ จนกว่าจะบรรลุเป็นพระโสดาบันฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Anutta
วันที่ 30 พ.ค. 2550

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คือทุกสิ่งเป็นธรรมะเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ อยากไม่ได้เป็นโลภะ แต่เข้าใจสภาวธรรมที่เกิดขณะนั้น ว่าไม่ใช่เรา ถูกต้องหรือไม่คะ

ขอแก้นิดนึงนะคะ ความอยากความต้องการก็ห้ามไม่ได้ ถ้ายังไม่บรรลุอรหันต์แต่ให้รู้ว่าเป็นอกุศลเป็นโลภะ ใช่ไหมคะ โดยสมาชิก : Anutta 31-05-2550

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 พ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ความเห็นถูก (สัมมาทิฎฐิ) โลภะหรือกิเลสอื่นๆ ที่เกิด เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิด ดังนั้น การเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ แม้ขั้นการฟังก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดรู้ลักษณะของสภาพธัมมะว่าไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนาคุณอนัตตาที่มีความเห็นถูกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Anutta
วันที่ 31 พ.ค. 2550

ขอแก้นิดนึงนะคะ ความอยากความต้องการก็ห้ามไม่ได้ ถ้ายังไม่บรรลุอรหันต์ แต่ให้รู้ว่าเป็นอกุศลเป็นโลภะ ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
unknown
วันที่ 2 มิ.ย. 2550

ธรรมมะไม่ง่ายอย่างนั้นครับ แค่นั้นใครๆ ก็คิดได้

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ