การเพ่ง

 
นิรมิต
วันที่  13 ม.ค. 2556
หมายเลข  22321
อ่าน  1,373

กราบสวัสดีท่านวิทยากรและมิตรธรรมที่เคารพทุกท่าน

อยากทราบว่า ลักษณะของ การเพ่ง อาการเห่งจ้องมองจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเช่น เพ่งที่ลักษณะแข็ง หรือเพ่งที่เสียง ขณะนั้นเป็นลักษณะอาการของเจตสิกประเภทใดครับ และการเพ่งนานๆ จนลักษณะสภาพธรรมนั้นๆ เกิดอย่างเดียว สภาพธรรมอื่นไม่เกิด อย่างเช่นเพ่งไปที่ลักษณะแข็ง ก็รู้สึกว่าจะมีแต่แข็ง เกิดดับสืบต่อ นานๆ นานกว่าอย่างอื่น แล้วจึงค่อยมีลักษณะอื่นเช่น เสียง สี กลิ่น ปรากฏ แว้บมาแว้บไป พอไปเพ่งที่เสียง เสียงก็เกิดดับสืบต่อนานกว่าอย่างอื่น จึงค่อยมีลักษณะอื่นปรากฏ เช่นเดียวกับเวลาดูหนัง สีกับเสียง (ภาพกับเสียงในทีวี) ก็ปรากฏสืบดับต่อกันนานๆ จนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครสะกิด หรือไมไ่ด้กลิ่นอะไร มีแค่ลักษณะ 2 อย่างนั้นปรากฏสืบต่อนานกว่าอย่างอื่น อันนี้เป็นเพราะอะไรครับ เป็นเพราะมีอาการเพ่งไปที่สภาพนั้นนั้นๆ เป็นเหตุปัจจัยให้สภาพธรรมนั้นๆ เกิดดับสืบต่อได้นาน ได้ชัด กว่าอย่างอื่น ใช่หรือไม่ อย่างไร ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่จรด เพ่ง ในลักษณะของสภาพธรรม โดยทั่วไป คือ วิตกเจตสิก ที่ทำหน้าที่เพ่งในลักษณะของสภาพธรรมนั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า จะจรด เพ่งในธรรมนั้นด้วยจิตประเภทอะไร เช่น จรด เพ่ง ด้วยความต้องการ ด้วยโลภมูลจิต ยกตัวอย่าง เช่น สำหรับผู้ที่เริ่มฟังการเจริญสติปัฏฐาน ที่เป็นผู้มีปกติ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ผู้ที่เริ่มศึกษา ก็พยายามจดจ้องด้วยโลภะก็ได้ ที่พยายามนึกว่า นี่เป็นสภาพธรรมอะไร โดยมีวิตกเจตสิก จดจ้องในสภาพธรรมนั้น และ ก็เป็นกุศลจิตขึ้นคิดนึกก็ได้ ที่คิดว่าเป็นสภาพธรรมอะไร หลังจากที่สภาพธรรมนั้นดับไปนานแล้ว ด้วยวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย และ การที่ปรากฎลักษณะของสภาพธรรมนั้นนานๆ ก็อาศัยเอกัคคตาเจตสิก ที่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้นบ่อยๆ ทำหน้าที่ร่วมกับวิตกเจตสิก ทำให้ปรากฎในลักษณะของสภาพธรรมนั้นนานๆ ได้ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 14 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าไม่มีความเข้าใจตั้งแต่ในขั้นการฟัง ก็ไม่สามารถมีความรู้ในขั้นที่ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ได้เลย ดังนั้นจึงสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูก เห็นถูกจริง ซึ่งถ้ากล่าวถึงคำว่าเพ่ง ก็ต้องเข้าใจให้ถูกว่า หมายถึง ความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมฝ่ายดี ทั้งในขณะที่อบรมเจริญสมถภาวนา โดยมีอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งให้จิตสงบจากอกุศลในขณะนั้น และที่เป็นไปกับการเจริญวิปัสสนามีอารมณ์ที่เป็นปรมัตถธรรมจนกระทั่งปัญญาเจริญขึ้นตามลำดับสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ซึ่งจะขาดปัญญาไม่ได้เลยทีเดียว ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิรมิต
วันที่ 14 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 14 ม.ค. 2556

การเพ่งจ้อง เกิดจากโลภเจตสิก ที่ประกอบกับความเห็นผิดก็ได้ เพราะมีความต้องการจะจดจ้องธรรม ซึ่งมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากมาย หลายประเภท ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
daris
วันที่ 14 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Anan_werapun@hotmail.com
วันที่ 14 มิ.ย. 2567

ขอโมทนาสาธุครับผม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ