ขณะใดที่ปัญญาทำกิจหน้าที่

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  14 ม.ค. 2556
หมายเลข  22331
อ่าน  1,463

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าอาจารย์ทุกท่าน กราบรบกวนสอบถาม ว่า

๑. ลักษณะของ สภาพธรรมที่เรียกว่า "ปัญญา" เกิดขึ้นทำกิจขณะใด?

ขออธิบายความเข้าใจที่มีของผมก่อนนะครับ โดยเข้าใจว่า ปัญญาเป็นเจตสิกเกิดขึ้นร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต ซึ่งจิตแต่ละอย่าง ก็รู้อารมณ์เดียวกับเจตสิกที่เกิดขึ้น เป็นขณะหนึ่ง ขณะหนึ่ง เมื่อเจตสิกหนึ่งเกิด เจตสิกอีกหนึ่งก็ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมในขณะเดียวกันไม่ได้ ก็เลย "ไม่เข้าใจว่า" ในเมื่อ ขณะที่จิตรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่นั้น ขณะนั้นเป็นจิตที่เกิดขึ้นทำกิจรู้ในขณะหนึ่งอยู่ แล้วจะมีปัญญาเจตสิกเกิดขึ้นรู้ (รู้ตรงลักษณะ) ก็แสดงว่ารู้ขณะหนึ่งเดียวกันกับจิตที่เกิดรู้หรือไม่ครับ (แล้วอย่างนี้ผมเข้าใจเหมือนว่ามีเจตสิกอื่นเกิด แล้วมีปัญญาเจตสิก + จิตเกิดทับๆ (รู้) พร้อมกับเจตสิกแรก) ก็ไม่ตรงกับที่ผมเข้าใจว่า จิตเกิดได้ทีละหนึ่ง ในขณะนั้น (หรือว่าจิตเกิดดับเร็วมากๆ ปัญญาผมน้อยมากๆ เลยเหมือนกับเกิดพร้อมกัน)

ขอรบกวนท่านอาจารย์เท่านี้ก่อนครับ พยายามจะอธิบายมากๆ เดี๋ยวผมงงเอง

กราบขอบพระคุณ และ ระลึกถึงพระคุณ ท่านอาจารย์ทุกท่านอย่างมากเสมอครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรับกิจของปัญญา คือ รู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งปัญญาก็มีหลายระดับ ทั้งปัญญาขั้นต้น ที่เป็นปัญญาขั้นการฟัง ปัญญาที่เชื่อกรรมและผลของกรรม และจนถึงปัญญาระดับสูง ที่เป็นปัญญาในการเจริญวิปัสสนา คือ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ครับ

ซึ่งประเด็นที่ถามนั้น โดยทั่วไปของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อจิตเกิดขึ้นก็จะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยนั้นก็มีหลายประเภท และก็ทำกิจหน้าที่แตกต่างกันไป ตามกิจหน้าทีของเจตสิกนั้น ซึ่งปัญญาก็เป็นเจตสิกประเภทหนึ่งที่เป็นอโมหเจตสิก เกิดกับจิตที่ดีงาม ซึ่งเมื่อปัญญาเกิดในขณะนั้น ทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง ส่วนจิตก็ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์นั้น ซึ่งเราก็ต้องแยกระดับของปัญญาด้วยครับว่า เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงในระดับใด เรื่องอะไร ถ้าเป็นขณะที่ปัญญาเกิดเชื่อในกรรมและผลของกรรม ขณะนั้นปัญญากำลังทำหน้าที่คิดถูกในขณะนั้นเอง ว่ากรรมมี ผลของกรรมมี แต่เมื่อพูดถึงปัญญาระดับสติปัฏฐานวิปัสสนา ปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน ทำหน้าที่รู้เห็นตามความเป็นจริงในลักษณะของสภาพธรรม ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ซึ่งโดยนัยนี้ ปัญญาทำหน้าที่เห็นสภาพธรรมที่เพิ่งดับไป ที่สืบต่อกันอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ใช่การรู้อารมณ์เดียวกับที่ปัญญาเกิดในขณะจิตนั้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เห็น ปัญญาสามารถเกิดต่อ หลังจากเห็นเพิ่งดับไป เกิดรู้ลักษณะของเห็นได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นปัจจุบันขณะที่สืบนื่องอย่างรวดเร็วนั่นเอง ครับ

อย่างในขณะนี้ ก็เห็นอยู่ เหมือนเห็นไม่ได้ดับไปเลย สว่างตลอด แต่เพราะการสืบต่อ เกิดดับของสภาพธรรมอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้เหมือนเห็นไม่ได้ดับไปเลย

เพราะฉะนั้น ปัญญาเจตสิกที่เป็นปัญญาที่เกิดในขณะที่สติปัฏฐาน ก็รู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นจิต เจตสิกที่เพิ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วได้ในขณะนั้น นี่คือ ปัญญาที่รู้ลักษณะของนาม ธรรม คือ จิต เจตสิก ส่วนปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานที่ระลึกรู้ลักษณะของรูป ก็สามารถรู้ลักษณะของรูปนั้นที่กำลังเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานของปัญญาในขณะนั้นได้ในขณะที่รูปนั้นยังไม่ได้ดับไป ครับ

ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้ได้ยินเสียง เสียงยังไม่ได้ดับไป เกิดสติปัฏฐานที่ชวนจิต ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นเสียง พร้อมปัญญาที่เกิดรู้ความจริงในขณะนั้นว่า เสียงเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ ใช่เรา ครับ

ดังนั้น สติปัฏฐานที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยที่รู้ลักษณะของ จิต เจตสิก ที่เป็นนามธรรม ปัญญานั้นเกิดคนละขณะจิตกับการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 15 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงครับ

อนุโมทนากุศลทุกประการที่อาจารย์และทุกท่านได้เจริญแล้วด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวลาที่กล่าวถึงการเกิดขึ้นแห่งจิตนั้น ก็ย่อมหมายรวมถึงเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วยตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ จิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เกิดขึ้นเพียงรู้โดยกิจหน้าที่ของตนๆ โดยที่ไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง เพราะการรู้ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องนั้น เป็นกิจหน้าที่ของปัญญา

ปัญญา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความเข้าใจถูกเห็นถูก ปัญญาเกิดขึ้นก็ทำกิจหน้าที่ของปัญญา จะไม่ทำหน้าที่อื่นเลย เกิดเมื่อใดก็ทำกิจหน้าที่เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง ปัญญามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น จนกระทั่งสูงสุด คือ สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ที่ตั้งหรืออารมณ์ของปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริง ก็คือ สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม การที่เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ก็ต้องอาศัยเหตุที่สำคัญ คือ การฟังพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกในเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nong
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ปัญญาทำหน้าที่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นกุศล สิ่งนี้เป็นอกุศล ปัญญารู้ว่าสิ่งนี้ดี และ สิ่งนี้ไม่ดี ปัญญารู้ว่าสิ่งนี้ควรเจริญสิ่งนี้ควรละ ปัญญารู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้ไม่เป็นธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Boonyavee
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
rrebs10576
วันที่ 16 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 16 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มีความเข้าใจมากขึ้นครับ

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูงครับ

อนุโมทนากุศลทุกประการที่อาจารย์และทุกท่านได้เจริญแล้วด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เข้าใจ
วันที่ 16 ม.ค. 2556

ขอบคุณครับ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
jaturong
วันที่ 17 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ