พละ กับ อินทรีย์

 
nano16233
วันที่  15 ม.ค. 2556
หมายเลข  22337
อ่าน  21,254

เรียนถามว่า พละ กับ อินทรีย์ ต่างอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เหมือนกัน อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ พละ คือ ความไม่หวั่นไหว

อินทรีย์ ๕ ศรัทธา คือ สัทธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในสภาพธัมมะของตน คือ น้อมใจเชื่อ วิริยะ คือ วิริยินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการประคองไว้ สติ คือ สตินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการระลึก สมาธิ คือ สมาธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญา คือ ปัญญินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการเห็นตามความเป็นจริง

พละ ๕ สัทธาพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา วิริยะพละ มีความไม่หวั่นไหว ในความไม่เกียจคร้าน สติพละ มีความไม่หวั่นไหว ในความไม่ประมาท สมาธิพละ มีความไม่หวั่นไหวไปเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ มีความไม่หวั่นไหวไป ในความไม่รู้

พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ เหมือนกันโดยองค์ธรรม เพียงแต่อธิบายคนละนัย คือ ความเป็นใหญ่และความไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือนแม่น้ำ มีเกาะอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่า แม่น้ำสองสาย ที่แบ่งโดยเกาะตรงกลาง ก็เป็นสายน้ำเดียวกันและก็ย่อมบรรจบกัน ดังเช่น อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ประการที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ อินทรีย์ ๕ และ พละ ๕ ก็คือ การอบรมเจริญปัญญาเพื่อบรรลุมรรคผลในขณะที่อบรมสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าอบรมอินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ด้วยครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ ครับ

พละ ๕

พละ ๕

พละ๕ [พลสังยุต]

อินทรีย์ ๕

อินทรีย์ ๕ [สุทธิกสูตร ]

ความหมายของ .. อินทรีย์ [วิภังค์]

โพชฌงคสังยุต [หิมวันตสุตร]

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ

ตอบคำถามเกี่ยวกับอินทรีย์ ๕

ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญอินทรีย์ ๕ พละ ๕ แล้วหรือหนอ

การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ

ขอออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
daris
วันที่ 15 ม.ค. 2556

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับ

เข้าใจว่า พละ มีกำลังมากกว่า อินทรีย์ ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกรึเปล่าครับ

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 15 ม.ค. 2556

เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ

อินทรีย์ ๕ และ พละ ๕ ต่างก็เป็นสภาพธรรมเดียวกัน และ ก็ไม่ได้มีกำลังแตกต่าง กัน และเกี่ยวเนื่องกันไป เพราะ อาศัย สภาพธรรมที่ถึงความเป็นอินทรีย์ เช่น ปัญญา ที่มีกำลังมาก จนถึง ความเป็นอินทรีย์ เป็นใหญ่ ก็ทำให้ปัญญานั้นนั่นแหละ ถึงความ เป็นพละด้วย คือ ไม่หวั่นไหวไปในความไม่รู้ ครับ

ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน สาเกตสูตร ว่า เมื่อเป็นอินทรีย์ก็เป็นพละด้วย เมื่อเป็นพละ ก็เป็นอินทรีย์ด้วย เพียงแต่ใช้ชื่อต่างกัน เพื่อแสดงถึลักษณะของสภาพ ธรรมที่แตกต่างกันในการทำกิจ คือ สามารถทำกิจ ในลักษณะที่เป็นใหญ่ในสภาพ ธรรมนั้นที่เป็นอินทรีย์ด้วย และเป็นสภาพธรรมที่ไม่หวั่นไหวในสภาพธรรมที่ตรงกัน ข้ามกับตนด้วย ครับ

เชิญคลิกอ่านที่แสดงความเหมือนกันของ สภาพธรรมที่เป็นอินทรีย์ และพละครับ

อินทรีย์ 5 และ พละ 5 [สาเกตสูตร]

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 16 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
daris
วันที่ 16 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Thanapolb
วันที่ 16 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในขณะที่อบรมสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าอบรม อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ นั้น หมายถึง สติปัฎฐานทุกระดับ เพียงแต่พละก็ต่างระดับกันไป ใช่ไหมครับ

อนุโมทนากับทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 16 ม.ค. 2556

เรียน ความเห็นที่ 6 ครับ

ถูกต้องครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 17 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้

เมื่ออินทรีย์ ๕ เจริญเพิ่มขึ้น เป็นสภาพธรรมที่มีกำลัง ไม่หวั่นไหวในการพิจารณาอารมณ์ใดๆ ที่ปรากฏ ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็น พละ ๕ คือ ...

๑. สัทธาพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความไม่ศรัทธา

๒. วิริยพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความท้อถอย

๓. สติพละ ไม่หวั่นไหวในการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ที่ปรากฏ

๔. สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความฟุ้งซ่านไม่มั่นคง

๕. ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความไม่รู้

การที่สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ จะเป็นสภาพธรรมที่มีกำลังได้ ก็เมื่อปัญญาเป็นพละ เพราะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั่วขึ้น จึงไม่หวั่นไหวที่จะระลึกรู้ได้ว่าขณะที่กำลังเห็นเป็นนามธรรมและรูปธรรมอย่างไร ขณะที่กำลังได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ ก็โดยนัยเดียวกัน

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 25 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ