เป็นผู้สงบ

 
pirmsombat
วันที่  17 ม.ค. 2556
หมายเลข  22350
อ่าน  1,274

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 87

[๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า " สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส

อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ " ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า

สันตะ

เพราะเป็นผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มีโมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือ

เข้าไปสงบแล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะเป็นผู้สงบแล้ว

ถึงความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว

ระงับเฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ

ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง

ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง

อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สงบ.

คำว่า วิธูโม ความว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อัน

พระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุด

แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ . . . ความประมาท กิเลส

ทั้งปวง . . . อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันพระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว

กำจัดแล้ว ทำให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว.

อนึ่ง ความโกรธ ท่านกล่าวว่าเป็นดังควัน

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีมานะเปรียบเหมือนดังเครื่อง

หาบ มีความโกรธเปรียบเหมือนควัน มีการพูดเท็จ

เปรียบเหมือนเถ้า มีลิ้นเปรียบเหมือนทัพพี หฤทัยของ

สัตว์ทั้งหลายเปรียบเหมือนสถานที่บูชายัญของท่าน ตน

ที่ฝึกดีแล้ว เป็นกำเนิดของบุรุษ.

อนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธ

เกิดด้วยผูกใจว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑

คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติ

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่ง

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจัก

ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้น

ได้ประพฤติแล้วซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑

คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑

คนโน้นจะประพฤติซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ

ของเรา ๑ อีกอย่างหนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดในฐานะอันไม่ควร ๑

ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความโกรธตอบ ความเคือง

ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ

ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ

ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท

กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ

ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่พอใจของจิต นี้เรียกว่า

ความโกรธ.

อนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก โกรธน้อย ความโกรธเป็นแต่

เพียงทำจิตให้ขุ่นมัวในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้มีหน้าเง้าหน้างอ ความ

โกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอในบางครั้งก็มี แต่ไม่ถึงให้คางสั่น

ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่นในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงเปล่งผรุสวาจา

ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เปล่งผรุสวาจาในบางครั้งก็มี

แต่ยังไม่ถึงให้เหลียวดูทิศทางต่างๆ ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เหลียวดู

ทิศต่างๆ ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงการจับท่อนไม้และศัสตรา ความโกรธ

เป็นแต่เพียงทำให้จับท่อนไม้และศัสตราในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึง

เงื้อท่อนไม้และศัสตรา ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เงื้อท่อนไม้และศัสตรา

ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงตีฟัน ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ตีฟัน

ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผล ความโกรธเป็นแต่เพียงทำ

ให้ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผลในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้หักให้แหลก ความ

โกรธเป็นแต่เพียงทำให้หักให้แหลกในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อย

ใหญ่เคลื่อนที่ ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่เคลื่อนที่ใน

บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้ชีวิตดับ ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ชีวิตดับใน

บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงความสละบริจาคอวัยวะทั้งหมด เมื่อใดความโกรธ

ให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วให้ฆ่าตน เมื่อนั้นความโกรธถึงความเป็นความโกรธ

แรงยิ่ง ถึงความเป็นความโกรธมากยิ่ง โดยอาการอย่างนี้. ความโกรธนั้น

อันพระอรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบระงับแล้ว

ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น

เรียกว่าผู้กำจัดกิเลสเพียงดังควัน. พระอรหันตขีณาสพชื่อว่าวิธูมะ

เพราะเป็นผู้ละความโกรธ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ

เพราะเป็นผู้ตัดขาดซึ่งเหตุแห่งความโกรธ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิธูมะ.

คำว่า อนีโฆ ความว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะ

เป็นทุกข์ ความโกรธเป็นทุกข์ ความผูกโกรธเป็นทุกข์ ฯ ล ฯ อกุสลา-

ภิสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละได้

แล้ว . . . เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า

ผู้ไม่มีทุกข์.

คำว่า ไม่มีความหวัง ความว่า ตัณหาเรียกว่าความหวัง ราคะ

สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความหวัง ตัณหา

อันเป็นความหวังนั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว เผาเสียได้แล้ว

ด้วยไฟคือ ญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
natural
วันที่ 17 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Boonyavee
วันที่ 17 ม.ค. 2556

ขอกราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 18 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิรมิต
วันที่ 19 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kinder
วันที่ 20 ม.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ