เรื่องภิกษุ ๒ สหาย [๒๐].. ภิกษุ ๒ รูปมีปฏิปทาต่างกัน
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 352
๒. เรื่องภิกษุ ๒ สหาย [๒๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒
สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ" เป็นต้น.
ภิกษุ ๒ รูปมีปฏิปทาต่างกัน
ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูปนั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา
แล้ว เข้าไปยังวิหารอันตั้งอยู่ในป่า. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่ง เก็บ
ฟืนมาต่อเวลายังวันแล้ว จัดเตาไฟแล้ว นั่งผิงไฟสนทนากับพวกภิกษุ
หนุ่มและสามเณรอยู่ตลอดปฐมยาม. รูปหนึ่งไม่ประมาท ทำสมณธรรม
อยู่ ตักเตือนรูปนอกนี้ว่า "ผู้มีอายุ ท่านอย่าทำอย่างนั้น, เพราะ
อบาย๑ ๔ เป็นเช่นเรือนที่เป็นที่นอนแห่งชนผู้ประมาทแล้ว, ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันบุคคลผู้โอ้อวด ไม่อาจให้ทรงยินดีได้."
ท่านไม่ฟังคำตักเตือนของภิกษุนั้น. ภิกษุนอกนี้ คิดว่า "ภิกษุนี้ไม่เชื่อ
ถ้อยคำ๒" จึงไม่ปรารถนา (ตักเตือน) ท่านไม่ประมาทแล้วได้ทำ
สมณธรรม. ฝ่ายพระเถระผู้เกียจคร้าน ผิงไฟในปฐมยามแล้ว ใน
เวลาที่ภิกษุนอกนี้เดินจงกรมแล้วเข้าไปสู่ห้อง จึงเข้าไป พูดว่า "ท่านผู้
เกียจคร้านมาก ท่านเข้าไปสู่ป่า เพื่อต้องการหลับนอน (หรือ) :
อันบุคคลเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระพุทธเจ้า แล้วลุกขึ้นทำสมณธรรม
ตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ไม่ควรหรือ?" ดังนี้แล้ว ก็เข้าไปยังที่อยู่
๑. อบาย ๔ คือ ๑. นิรยะ นรก ๒. ดิรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ๓. ปิตติวิสัย ภูมิแห่ง
เปรต ๔. อสุรกาย พวกอสุรกาย. ๒. น วจนกฺขโม ไม่อดทนต่อถ้อยคำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 353
ของตนแล้วนอนหลับ, ฝ่ายภิกษุนอกนี้ พักผ่อนในมัชฌิมยามแล้ว
กลับลุกขึ้นทำสมณธรรมในปัจฉิมยาม. ท่านไม่ประมาทอย่างนั้น ต่อ
กาลไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ภิกษุ
รูปเกียจคร้านนอกนี้ ให้เวลาล่วงไปด้วยความประมาทอย่างเดียว. ภิกษุ
๒ รูปนั้น ออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดา
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.
พระศาสดาตรัสถามภิกษุทั้งสอง
พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารกับภิกษุ ๒ รูปนั้นแล้ว ตรัสถาม
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ประมาททำสมณธรรมกันแลหรือ?
กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้ว แลหรือ?" ภิกษุผู้ประมาท
กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่ประมาทของภิกษุนั่น จักมี
แต่ที่ไหน? ตั้งแต่เวลาไป เธอนอนหลับให้เวลาล่วงไปแล้ว."
พระศาสดา ตรัสถามว่า "ก็เธอเล่า? ภิกษุ."
ภิกษุรูปเกียจคร้าน ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เก็บฟืนมาต่อเวลายังวัน จัดเตาไฟแล้ว นั่งผิงไฟอยู่ตลอดปฐมยามไม่หลับ
นอน ให้เวลาล่วงไปแล้ว."
ผู้ไม่ปัญญาดีย่อมละทิ้งผู้มีปัญญาทราม
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "เธอประมาทแล้ว ปล่อย
เวลาล่วงไป (เปล่า) ยังมาพูดว่า ' ตัวไม่ประมาท ' และทำผู้ไม่ประมาท
ให้เป็นผู้ประมาท. เธอเป็นเหมือนม้าตัวทุรพล ขาดเชาว์๑แล้วในสำนัก
๑. หมายความว่า ฝีเท้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 354
แห่งบุตรของเรา, ส่วนบุตรของเรานี่ เป็นเหมือนม้าที่มีเชาว์เร็วในสำนัก
ของเธอ" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๖. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุติเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส.
" ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว
ไม่ประมาท, เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่โดย
มาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้า
ตัวมีฝีเท้าเร็ว ละทิ้งตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺโต ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึง
พร้อมด้วยความไม่ประมาท เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ ได้
แก่พระขีณาสพ.
บทว่า ปมตฺเตสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในการ
ปล่อยสติ. บทว่า สุตฺเตสุ คือ (เมื่อสัตว์ทั้งหลาย) ชื่อว่า ประพฤติ
หลับอยู่ทุกอิริยาบถทีเดียว เพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องตื่น คือ สติ.
บทว่า พหุชาคโร ได้แก่ ผู้ดำรงอยู่ในธรรมเป็นเครื่องตื่น คือความ
ไพบูลย์แห่งสติเป็นอันมาก.
บทว่า อพลสฺสํว ความว่า ดุจม้าสินธพอาชาไนยตัวมีเชาวน์เร็ว
วิ่งทิ้งม้าตัวมีกำลังทราม มีเชาวน์ขาดแล้ว โดยความเป็นม้ามีเท้าด้วนไป
ฉะนั้น.
บทว่า สุเมธโส เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้มีปัญญายอดเยี่ยม
ย่อมละบุคคลผู้เห็นปานนั้นไป ด้วยอาคมคือปริยัติบ้าง ด้วยอธิคมคือการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 355
บรรลุมรรคผลบ้าง : อธิบายว่า เมื่อคนมีปัญญาทึบพยายามเรียนพระสูตร
สูตรหนึ่งอยู่นั้นแล, ผู้มีปัญญาดีย่อมเรียนได้วรรคหนึ่ง. ย่อมละไปด้วย
อาคมคือปริยัติ อย่างนี้ก่อน : อนึ่ง เมื่อคนมีปัญญาทึบ กำลังพยายาม
ทำที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันอยู่นั่นแล และเรียนกัมมัฏฐานสาธยายอยู่
นั่นแล, แม้ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้น บุคคลผู้มีปัญญาดี เข้าไปสู่ที่พักกลาง
คืนหรือที่พักกลางวันที่ผู้อื่นทำไว้ พิจารณากัมมัฏฐานอยู่ ยังสรรพกิเลสให้
สิ้นไป ทำโลกุตรธรรม ๙ ประการ ให้อยู่ในเงื้อมมือได้, ผู้มีปัญญาดี
ย่อมละไปได้ด้วยอธิคมคือการบรรลุมรรคผลอย่างนี้. อนึ่ง ผู้มีปัญญาดีละ
คือ ทั้งคนมีปัญญาทึบนั้นไว้ในวัฏฏะ ถอน (ตน) ออกจากวัฏฏะไป
โดยแท้แล.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุ ๒ สหาย จบ.