อรรถกถาสัมมาปริพพาชนิยสูตร .. ๒

 
khampan.a
วันที่  3 ก.พ. 2556
หมายเลข  22439
อ่าน  1,161

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕- หน้าที่ ๓๓๒

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหุตปญฺ คือมีปัญญามาก. บทว่า ติณฺณ

ได้แก่ ผู้ข้ามโอฆะสี่ได้แล้ว. บทว่า ปารคต ได้แก่ ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว.

บทว่า ปรินิพฺพุต ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า

ิตตฺต ได้แก่ มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า นิกฺขมฺม

ฆรา ปนุชุช กาเม ได้แก่ บรรเทาวัตถุกามทั้งหลายออกจากการครองเรือน

แล้ว. บทว่า กต ภิกฺขุ สมฺมา โส โลเก ปริพฺพเชยฺย ความว่า

ภิกษุนั้นพึงเว้นคือพึงไป พึงอยู่โดยชอบในโลกอย่างไร ท่านอธิบายว่าเป็นผู้

ไม่พัวพันด้วยโลก ล่วงโลกไปได้. บทที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้ว

นั้นแล.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภว่า เพราะผู้ที่ยังไม่ถึงความ

สิ้นอาสวะ จะชื่อว่าเว้นรอบโดยชอบไม่มี ฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงกำหนดประ

ชุมแห่งภัพพบุคคล ด้วยสามารถแห่งจริตมีราคจริตเป็นต้น ในภิกษุนั้น จึง

ทรงปรารภคำนั้นๆ ว่า เป็นมงคลแก่ภิกษุใด ดังนี้ เพื่อละโทษที่หมู่เทวดา

ซึ่งมีโทษเสมอกันเหล่านั้น ประพฤติเป็นอาจิณ เมื่อจะทรงประกาศถึงปฏิปทา

ของพระขีณาสพด้วยยอดคือพระอรหัต จึงได้ตรัสพระคาถา ๑๕ พระคาถา.

ในพระคาถา ๑๕ พระคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัย คาถาที่ ๑ ก่อน.

บทว่า มงฺคลา นี้ เป็นชื่อของทิฏฐมงคลเป็นต้นที่ท่านกล่าวไว้ใน

มงคลสูตร. บทว่า สมูหตา ได้แก่ ถอนด้วยดีคือตัดขาดด้วยศัสตราคือปัญญา.

บทว่า อุปฺปาทา ได้แก่ การยึดถือความเกิดอันเป็นไปอย่างนี้ว่า อุกกาบาต

ดาวหางเป็นต้นย่อมมีผลอย่างนี้ๆ . บทว่า สุปินา ได้แก่การยึดถือความฝัน

อันเป็นไปอย่างนี้ว่า เห็นความฝันในตอนเช้าจะมีผลอย่างนี้ เห็นความฝันใน

ตอนเที่ยงเป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ นอนเห็นความฝันข้างซ้ายจะเป็นอย่างนี้ นอน

เห็นความฝันข้างขวาเป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ ฝันเห็นพระจันทร์จะเป็นอย่างนี้

ฝันเห็นพระอาทิตย์เป็นต้นจะเป็นอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า ลกฺขณา ได้แก่

อ้างคัมภีร์บอกลักษณะไม้เท้าและลักษณะสิ่งของเป็นต้น แล้วยึดถือลักษณะอัน

เป็นไปว่า บัดนี้ จะได้รับผลอย่างนี้. ทั้งหมดนั้นพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในพรหมชาลสูตรนั่นแล. บทว่า ส มงฺคลโทสวิปฺปหีโน ได้แก่ มงคลอัน

เป็นโทษที่เหลือเว้นมหามงคล ๓๘ ภิกษุถอนมงคลเป็นต้นเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้

ละมงคลอันเป็นโทษ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละมงคลอันเป็นโทษเพราะ

ละมงคลและโทษมีการเกิดเป็นต้น ย่อมไม่ให้ความบริสุทธิ์ด้วยมงคลเป็นต้น

เพราะบรรลุด้วยอริยมรรคแล้ว. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก

คือ ภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ พึงเว้นโดยชอบในโลก ไม่พัวพันด้วยโลก.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒.

บทว่า ราค วินเยถ มานุเสสุ ทิพฺเพสุ กาเมสุจาปิ ภิกฺขุ

ความว่า ภิกษุนำความกำหนัดในกามคุณทั้งหลายทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็น

ของทิพย์ ไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า อติกฺกมฺม ภว สเมจฺจ

ธมฺม ความว่า ภิกษุนำความกำหนัดออกได้แล้ว ต่อจากนั้นยังการตรัสรู้

ด้วยการกำหนดรู้ให้สำเร็จโดยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตตมรรค ตรัสรู้ธรรม

แล้ว ก้าวล่วงภพทั้งสามด้วยปฏิปทานี้ได้แล้ว. บทว่า สมฺมา โส ได้แก่

ภิกษุแม้นั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓.

บทว่า อนุโรธวิโรธวิปฺปหีโน คือ มีราคะและโทสะอันละเสียได้

ด้วยวัตถุกามทุกอย่าง. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. อนึ่ง ในทุกๆ คาถา

พึงประกอบบทว่า โสปิ ภิกฺขุ สมฺมา โลเก ปริพฺพเชยฺย ความว่า

ภิกษุแม้นั้นพึงเว้น โดยชอบในโลกดังนี้. เพราะต่อจากนี้ไปเราจะไม่กล่าวถึงบท

ประกอบ จักกล่าวนัยที่ยังไม่ได้กล่าวไว้เท่านั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔.

พึงทราบสิ่งอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักสองอย่าง ด้วยสามารถสัตว์

และสังขาร. ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทราคปฏิฆปฺปหาเนน หิตฺวา

อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือธรรมไรๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า อนิสฺสิโต

กุหิญฺจิ ได้แก่ อันตัณหานิสัย ๑๐๘ และทิฏฐินิสัย ๖๒ ไม่อาศัยแล้วในภพ

ไหนๆ หรือในภพมีรูปภพเป็นต้น. บทว่า สโยชนิเยหิ วิปฺปมุตฺโต

ความว่า ธรรมเป็นไปในภูมิสาม แม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เพราะ

เป็นวิสัยแห่งสังโยชน์สิบอย่าง ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว เพราะกำหนดรู้ และเพราะ

ละได้จากสังโยชน์เหล่านั้นด้วยมรรคภาวนาโดยประการทั้งหมด. อนึ่ง ในที่นี้

ท่านกล่าวถึงการละราคะและโทสะด้วยบาทต้น. ความไม่มีการยึดถือเป็นที่อาศัย

ด้วยบาทที่สอง. การหลุดพ้นจากอกุศลที่เหลือและวัตถุอันเป็นอกุศลด้วยบาทที่

สาม หรือการละราคะและโทสะด้วยบาทต้น. ด้วยบาทที่สองก็เช่นเดียวกัน

ด้วยบาทที่สามพึงทราบว่า การหลุดพ้นจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เพราะ

ละสังโยชน์เหล่านั้นได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕.

บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในขันธูปธิทั้งหลาย. อุปธิเหล่านั้นท่าน

กล่าวว่า อาทาน เพราะอรรถว่า พึงยึดถือ. บทว่า อนญฺเนยฺโย ได้แก่

เพราะเห็นความไม่เทียงเป็นต้นเป็นอย่างดีแล้ว ใครๆ จะพึงแนะนำไม่ได้ว่า

นี้ประเสริฐ. บทที่เหลือความของบทง่ายทั้งนั้น. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า

ภิกษุนำฉันทราคะในการยึดมั่นออกไปแล้วทั้งหมด ด้วยมรรคที่สี่ เป็นผู้มี

ฉันทราคะนำออกไปแล้ว ย่อมไม่เห็นความเป็นสาระในอุปธิทั้งหลายเหล่านั้น

คือย่อมเห็นอุปธิทั้งปวงโดยความไม่เป็นสาระ. แต่นั้นไม่อาศัยอยู่ในนิสัยแม้

ทั้งสองอย่าง หรือโดยความอันใครๆ จะพึงแนะนำไม่ได้ว่านี้ประเสริฐ ภิกษุ

ผู้เป็นขีณาสพพึงเว้นโดยชอบในโลก.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖.

บทว่า อวิรุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ผิดพลาดกับด้วยสุจริตทั้งหลาย

เพราะละทุจริตสามอย่างเหล่านั้นได้แล้ว. บทว่า วิทิตฺตา ธมฺม ได้แก่

รู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยมรรค. บทว่า นิพฺพานปทาภิปฏฺยาโน ได้แก่

ปรารถนาบทคืออนุปาทิเสสนิพพาน. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗.

บทว่า อกฺกุฏฺโ ได้แก่ ข้องอยู่ในอักโกสวัตถุสิบอย่าง. บทว่า

น สนฺธิเยถ ได้แก่ ไม่ผูกโกรธต่อไม่พึงโกรธ. บทว่า ลทฺธา ปรโภชน

น มชฺเช ได้แก่ ได้ของที่เขาให้ด้วยศรัทธา อันคนอื่นให้แล้วไม่พึงเมาว่า

เราเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีลาภ ดังนี้. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘.

บทว่า โลภ ได้แก่ ความโลภจัด. บทว่า ภว ได้แก่ กามภพเป็นต้น.

ท่านกล่าวภวตัณหาและโภคตัณหาด้วยบททั้งสองอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าว

ตัณหาทั้งหมดด้วยบทต้น กล่าวกามภพด้วยบทหลัง. บทว่า วิรโต เฉทน-

พนฺธนโต ได้แก่ เว้นจากการตัดและการจองจำสัตว์อื่น เพราะละกรรมกิเลส

เหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิงแล้ว. บทที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังได้กล่าวได้แล้วนั่นแล.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙.

บทว่า สารุปฺปมตฺตโน วิทิตฺวา ได้แก่ รู้การปฏิบัติอันสมควร

แก่ความเป็นภิกษุของตน ด้วยการละการแสวงหาอันไม่สมควรเป็นต้น แล้ว

ดำรงมั่นอยู่ในอาชีวะบริสุทธิ์มีการแสวงหาโดยชอบเป็นต้น และการปฏิบัติชอบ

อย่างอื่น. ไม่ใช่ด้วยเพียงรู้อะไรๆ เท่านั้น. บทว่า ยถาตถ ได้แก่ รู้ตาม

ความเป็นจริง. บทว่า ธมฺม ได้แก่ รู้ธรรมประเภทมีขันธ์ อายตนะเป็นต้น

ด้วยญาณตามความเป็นจริง หรือรู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยมรรค. บทที่เหลือ

มีความง่ายทั้งนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐.

บทว่า โส นิราโส อนาสสาโน ความว่า ภิกษุใดไม่มีอนุสัย

ถอนอกุศลมูลได้แล้วด้วยอริยมรรค ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีตัณหา

แต่นั้นไม่หวังธรรมมีรูปธรรมเป็นต้นไรๆ เพราะไม่มีความหวัง. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นิราโส อนาสสาโน ไม่มีความหวัง ไม่มี

ตัณหา ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑.

บทว่า อาสวขีโณ ได้แก่มีอาสวะสี่สิ้นแล้ว. บทว่า ปหีนมาโน

ได้แก่ ละมานะเก้าอย่างได้แล้ว. บทว่า ราคปถ ได้แก่ ธรรมชาติเป็นไป

ในภูมิสามอันเป็นวิสัยแห่งราคะ. บทว่า อุปาติวตฺโต ได้แก่ ก้าวล่วงด้วย

การกำหนดรู้และการละ. บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ละการเสพผิดในทวารทั้งปวง

แล้วถึงภูมิแห่งการฝึกฝนตน ด้วยการฝึกอย่างประเสริฐ. บทว่า ปรินิพฺพุโต

เป็นผู้สงบเพราะสงบด้วยไฟคือกิเลส. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๒.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งหมด เพราะเว้นจากปัจจัยอย่างอื่นในพุทธคุณเป็นต้น

ไม่ประกอบด้วยการปฏิบัติด้วยศรัทธาต่อผู้อื่น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า น ขฺวาห

ภนฺเต เอตฺถ ภควโต สทฺธาย คจฺฉามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้ามิได้

ถึงด้วยศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในเพราะเหตุนี้. บทว่า สุตวา คือประกอบ

แล้ว ด้วยการฟังอันมีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะกิจคือการฟังอย่างสามัญสุดสิ้นลง

แล้ว. บทว่า นิยามทสฺสี ความว่า ในเมื่อสัตวโลกลุ่มหลงอยู่ในสงสาร

กันดาร เป็นผู้เห็นทางอันเป็นความชื่นชอบของผู้ไปสู่อมตนคร. ท่านอธิบาย

ว่า ได้เห็นทางแล้ว. บทว่า วคฺคคเตสุ น วคฺคสารี ความว่า สัตว์

ทั้งหลายผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ๖๒. ความสวนทางกันและกัน ชื่อว่า วคฺคคตา

ความไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิในสัตว์ทั้งหลายผู้ไปแล้วด้วยทิฏฐิ อัน ได้แก่

วคฺค อย่างนี้ เพราะไม่แล่นไปด้วยอำนาจทิฏฐิว่า นี้สูญ นี้จักเป็นอยู่อย่างนั้น

ดังนี้. บทว่า ปฏิฆ ได้แก่ ความกระทบกระทั่ง . ท่านอธิบายว่า ความ

กระทบกระทั่งทางจิต. บทว่า ปฏิฆ นี้เป็นวิเสสนะของโทสะ. บทว่า วิเนยฺย

ได้แก่ นำออกไปแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวได้แล้วนั้นแล.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๓.

บทว่า สสุทธฺชิโน ได้แก่ เป็นผู้ชนะกิเลสด้วยอรหัตตมรรคอัน

หมดจดแล้ว. บทว่า วิวฏจฺฉโท คือเป็นผู้มีกิเลสดังหลังคาคือราคะโทสะและ

โมหะเปิดแล้ว. บทว่า ธมฺเมสุ วสี ได้แก่ เป็นผู้ถึงความชำนาญในธรรม

คืออริยสัจสี่. ธรรมเหล่านั้นอันใครๆ ไม่สามารถทำผู้ที่รู้อย่างนั้นให้เป็นผู้

ไม่รู้ได้. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกพระขีณาสพว่าเป็นผู้ชำนาญในธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ปารคู ได้แก่ ถึงนิพพานซึ่งท่านเรียกว่าปาระ (ฝั่ง) . อธิบายว่า

บรรลุด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า อเนโช คือเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะ

ปราศจากตัณหาแล้ว. บทว่า สงฺขารนิโรธาณกุสโล ต่อนิพพานท่าน

เรียกว่า ดับสังขาร ความรู้ในนิพพานนั้นคืออริยมรรคปัญญา เป็นผู้ฉลาดใน

อริยมรรคปัญญานั้น. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดเพราะเจริญแล้วสี่ครั้ง.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๔.

บทว่า อตีเตสุ ได้แก่ ในเบญจขันธ์ที่ถึงความเป็นไปแล้วล่วงไป.

บทว่า อนาคเตสุ ได้แก่ ในเบญจขันธ์ที่ยังไม่ถึงความเป็นไปนั่นเอง. บทว่า

กปฺปาตีโต คือล่วงกำหนดว่าเราว่าของเรา หรือล่วงความกำหนดด้วยตัณหา

และทิฏฐิ แม้ทั้งหมด. บทว่า อติจฺจสุทธิปญฺโ คือมีปัญญาบริสุทธิ์ก้าว

ล่วงแล้ว. ก้าวล่วงอะไร ก้าวล่วงกาลทั้ง ๓.

จริงอยู่ พระอรหันต์ก้าวล่วงกาลที่เป็นอดีตคืออวิชชาและสังขาร กาล

ที่เป็นอนาคตคือชาติชรามรณะ และกาลที่เป็นปัจจุบันอันเป็นที่สุดแห่งภพมี

วิญญาณเป็นต้นแม้ทั้งหมด ล่วงพ้นความสงสัย เป็นผู้มีปัญญาถึงความบริสุทธิ์

อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อติจฺจสุทฺธิปญฺโ ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์

ล่วงพ้นกาลทั้ง ๓. บทว่า สพฺพายตเนหิ คือ จากอายตนะ ๑๒. บทว่า วิปฺป-

มุตฺโต ความว่า จริงอยู่พระอรหันต์เป็นผู้ล่วงกำหนดอย่างนี้ ไม่เข้าถึงอายตนะ

ไรๆ ต่อไป เพราะล่วงกำหนดแล้วแล. เพราะมีปัญญาบริสุทธิ์ก้าวล่วงแล้ว.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพายตเนหิ วิปฺปมุตฺโต หลุดพ้นแล้วจาก

อายตนะทั้งปวง.

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

พึงทราบวินิจฉัยคาถาที่ ๑๕.

บทว่า อญฺาย ปท ได้แก่ รู้บทหนึ่งๆ ในบทสี่แห่งสัจจะด้วย

ปัญญากำหนดสัจจะอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า สเมจฺจ ธมฺม คือต่อจากนั้น

ตรัสรู้ธรรมคืออริยสัจสี่ด้วยอริยมรรคสี่. บทว่า วิวฏ ทิสฺวาน ปหานมา-

สวาน ความว่า ทีนั้นเห็นความสิ้นอาสวะเป็นวิวฏะ (นิพพาน) คือเปิดเผย

ให้ปรากฏด้วยปัจจเวกขณญาณ. บทว่า สพฺพูปธีน ปริกฺขยา ความว่า ภิกษุ

นั้นไม่ต้องอยู่ในภพไหนๆ เพราะความหมดสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งหลายอันมีประเภท

แห่งขันธ์ กามคุณ กิเลสและอภิสังขารทั้งปวง พึงเว้นคือพึงอยู่โดยชอบในโลก

ไม่ติดแน่นพึงไปสู่โลก. จบเทศนา ด้วยประการฉะนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2556

แต่นั้นพระพุทธนิมิตนั้น ชื่นชมเทศนากล่าวคาถานี้ว่า อทฺธา หิ

ภควา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นแน่ทีเดียว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย โส เอววิหารี ความว่า พระพุทธนิมิต

เมื่อจะชี้แจงกะภิกษุให้เห็นชัดยิ่งขึ้น จึงกล่าวด้วยคาถานั้นๆ ว่าภิกษุใด ถอน

มงคลเป็นต้นมีปกติอยู่ด้วยการละโทษของมงคลทั้งปวง ภิกษุนั้นนำความ

กำหนัดในกามทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์ออกเสีย ก้าวล่วง

กามมีปกติอยู่ด้วยการตรัสรู้ธรรม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น. แต่โยชนา

แก้ไว้ว่า พระพุทธนิมิตกล่าวคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่

พระองค์ตรัสคำเป็นอาทิว่า ถอนมงคลทั้งหลายเสียในที่สุดแห่งคาถานั้นได้ตรัส

ว่า ภิกษุนั้นพึงเว้นโดยชอบในโลก นี้เป็นความจริงแน่แท้ทีเดียว. เพราะ

เหตุไร. เพราะภิกษุใดมีปกติอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าฝึกฝนตนด้วยการฝึก

อย่างสูง เป็นผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ ๑๐ ทั้งหมด และโยคะ ๔ ฉะนั้น ภิกษุนั้น

พึงเว้นโดยชอบในโลก ข้าพระองค์ไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้เลย ดังนี้. ครั้น

พระพุทธนิมิตกล่าวคาถาชื่นชมเทศนาแล้ว เทศนาก็จบลงด้วยอดแห่งพระ-

อรหัต ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อจบพระสูตร เทวดาแสนโกฏิได้บรรลุผลอันเลิศ. ส่วนผู้ที่บรรลุ

พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผลและอนาคามิผลนับไม่ถ้วน.

จบอรรถกถาสัมมาปริพพาชนิยสูตรที่ ๑๓

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ