ประวัติพระพุทธศาสนาของพม่า ตอน 2 [พุกาม ๒]

 
sutta
วันที่  5 ก.พ. 2556
หมายเลข  22446
อ่าน  8,455

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในสมัยพระเจ้าอโนรธานี้เอง ที่พุกามรุ่งเรืองที่สุด เพราะ พระเจ้าอโนรธา สามารถที่จะรวบรวมดินแดนต่างๆ ในพม่าได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประการสำคัญที่สุด พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในพม่า ด้วยเพราะเหตุว่า สามารถทำให้ประชาชนที่เคยนับถือสิ่งที่ผิด มี นัต ที่เป็น ผี สาง เทวดา ได้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่ตรงตามพระธรรมที่พระุพทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว

เหตุการณ์ที่สำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนา เถรวาท รุ่งเรืองในพุกาม ก็เพราะอาศัยการคบบัณฑิต คือ พระภิกษุผู้มีปัญญา ชื่อ พระชินอรหันต์ ที่เดินทางมาจากเมืองสะเทิมของชาวมอญ และได้แสดงธรรมให้พระเจ้าอโนรธาเลื่อมใส เมื่อผู้มีอำนาจเลื่อมใสในหนทางที่ถูก ก็มีกำลังที่จะสามารถเผยแพร่พระธรรมในหนทางที่ถูกดังเช่น พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 606

ราโชวาทชาดก

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้นำ

[๖๓๖] ถ้าเมื่อโคทั้งหลายว่ายข้ามแม่น้ำไป โคหัวหน้าฝูงว่ายข้ามตรง เมื่อโคผู้นำฝูงว่ายข้ามตรงอย่างนั้น โคทั้งหมดก็ย่อมว่ายข้ามตรงไปตามกัน

[๖๓๗] ในหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติเป็นธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมประพฤติเป็นธรรมไปตาม โดยแท้ ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐก็ย่อมอยู่เป็นสุขทั่วกัน.


พระเจ้าอโนรธาได้อันเชิญพระไตรปิฎก และ ได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาจากการยกทัพไปตีเมืองสะเทิม และได้จับพระเจ้ามนุหา ผู้เป็นกษัตริย์ของชาวมอญ มาด้วย แต่พระเจ้าอโนรธาไม่ได้จับขังคุก เพราะเห็นว่าเป็นกษัตริย์เหมือนกัน เพียงแต่ให้มาอยู่ในเมืองพุกาม คราหนึ่ง พระเจ้าอโนรธาได้ตรัสกับพระเจ้ามนุหากษัตริย์ชาวมอญว่า ในฐานะที่ท่านก็เป็นกษัตริย์เหมือนกับเรา เราจะอนุญาตให้ท่านสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นี้ พระเจ้ามนุหา ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ก็ได้ขอโอกาส คือ ได้สร้างวัดซึ่งวัดที่พระเจ้ามนุหา มีความพิเศษ คือ องค์พระพุทธรูป มีขนาดใหญ่มาก แต่ วิหารที่สร้างนั้น คับแคบ เกือบติดกับพระพุทธรูป อันเป็นการแสดงที่สื่อถึงความอึดอัดของพระองค์ที่ต้องตกเป็นเชลย และ ต้องมาอยู่ในต่างเมือง ครับ ซึ่งจะเป็นวัดที่เราจะไปที่เมืองพุกาม วัดมนุหา

ความคับแคบไม่ได้อยู่ที่สถานที่ หากแต่อยู่ที่จิตใจของสัตว์โลก ที่กิเลสเกิดขึ้นในจิตใจขณะใด ขณะนั้นคับแคบ เพราะ ถูกบีบไว้ ขังไว้ในกรง คือ อวิชชา ความไม่รู้ ความอิสระ จึงไม่ใช่จากการถูกปลดปล่อยในสถานที่ แต่ความอิสระคือ ปัญญาที่เกิดขึ้น ที่สามารถละกิเลสที่ขังสัตว์โลกไว้ ไม่ให้ออกไปจากคุก คือ สังสารวัฏฏ์ ดังนั้น ที่คิดว่าคับแคบอึดอัดอยู่ ใจที่ไร้ซึ่งกุศลธรรม ปัญญา ขณะที่อกุศลเกิด คับแคบที่สุด

พระเจ้าอโนรธา ได้เสด็จไปที่เมืองตาหลี้ ที่ปัจจุบัน คือ เมืองจีน ได้อันเชิญพระเขี้ยวแก้วจำลองมาประดิษฐานที่เมืองพุกาม คือ พระมหาเจดีย์ชเวสิกอง ทรงเสด็จไปที่เมืองแปร และ ได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานเพิ่มที่พระมหาเจดีย์ชเวสิกอง

พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากในสมัยพระอโนรธา พระเจ้าอโนรธาได้ให้พระภิกษุที่เคยมีในพุกาม แต่เป็นผู้นอกรีต จับสึก และ บวชใหม่ จากพระภิกษุเถรวาท ที่มาจากเมืองสะเทิมของชาวมอญ ทีเ่ป็น นิกายเถรวาท พระองค์ยังมีอุปการะต่อพระุพุทธศาสนาในศรีลังกา ในสมัยนั้นพวกโจฬะ ปกครองศรีลังกา กษัตริย์ชาวศรีลังกา คือ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 จึงขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม เพื่อขับไล่พวกโจฬะออกไป พระเจ้าอโนรธาจึงได้ส่งกองทัพ และ สามารถขับไล่ พวกโจฬะ ที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาออกไปได้

พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 เห็นความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ได้ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอโนรธา พระองค์ทรงส่งพระภิกษุ เพื่อให้อุปสมบทและมอบพระไตรปิฎกให้กับศรีลังกา จนพระุพุทธศาสนาในศรีลังกากลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ด้วยการช่วยเหลือของกษัตริย์พุกาม

ไม่ใช่เพียงเท่านั้น พระเจ้าอโนรธาได้ขออันเชิญพระไตรปิฎกที่ประเทศศรีลังกามีอยู่ เพื่อตรวจสอบ ชำระ ตรวจทานกับพระไตรปิฎกที่พุกาม เมื่ออันเชิญมา พระไตรปิฎกทั้งสองประเทศต่างตรงกัน อันเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาทั้งในศรีลังกา และ พุกาม ครับ

แต่มัจจุราช ความตาย ก็ไม่เคยเลือกเลยว่า จะเป็นคนยากดี มีจน มีอำนาจสักเพียงใด พระองค์ก็ทรงสวรรคต เมื่อครั้งออกไปล่าสัตว์ หลงเหลือไว้แต่สภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมที่พระองค์ได้ทรงสร้างไว้ อันเป็นเครื่องสักการะบูชาให้เกิดกุศลจิตต่อพุทธศาสนิกชนรุ่นหลัง ได้หวนระลึกถึงคุณพระรัตน ตรัย และ คุณความดีของกษัตริย์พุกาม และประชาชนผู้มีศรัทธาในสมัยนั้น ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ควรแก่การเกิดอนุโมทนาบุญ และน้อมประพฤติปฏฺบัติตามพระธรรม ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่

สมัยต่อมา ในกษัตริย์พระนามว่า จันสิตา พระองค์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรืองมาก มีการสร้างพระเจดีย์ต่างๆ มากมาย และพระมหาเจดีย์ชเวสิกอง ก็เสร็จในรัชสมัยของพระองค์

พระเจ้าจันสิตามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ที่บูรณะ และ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ หากกล่าวถึงพุทธคยา ที่มีการฟื้นฟู บูรณะ เราทั้งหลายก็คงนึกถึงท่านธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ผู้บูรณะและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย รวมทั้งเซอร์คันนิ่งแฮม ที่บูรณะ แต่ในสมัยเมือเกือบหนึ่งพันปีมาแล้ว พระเจ้าจันสิตาได้ส่งทูต และ คณะได้ขอบูรณะ ซ่อมแซมพุทธคยา รวมทั้ง ถวายเครื่องสักการะบูชามากมาย ครับ

ในสมัยพระเจ้าจันสิตา พระองค์ได้สร้างพระวิหารเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด และสวยงามที่สุดของประวัติ ศาสตร์พุกาม คือ วัดอนันดา อันแสดงถึงความศรัทธา และ ความวิจิตรของจิตที่กลั่นออกมาเป็นรูปธรรม ให้เห็นเป็นสิ่งที่ปรากฎทางตาอันสวยงาม ครับ

ภายในพระวิหารมีพระพุทธรุปยืน 4 องค์ ขนาดสูงประมาณ 9 เมตร ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในซุ้มคูหาด้านละ 1 องค์ ทั้ง 4 ด้าน สิ่งที่น่าทึ่งใน วิหารอานันดา คือ ช่างได้ทำช่องส่งแสงสว่างเข้าไปในวิหาร เฉพาะให้ตรงองค์พระประธาน พระพุทธรูปประจำทิศเหมือนมีชีวิตจริง พระโอษฐ์ยิ้มได้เมื่อเรายืนมองท่านอยู่ไกลๆ แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ พระโอษฐ์จะบึ้งดูขรึมน่ากลัว

จุดประสงค์ที่ถูกต้อง ในการมีพระพุทธรูปว่า การมีพระพุทธรูป ก็เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ของตนเอง คือ กุศลจิตและเป็นเครื่องเตือนให้ทำความดี แต่ไม่ใช่มีไว้เพื่อขอ เพื่อเพิ่มอกุศลจิต คือ การได้สิ่งที่ปรารถนา เพราะการได้สิ่งที่ปรารถนา ไม่ได้อยู่ที่การขอ แต่อยู่ที่เหตุในอดีต คือ ทำกุศลกรรม หรือ กุศลกรรมนั้นจะให้ผลหรือไม่ เป็นสำคัญ เพราะแม้จะขอ หรือไม่ขอ หากกรรมดีให้ผล ก็ย่อมสำเร็จตามปรารถนา และจะขอหรือไม่ขอ หากกรรมชั่วให้ผล ก็ย่อมไม่สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ เพราฉะนั้นต้องมั่นคงในเรื่องของกรรม และ จุดประสงค์ในการไหว้ และจุดประสงค์ในการมีพระพุทธรูปเพื่อเกิดกุศลจิต น้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเกิดจากการเข้าใจพระธรรมเป็นสำคัญ

อาณาจักรพุกามหลังจากนั้น ก็ค่อยๆ เสื่อมไปจนล่มสลาย เมื่ออาณาจักรมองโกล ได้ยกกองทัพรุกรานพุกาม เป็นอันหมดสิ้นอาณาจักรพุกาม ตั้งแต่บัดนั้น ดังเช่นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และ ต้องเสื่อมไป ดับไป เป็นธรรมดา สิ่งที่สะสมติดตัวไปคือ ความดีและ ความไม่ดี ที่สะสมต่อไป ทุกภพทุกชาติ

พระวิหารชเวนันดอร์ เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และ เป็นจุดชมพระ อาทิตย์ตก ที่สวยงามทีุ่สุด และ ชมทุ่งเจดีย์พุกามอันสวยงาม

พระวิหารชเวนันดอร์

เชิญอ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระพุทธศาสนาของพม่า ตอนที่ 1 [พุกาม ๑]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
j.jim
วันที่ 5 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. ผเดิม ด้วยครับ เป็นประโยชน์มาก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Boonyavee
วันที่ 5 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ธนัตถ์กานต์
วันที่ 5 ก.พ. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
rrebs10576
วันที่ 5 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย

อนุโมทนา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 6 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 6 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"อ่านแล้วชวนให้ระลึกถึงสภาพธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป

ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่ เจริญรุ่งเรืองสักแค่ไหนก็ต้องมีวันเสื่อม"

"ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วแต่เหตุ แล้วแต่ปัจจัย"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของอ.ผเดิมและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 8 ก.พ. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 ก.พ. 2556

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 26 ก.พ. 2556
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ